ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

นักวิจัย ม.จอห์น ฮอปส์กิน ใช้ AI วิเคราะห์หาความเสี่ยงโรคหัวใจ

Logo Thai PBS
นักวิจัย ม.จอห์น ฮอปส์กิน ใช้ AI วิเคราะห์หาความเสี่ยงโรคหัวใจ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปส์กิน ใช้ AI ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลหาความเสี่ยงและหาทางป้องกันให้กับคนที่มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคหัวใจ

โรคหัวใจเป็น 1 ในโรคที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดโรคหนึ่ง ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัวมาก่อน เพราะมีคนจำนวนไม่น้อยที่เสียชีวิตจากโรคหัวใจโดยที่ไม่รู้ว่ามีความเสี่ยง นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปส์กินได้ใช้วิธีป้อนข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยโรคหัวใจ เพื่อให้ระบบ AI ช่วยวิเคราะห์หาความเสี่ยงและวิธีป้องกันให้กับคนที่อาจเป็นโรคนี้

การเกิดโรคหัวใจมาจากหลายสาเหตุ ซึ่งมีปัจจัยที่จะทำให้เกิดโรคแตกต่างกันออกไป ทั้งที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ เช่น พฤติกรรมเสี่ยง พันธุกรรม เป็นต้น และบางครั้งโรคหัวใจมักมาเยือนผู้ป่วยโดยไม่รู้ตัว เพราะไม่รู้ว่าตัวเองนั้นมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคนี้หรือไม่ อีกทั้งยังไม่รู้ว่าโรคนี้จะเกิดขึ้นเมื่อไหร่

Natalia Trayanova นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปส์กิน ได้พัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อช่วยในการวิเคราะห์และหาทางป้องกันการเกิดโรคหัวใจของคนที่อาจมีความเสี่ยง โดยระบบจะบอกได้ว่าใครบ้างที่อาจมีความเสี่ยง หรือเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งคิดเป็น 20% ของการเสียชีวิตของคนทั่วโลก

SSCAR (Survival Study of Cardiac Arrhythmia Risk) เป็นระบบการเรียนรู้เชิงลึกที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์หาผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ โดยทีมวิจัยได้ใช้ภาพหัวใจที่มีรอยแผลของผู้ป่วยกว่า 100 คนของโรงพยาบาลจอห์น ฮอปส์กิน เพื่อให้ระบบ AI เรียนรู้และวิเคราะห์ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจของผู้ป่วย ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

ทีมวิจัยได้นำระบบ AI มาทดสอบกับผู้ป่วยโรคหัวใจจากสถานพยาบาลกว่า 60 แห่งทั่วสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีประวัติการเต้นของหัวใจผิดจังหวะที่แตกต่างกัน โดยผลลัพธ์ที่ได้พบว่าการวิเคราะห์ด้วยระบบ AI นั้นมีความแม่นยำ และอาจเป็นตัวช่วยสำคัญในการวินิจฉัยโรคที่มีความเสี่ยงอย่างโรคหัวใจได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังเป็นก้าวสำคัญที่เทคโนโลยีมีส่วนในการรักษาชีวิตของมนุษย์ให้ยืนยาวมากขึ้น

ที่มาข้อมูล: jhu.edufiercebiotechfuturity
ที่มาภาพ: freepik
“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง