ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เปิดใจนิสิตสถาปัตย์ จุฬาฯ ออกแบบ "ทางม้าลาย 3 มิติ" สุดไวรัล

สังคม
2 ก.พ. 65
16:41
1,832
Logo Thai PBS
เปิดใจนิสิตสถาปัตย์ จุฬาฯ ออกแบบ "ทางม้าลาย 3 มิติ" สุดไวรัล
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
เปิดใจ "อัครพล ธนวัฒนาเจริญ" หรือ เอก นิสิตสถาปัตย์ จุฬาฯ ออกแบบ "ทางม้าลาย 3 มิติ" สุดไวรัล เผยทุกขั้นตอนการออกแบบ หวังให้ผลงานชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยผลักดันฟังชันก์ของงานศิลปะให้สร้างความตระหนักในสังคมได้มากขึ้น พร้อมยอมรับทุกความคิดเห็นโซเชียล

กลายเป็นไวรัลในชั่วข้ามคืน สำหรับทางม้าลาย 3 มิติ ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกแบบลวดลายแปลกใหม่พร้อมเลือกใช้สีที่โดดเด่น ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณืทั้งชื่นชมในความคิดสร้างสรรค์และชี้แนะว่าอาจเกิดอันตรายกับผู้ขับรถและเดินข้ามถนนได้ 

วันนี้ (2 ม.ค.2565) ไทยพีบีเอสออนไลน์สัมภาษณ์ นายอัครพล ธนวัฒนาเจริญ หรือ เอก นิสิตชั้นปี 2 ภาควิชาออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนึ่งในทีม Barrier เจ้าของผลงาน ระบุว่า งานออกแบบชิ้นนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ปีก่อน เพื่อเข้าร่วมการประกวดออกแบบทางม้าลาย 3 มิติ ทั้งหมด 7 จุดในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นโครงการ 3D CROSSWALK ของสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU) ร่วมกับสมาคมนิสิตเก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภาพ : Virapong Noppun

ภาพ : Virapong Noppun


ทีม Barrier เลือกออกแบบทางม้าลายในจุดที่ 7 ถนนทางเชื่อมหน้าอาคารจามจุรี 9-สนามจุ๊บ เนื่องจากเป็นงานที่มีความท้าทายเพราะเป้นจุดเดียวที่มีทางเลี้ยว การออกแบบจึงต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายส่วนว่าจะออกแบบอย่างไรให้มองจากมุมเลี้ยวก็ยังเป็น 3 มิติ ซึ่งช่วงที่ออกแบบเป็นช่วงที่มหาวิทยาลัยเปิดให้เรียนออนไลน์ จึงไม่ได้เข้าไปดูสถานที่จริง 

ทีมผมปรึกษาและช่วยกันออกแบบทางออนไลน์ มีเครื่องมือสำคัญคือ Google Map เราใช้เวลาออกแบบประมาณ 2 สัปดาห์ ก่อนจะส่งประกวดแล้วชนะ และเริ่มกลับมาลุยงานอีกครั้งปลายปีที่ผ่านมา เพื่อสร้างทางม้าลาย 3 มิติของจริง
ภาพ : PMCU

ภาพ : PMCU

ภาพ : PMCU

 

ภาพ : PMCU

ภาพ : PMCU

ภาพ : PMCU


เอก เล่าอีกว่า เมื่อต้องสร้างของจริง ทีมงานทั้งหมด 4 คน คือ น.ส.จิรา พวงวาสนา, น.ส.ภัทราพร พลพวกุล, น.ส.ปิ่นญมณี ฉิมมาลี และเอก ก็ลงพื้นที่ดูหน้างานพร้อมกับทีมงานจาก PMCU พบว่า บริเวณใกล้ ๆ มีลูกระนาด ขณะเดียวกันทีมงานเลือกให้จุดที่รถตัดสินใจเลี้ยวเป็นมุมที่เห็นทางม้าลาย 3 มิติชัดที่สุด เมื่อเก็บข้อมูลทุกอย่างลงตัวแล้ว ก็เริ่มร่างทางท้าลายกันตั้งแต่วันเสาร์ที่ 29 ม.ค.2565 ก่อนที่จะลงสีกันจนเสร็จในวันอาทิตย์

หลังจากเปิดใช้งานจริง ก็เริ่มเป็นกระแสไวรัลทันที เพราะมาในช่วงเดียวกันกับกระแสของ "หมอกระต่าย" เอก ระบุว่า ทีมงานติดตามฟีดแบ็กจากทุกฝ่าย และรับฟังทุกความคิดเห็น จากที่โซเชียลมองว่าอาจจะใช้ไม่ได้จริง หรือกังวลว่ารถที่ขับผ่านไป-มาจะตกใจนั้น จากการสังเกตการณ์มา 2 วัน พบว่า บริเวณดังกล่าวรถขับด้วยความเร็วต่ำ เนื่องจากอยู่ใกล้ทางเลี้ยว อาจมีรถตกใจบ้าง แต่เมื่อขับผ่านมาอีกครั้งก็ขับได้ตามปกติ

ภาพ : PMCU

ภาพ : PMCU

ภาพ : PMCU

 

ภาพ : PMCU

ภาพ : PMCU

ภาพ : PMCU


ส่วนคนเดินข้ามถนนบางคนอาจจะยังไม่ทราบว่าเป็นทางม้าลาย แต่จุดนี้เป็นทางม้าลายเก่า ซึ่งผู้คนจะเลือกข้ามถนนบริเวณนี้อยู่แล้ว แต่สิ่งสำคัญคือ ทีมงานต้องการให้คนขับรถเกิดความตระหนักมากกว่า เมื่อคนขับระมัดระวังก็จะช่วยลดอุบัติเหตุทางถนนได้

หลังจากได้รับฟีดแบ็กแล้วก็ปรึกษากันว่า ในอนาคตหากมีโปรเจ็กต์ใหม่ก็อาจจะปรับสีให้คนเข้าใจง่ายขึ้นว่าเป็นทางม้าลายมากกว่านี้ และลดความยืดของ 3 มิติลงอีก เพื่อไม่ให้คนตกใจ

ทั้งนี้ เอก ทิ้งท้ายกับไทยพีบีเอสออนไลน์ว่า หลังมีกระแสไวรัลก็รู้สึกภูมิใจกับผลงานชิ้นนี้มาก และดีใจที่สังคมให้ความสนใจกับเรื่องทางม้าลายมากขึ้น และอยากให้ผลงานชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยผลักดันฟังชันก์ของงานศิลปะให้สร้างความตระหนักในสังคมได้มากขึ้น 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง