ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ด่วน! พบ ASF ในพื้นที่นครปฐม-ประกาศเขตโรคระบาดสัตว์

เศรษฐกิจ
11 ม.ค. 65
14:41
1,769
Logo Thai PBS
ด่วน! พบ ASF ในพื้นที่นครปฐม-ประกาศเขตโรคระบาดสัตว์
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ด่วน! กรมปศุสัตว์ ยืนยันพบโรค ASF ในพื้นที่ จ.นครปฐม จากการสุ่มตรวจฟาร์มหมู โรงฆ่าสัตว์ จ.นครปฐม และราชบุรี 309 ตัวอย่าง พบผลบวกเชื้อ ASF จำนวน 1 ตัวอย่าง ล่าสุดประกาศเขตโรคระบาดสัตว์ทันที ในรัศมี 5 กม.พร้อมรายงาน OIE วอนอย่าตระหนกยังกินหมูสุกได้ปลอดภัย

วันนี้ (11 ม.ค.2565) นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ ในฐานะประธานคณะทำงานด้านวิชาการป้องกัน ควบคุม และกำจัดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF)  กล่าวว่า ตามที่มีการนำเสนอข่าวในสื่อสังคมออนไลน์เผยข้อมูลว่าพบรายงานสถานการณ์การเกิดโรค ASF  ซึ่งจากการส่งชุดเฉพาะกิจลงตรวจสอบสภาวะโรคในพื้นที่เสี่ยง สุ่มตรวจสอบเพิ่มเติมโดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการเลี้ยงสุกรหนาแน่น ในวันที่ 8-9 ม.ค.ที่ผ่านมารวม 10 ฟาร์ม 305 ตัวอย่าง และโรงฆ่าสัตว์ 2 แห่ง 4 ตัวอย่างในพื้นที่ จ.ราชบุรี และนครปฐม

ทั้งนี้จากการเก็บตัวอย่างจากเลือดหมูในฟาร์ม และจากบนพื้นผิวสัมผัสบริเวณโรงฆ่าสัตว์นำไปตรวจหาโรคส่งวิเคราะห์ที่สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ ผลการวิเคราะห์ตัวอย่างในเบื้องต้นจาก 309 ตัวอย่าง พบผลวิเคราะห์เป็นลบ 308 ตัวอย่าง และพบผลบวกเชื้อ ASF จำนวน 1 ตัวอย่างจากตัวอย่างพื้นผิวสัมผัสบริเวณโรงฆ่าสัตว์แห่งหนึ่งที่มาจากจ.นครปฐม

อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ชุดเฉพาะกิจได้ลงพื้นที่เข้าสอบสวนโรคทางระบาดวิทยาถึงแหล่งที่มาของสุกรและสาเหตุเพื่อควบคุมโรคโดยเร็วต่อไป เพื่อลดผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด

อ่านข่าวเพิ่ม ไขปริศนา! "หมูแพงข้ามปี" ส่อแววเจอ "โรคระบาดในหมู"

พบเชื้อ ASF  1 ตัวอย่างจากพท.นครปฐม

ล่าสุดได้ประสานหารือและทำความเข้าใจกับหน่วยงานภาคีต่างๆ เช่น สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ภาคีคณบดี คณะสัตวแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย สัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มสุกร และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความร่วมมือในการควบคุมโรคแล้ว ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

กรมปศุสัตว์จะต้องประกาศเป็นเขตโรคระบาด และมีการควบคุมการเคลื่อนย้ายในรัศมี 5 กิโลเมตร รอบจุดที่พบโรค ร่วมกับจะต้องพิจารณาทำลายสุกรที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคหรือมีความเชื่อมโยงทางระบาดวิทยากับฟาร์มที่เป็นโรค

สำหรับการดำเนินงานในพื้นที่อื่นๆ ที่ไม่อยู่ในรัศมีการควบคุมโรคการเคลื่อนย้ายสุกรทุกวัตถุประสงค์จะต้องได้รับอนุญาตจากสัตวแพทย์ โดยคำนึงถึงเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด รวมทั้ง การขออนุญาตนำสุกรเข้ามาเลี้ยงต้องได้รับการอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ ในขณะเดียวกันกรมปศุสัตว์จะต้องแจ้งการพบโรคไปยังองค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) เพื่อแจ้งเตือนให้ประเทศสมาชิกทราบ

มีการประชุมคณะกรรมการวิชาการป้องกันควบคุมโรค ASF แล้วว่าตรวจพบเชื้อ ASF จาก 1 ตัวอย่างที่เก็บมาจากโรงฆ่าสัตว์แห่งหนึ่งในจ.นครปฐม จาก 309 ตัวอย่าง 

วอนประชาชนอย่าตื่นตระหนก

อธิบดีดีกรมปศุสัตว์ ขอความร่วมมือพี่น้องเกษตรกร ปฎิบัติตามตามมาตรการควบคุมโรคของกรมปศุสัตว์เคร่งครัด เพื่อควบคุมโรคให้สงบได้โดยเร็ว เช่น โรคไข้หวัดนก และยืนยันว่าโรค ASF เป็นโรคที่ไม่ติดต่อสู่คน หรือสัตว์ชนิดอื่น ผู้บริโภคยังสามารถรับประทานเนื้อหมูได้อย่างปลอดภัย โดยจะต้องให้ความร้อนปรุงสุกที่อุณหภูมิสูงกว่า 70 องศาเซลเซียส 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปากคำ! คนเลี้ยงขายหมูชิงขายทิ้งช่วงโรคระบาด ASF

ครม.ไฟเขียว 574 ล้าน ชดเชยโรค ASF ทำลายหมูแล้ว 1.5 แสนตัว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง