ในการประชุมแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน กิจกรรมเสริมสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา ""ยะลาเสมอภาพ Yala Equity “ นอกเหนือจากการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแล้ว ยังได้มีการเปิดกองทุนช่วยเหลือเด็กยากจนและด้อยโอกาสทางการศึกษาจังหวัดยะลา ด้วย
นายมุขตาร์ มะทา นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด กล่าวว่า การจัดตั้งกองทุนดังกล่าวนั้น ต่อเนื่องมาจากการจัดตั้งสภาการศึกษาที่ทำงานช่วยเหลือเด็กได้อย่างเป็นรูปธรรม หลังจากในช่วง 2-3 ปีนี้ ได้รับงบประมาณช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาส ตาก กสศ.แต่หากโครงการดังกล่าวสิ้นสุดลง ซึ่งทางสภาการศึกษาจึงมีแนวคิดในการจัดตั้งกองทุนดังกล่าวขึ้น เพื่อช่วยเหลือเด็กเหล่านี้ต่อไป
รวมถึงทาง อบจ.ได้เตรียมแนวทางช่วยเหลือโดยตัดสรรงบประมาณ 30 ทุน เพื่อช่วยเหลือเด็กที่ต้องการเรียน รวมถึงการเปิดหลักสูตรการศึกษาด้านอาชีพเพิ่มเติม อาจเป็นหลักสูตรระยะสั้น 3 เดือน 6 เดือน โดยเข้าเรียนในสังกัดของ อบจ. ขณะนี้อยู่ระหว่างการทำหลักสูตรอาจเน้นเรื่องของงานด้านออนไลน์ ดิจิทัล เนื่องจากสาขาอาชีพ เช่น ช่างไฟฟ้า ช่างยนต์ ช่างเชื่อมนั้นสถาบันอาชีวะมีสอนอยู่แล้ว ขณะนี้ได้ของบประมาณในการสร้างอาคารที่พักเพิ่มเติมแล้ว
นายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีนครยะลา กล่าวว่า ลำพังการใช้งบประมาณช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาส แม้ว่าจะมีงบประมาณจากจังหวัด อบจ.หรือกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) อาจไม่เพียงพอ จึงทำให้มีความคิดในการช่วยเหลือโดยชาวยะลาด้วยการจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือ และต้องการให้เอกชนเข้ามาช่วยเหลือสังคมซึ่งจะช่วยในการช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสมีโอกาสที่มากขึ้น การช่วยเหลืออาจไม่ใช่เรื่องเงินอย่างเดียว อาจเป็นเรื่องของอุปกรณ์ในการเรียนออนไลน์ที่ขาดแคลนในหลายครอบครัว ซึ่งสิ่งเหล่านี้กำลังทำมาเพื่อแก้ไขปัญหา
นอกจากนี้ ตัวกองทุนดังกล่าวจะไม่จบลงเมื่อสถานการณ์โควิด-19 จบ แต่ต่อไปจะแก้ไขปัญหาเรื่องสมรรถนะด้วย โดยเฉพาะในเรื่องที่จำเป็น เพื่อช่วยให้เยาวชนสามารถไปแข่งขันในระดับอื่น ๆ รวมถึงการช่วยผู้ประกอบการระดมทุนในการขายและนำส่วนต่างจากรายได้นำเข้าสู่กองทุนโดยช่วยเศรษฐกิจและช่วยเด็กต่อไป
ขณะที่ ผศ.เกสรี ลัดเลีย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา กล่าวว่า การมีกองทุนดังกล่าว เป็นเครื่องมือที่จะช่วยคลี่คลายปัญหาในเรื่องของความเสมอภาคทางการศึกษาและทำคู่กับด้านคุณภาพทางการศึกษาไปด้วย ซึ่งชาวยะลาจะต้องช่วยกัน
ขณะที่ น.ส.รุ่งกานต์ สิริรัตน์เรืองสุข รองปลัดองค์การบริการส่วนจังหวัดยะลา กล่าวว่า การแก้ไขในเรื่องคุณภาพการศึกษามีหลายปัจจัย คือ ความไม่พร้อมของเด็กทั้งความยากจน สุขภาพ และอุปกรณ์การเรียน โดยกลไกลเชิงนโยบายไม่สามารถบูรณาการเพียงในระบบจังหวัดเท่านั้น
ในวันนี้จะทำอย่างไรให้มีการบูรณาการตั้งแต่ระดับ กระทรวง ทบวง กรม และองค์กรปกครองส่งนท้องถิ่นมีพื้นที่หลากหลาย และหากมีพลังและช่วยเหลือเด็กในพื้นที่จะเป็นพลังเหมือนจิ๊กซอว์ประสานในการข่วยเหลือ
นอกจากนี้ กลไกในโรงเรียน ยกระดับจิตวิญญานความเป็นครูให้ได้ วันนี้มีห้องฉุกเฉินทางการศึกษา เช่น ที่ จ.ยะลา สามารถรับเด็กที่เข้าเรียนกลางคันได้ ต่างจากพื้นที่อื่นที่ไม่รับ เนื่องจากจัดต่อระบบโดยมีโรงเรียนราชประชาและโรงเรียนเทศบาล 2 เปลี่ยนครูเป็นหมอช่วยเหลือเด็ก และโรงเรียนจัดเรียนในรูปแบบการศึกษาทางเลือก เช่น ติดดินกิน โดย อบจ.จัดตั้งสภาการศึกษาเชิงพื้นที่ และกองทุนฯ ที่จะช่วยระดมทุกที่ภาครัฐไม่สามารถสนับสนุนได้ ทั้งในแง่ของระเบียบต่าง ๆโดยใช้เด็กเป็นตัวตั้ง
ทั้งนี้ ในการเปิดระดมทุนวันแรกหน่วยงานภาครัฐและเอกชนร่วมบริจาคเข้ากองทุน รวมเป็นเงินกว่า 140,000 บาท ขณะที่ประชาชนสามารถร่วมบริจาคในตามบัญชี ธนาคารกรุงไทย ชื่อบัญชีกองทุนเพื่อเด็กเยาวชนฯ เลขบัญชี 909-0-93947-4
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง มองปัญหาการศึกษา จ.ยะลา มุ่งสร้างหลักสูตรจังหวัดแก้ให้ตรงจุด