วันนี้ (16 ก.พ.2565) ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงานผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ 16,462 คน จำแนกเป็นผู้ป่วยจากในประเทศ 16,326 คน ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 136 คน รวมผู้ป่วยสะสม 415,627 คน รวมผู้ป่วยสะสม 415,627 คน (ตั้งแต่ 1 ม.ค. 65) หายป่วยกลับบ้าน 10,868 คนหายป่วยสะสม 309,757 คน (ตั้งแต่ 1 ม.ค.65) กำลังรักษาตัว 138,295 คน เสียชีวิต 27 คน
สถิติครึ่งเดือนก.พ.ติดเชื้อเพิ่ม
- 1 ก.พ.65 ติดเชื้อ 7,422 คน เสียชีวิต 12 คน
- 2 ก.พ.65 ติดเชื้อ 8,587 คน เสียชีวิต 22 คน
- 3 ก.พ.65 ติดเชื้อ 9,172 คน เสียชีวิต 21 คน
- 4 ก.พ.65 ติดเชื้อ 9,909 คน เสียชีวิต 22 คน
- 5 ก.พ.65 ติดเชื้อ 10,490 คน เสียชีวิต 21 คน
- 6 ก.พ.65 ติดเชื้อ 10,879 คน เสียชีวิต 20 คน
- 7 ก.พ.65 ติดเชื้อ 10,470 คน เสียชีวิต 12 คน
- 8 ก.พ. 65 ติดเชื้อ 10,398 คน เสียชีวิต 17 คน
- 9 ก.พ.65 ติดเชื้อ 13,182 คน เสียชีวิต 24 คน
- 10 ก.พ. 65 ติดเชื้อ 14,822 คน เสียชีวิต 20 คน
- 11 ก.พ.65 ติดเชื้อ 15,242 คน เสียชีวิต 23 คน
- 12 ก.พ.65 ติดเชื้อ 16,330 คน เสียชีวิต 25 คน
- 13 ก.พ.65 ติดเชื้อ 15,882 คน เสียชีวิต 24 คน
- 14 ก.พ.65 ติดเชื้อ 14,900 คน เสียชีวิต 26 คน
- 15 ก.พ. 65 ติดเชื้อ 14,373 คน เสียชีวิต 27 คน
- 16 ก.พ.65 ติดเชื้อ 16,462 คน เสียชีวิต 27 คน
เปิด 5 จังหวัดที่ฉีดวัคซีนยังไม่ครอบคลุม
ขณะที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยข้อมูลสถิติการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลกแล้ว 10,407 ล้านโดส ใน 205 ประเทศ เขตปกครอง โดยขณะนี้อัตราการฉีดล่าสุดรวมกันทั่วโลกที่ 28.9 ล้านโดสต่อวัน และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ส่วนประเทศไทยการฉีดวัคซีนโควิด-19 ตั้งแต่ 28 ก.พ. 64 –15 ก.พ.65 ฉีดวัคซีนแล้ว 120,217,187 โดส ฉีดเพิ่มขึ้น 207,281 โดส โดย 5 จังหวัดที่มีการฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 ครอบคลุมประชากรต่ำที่สุด มีดังนี้
- นราธิวาส เข็มที่ 1 คิดเป็น 55.5% เข็มที่ 2 คิดเป็น 44.7% เข็มที่ 3 คิดเป็น 5.8%
- ปัตตานี เข็มที่ 1 คิดเป็น 56.4% เข็มที่ 2 คิดเป็น 45.3% เข็มที่ 3 คิดเป็น 5.9%
- บึงกาฬ เข็มที่ 1 คิดเป็น 63% เข็มที่ 2 คิดเป็น 55.8% เข็มที่ 3 คิดเป็น 7.9%
- ยะลา เข็มที่ 1 คิดเป็น 62.5% เข็มที่ 2 คิดเป็น 52.3% เข็มที่ 3 คิดเป็น 8.3%
- หนองบัวลำภู เข็มที่ 1 คิดเป็น 62.8% เข็มที่ 2 คิดเป็น 57.2% เข็มที่ 3 คิดเป็น 9.4%
แนะพ่อแม่สังเกตอาการเด็กติดโควิด
นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังคงมีผู้ติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มเด็กเล็กติดเชื้อ จากคนในครอบครัว ซึ่งอาการติดเชื้อที่พบตั้งแต่ไม่มีอาการ จนถึงมีอาการรุนแรง เช่น ปอดอักเสบ ส่วนเด็กที่ไม่มีอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย สามารถรับการรักษาแบบ Home Isolation (HI) ได้ แต่ต้องมีพ่อแม่ หรือผู้ปกครองที่สามารถดูและประเมินอาการให้เด็กได้ตลอดเวลา
นอกจากนี้ผู้ปกครองต้องคอยสังเกตอาการของเด็กอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ระดับอาการของเด็กแบ่งเป็น 2 แบบ คือ
- แบบที่ 1 อาการในระดับที่สามารถเฝ้าสังเกตที่บ้านต่อไปได้คือมีไข้ต่ำ มีน้ำมูก มีอาการไอเล็กน้อย ไม่มีอาการหอบเหนื่อย ถ่ายเหลว ยังคงกินอาหารหรือนมได้ปกติและไม่ซึม
- แบบที่ 2 หากเด็กมีไข้เกิน 39 องศาเซลเซียส หายใจหอบเร็วกว่าปกติ ปากเขียว ระดับออกซิเจนปลายนิ้วน้อยกว่า 94 เปอร์เซ็นต์ ซึมลง ไม่ดูดนม และไม่กินอาหาร ผู้ปกครองควรติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อนำเด็กส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
ครม.อนุมัติงบ 5.7 พันล้านจัดหาครุภัณฑ์รองรับผู้ป่วยโควิด "สีเหลือง-สีแดง"