ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

นักวิชาการชี้ "โอกาสดี" ของนักธุรกิจไทยในเมียนมาเริ่มแล้ว ใครกลับก่อนได้เปรียบ!

เศรษฐกิจ
16 มิ.ย. 65
19:34
225
Logo Thai PBS
นักวิชาการชี้ "โอกาสดี" ของนักธุรกิจไทยในเมียนมาเริ่มแล้ว ใครกลับก่อนได้เปรียบ!
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
นักวิชาการระบุสถานการณ์ในย่างกุ้งเริ่มคลี่คลาย นักธุรกิจไทยเริ่มกลับเข้าไปทวงคืนส่วนแบ่งทางตลาด ชี้เป็นช่วงเวลาที่ดีเพราะสินค้าจากยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลี และสิงคโปร์ ยังไม่เข้าไปจำหน่ายในเมียนมา ใครกลับเข้าไปก่อนถือว่าได้เปรียบ

รศ.ปิติ ศรีแสงนาม ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงโอกาสการลงทุนของคนไทยในเมียนมาว่า ขณะนี้นักธุรกิจไทยเริ่มกลับเข้าไปที่ย่างกุ้งบ้างแล้ว แม้สถานการณ์ภายในจะยังมีบังเกอร์และรั้วลวดหนามติดตั้งอยู่เป็นระยะ พร้อมกับมีการประกาศเคอร์ฟิวช่วงเวลา 00.00 - 04.00 น. ส่งผลให้ถนนและห้างร้านต่าง ๆ ปิดตั้งแต่เวลา 21.00 น. เป็นต้นไป

รศ.ปิติ กล่าวว่า ท่ามกลางวิกฤตโควิดและวิกฤตการเมืองของเมียนมาที่เกิดขึ้น ส่งผลให้สินค้าอุปโภคบริโภคของไทยในเมียนมาหายไป พื้นที่สินค้าไทยถูกแทนที่ด้วยสินค้าท้องถิ่นของเมียนมา มาเลเซีย และเวียดนาม

ในซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่หรือในตลาด คนเมียนมาจับจ่ายใช้สอยกันปกติ จะพลุกพล่านในตอนกลางวัน แต่ตอนกลางคืนซบเซา

ขณะนี้สถานการณ์หลาย ๆ อย่างเริ่มคลี่คลาย แต่สินค้าจากทางยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลี และสิงคโปร์ ยังไม่เข้ามาในเมียนมา เป็นโอกาสที่ดีของนักลงทุนของไทย ที่จะเดินทางกลับเข้าไปทวงส่วนแบ่งทางตลาดคืน การนำสินค้าไทยเข้าไป นอกจากจะช่วยให้คนเมียนมามีคุณภาพชีวิตดีแล้ว ยังทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นด้วย

เดือนที่ผ่านมา คนไทยเริ่มกลับเข้าไปแล้ว นักธุรกิจ คนทำงาน เริ่มทยอยกลับไป ใครกลับก่อนได้เปรียบ

ข้อมูลจากสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงย่างกุ้ง ระบุว่าก่อนวิกฤตโควิดและวิกฤตการเมืองเมียนมา มีนักธุรกิจและคนไทยทำงานในย่างกุ้ง 1,500 คน แต่ขณะนี้เหลืออยู่ประมาณ 400 คน ส่งผลให้ส่วนแบ่งของไทยหายไป 20 เปอร์เซ็น

ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา จุฬาฯ กล่าวถึงการค้าขายชายแดนแม่สอด-เมียวดีว่า ขณะนี้ทางการเมียนมา สั่งห้ามสินค้า 5 ประเภทขายบริเวณชายแดน คือ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง นมข้นหวาน นมข้นจืด และหมาก ซึ่งเป็นสินค้าหลักที่ไทยส่งเข้าไป

หากต้องการส่งสินค้าเหล่านี้ จำเป็นต้องเปลี่ยนเป็นการนำเข้าทางท่าเรือย่างกุ้งแทน แต่อาจมีต้นทุนที่สูงขึ้นกว่าเดิม เพราะปัจจุบันมีปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน และค่าระวางเรือปรับเพิ่มขึ้น

 

อ่านข่าวอื่น ๆ

ระส่ำ "ShopeePay - ShopeeFood" ปลดพนักงานในไทยกว่าครึ่ง

สหพันธ์การขนส่งฯ จ่อขึ้นค่าขนส่ง 4% หากดีเซลเกิน 35 บ./ลิตร

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง