ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

นักวิจัย MIT พัฒนาอุปกรณ์พกพา เปลี่ยนน้ำเค็มให้กลายเป็นน้ำดื่ม

Logo Thai PBS
นักวิจัย MIT พัฒนาอุปกรณ์พกพา เปลี่ยนน้ำเค็มให้กลายเป็นน้ำดื่ม
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
นักวิจัยจาก MIT พัฒนาอุปกรณ์ขนาดพกพา ช่วยเปลี่ยนน้ำเค็มให้กลายเป็นน้ำดื่ม มีน้ำหนักเบา และสามารถนำไปใช้ได้ทุกที่

แม้ว่าน้ำจะเป็นส่วนประกอบสำคัญที่มีถึง 70% ของพื้นที่ทั้งหมดในโลก และเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญกับสิ่งมีชีวิตบนโลก แต่สัดส่วนของน้ำที่สามารถนำมาดื่มกินได้มีเพียง 3% เท่านั้น นักวิจัยจาก MIT จึงได้พัฒนาอุปกรณ์ขนาดพกพาที่สามารถเปลี่ยนน้ำเค็มให้กลายเป็นน้ำที่สามารถนำมาดื่มได้

อุปกรณ์เปลี่ยนน้ำเค็มให้เป็นน้ำดื่ม เป็นผลงานการพัฒนาของนักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ หรือ MIT (Massachusetts Institute of Technology) มีรูปร่างคล้ายกระเป๋าเดินทางขนาดเล็ก ซึ่งสามารถผลิตน้ำดื่มสะอาดได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องกรองหรือปั๊มน้ำแรงดันสูง แต่อุปกรณ์นี้ยังเป็นเพียงอุปกรณ์ตัวต้นแบบ จึงสามารถผลิตน้ำได้เพียง 1 ลิตร/ชม. ซึ่งทีมนักวิจัยคาดว่าอุปกรณ์ที่เสร็จสมบูรณ์ จะมีประสิทธิภาพในการทำงานมากกว่าตัวต้นแบบ 10 เท่า

การผลิตน้ำด้วยอุปกรณ์เปลี่ยนน้ำเค็มนี้ เป็นกระบวนการเปลี่ยนเปลี่ยนน้ำเค็มเป็นน้ำดื่มโดยได้เอาเกลือและสารประกอบอื่น ๆ ออกไป ซึ่งมีขั้นตอนที่คล้ายกับโรงงานผลิตน้ำดื่มจากน้ำเค็มขนาดใหญ่ แต่มีขนาดเล็ก และน้ำหนักเบากว่า เพียงแค่ 10 กิโลกรัม จึงพกพาไปยังที่ต่าง ๆ ได้ และไม่ได้มีประโยชน์เฉพาะการนำมาใช้งานส่วนตัว เพราะสามารถนำไปผลิตน้ำดื่มในพื้นที่ห่างไกล พื้นที่ที่มีทรัพยากรจำกัด หรือช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยธรรมชาติ เป็นต้น

อุปกรณ์ขนาดเล็กนี้ ใช้พลังงานในการผลิตน้ำดื่มน้อยกว่าการชาร์จโทรศัพท์มือถือ และยังสามารถต่อพลังงานจากแผงโซลาร์เซลล์ขนาดเล็กได้ด้วย และยังใช้งานง่าย เพียงแค่กดปุ่มเพียงปุ่มเดียว ก็สามารถผลิตน้ำดื่มได้ นอกจากนี้ ยังใช้สนามไฟฟ้าช่วยในการจัดการกับโมเลกุลเกลือ แบคทีเรีย และไวรัส จึงทำให้น้ำดื่มที่ได้สะอาด และเหมาะที่จะนำมาใช้ดื่มกิน

เทคโนโลยีการเปลี่ยนน้ำเค็มให้กลายเป็นน้ำดื่มมีให้เห็นอยู่เรื่อย ๆ แต่มักมีค่าใช้จ่ายสูง แต่นักวิจัย MIT ทำให้อุปกรณ์นี้มีค่าใช้จ่ายที่น้อยลงกว่าเครื่องผลิตน้ำจากโรงงานใหญ่ ๆ แต่ประสิทธิภาพที่ได้นั้นมีความใกล้เคียงกัน

ที่มาข้อมูลและภาพ: news.mit.edu, scitechdaily, fastcompany
“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech

ข่าวที่เกี่ยวข้อง