ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

สตาร์ตอัปตูนิเซีย พัฒนา "Kumulus" เครื่องผลิตน้ำดื่มจากอากาศ

Logo Thai PBS
สตาร์ตอัปตูนิเซีย พัฒนา "Kumulus" เครื่องผลิตน้ำดื่มจากอากาศ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
บริษัทสตาร์ตอัปในประเทศตูนิเซีย ได้พัฒนา Kumulus เครื่องผลิตน้ำดื่มจากอากาศ เพื่อแก้ปัญหาการคาดแคลนน้ำดื่มในประเทศแถบอาหรับ

ปัญหาการขาดแคลนน้ำดื่มเป็นปัญหาสำคัญของประเทศในแถบอาหรับ เพราะทรัพยากรน้ำส่วนใหญ่ไม่เหมาะสมที่จะนำมาบริโภคได้ บริษัทสตาร์ตอัปในประเทศตูนิเซีย จึงได้พัฒนาเครื่องผลิตน้ำดื่มจากอากาศ Kumulus เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำดื่มในพื้นที่ดังกล่าว

Iheb Triki ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทสตาร์ตอัป Kumulus เครื่องผลิตน้ำดื่มที่จำลองการเกิดน้ำค้างยามเช้า เพื่อนำมาใช้ผลิตน้ำดื่มที่สะอาด โดยเครื่องมือนี้จะช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม 2 เรื่อง คือ การเพิ่มปริมาณน้ำดื่มสะอาดให้มากขึ้น และการลดช่วยลดปริมาณการใช้ขวดน้ำพลาสติกให้น้อยลง

หลาย ๆ ประเทศในแถบอาหรับ ประสบกับปัญหาการขาดแคลนน้ำดื่มสะอาด ซึ่งได้กลายเป็นปัญหาสำคัญที่ได้กับการพูดถึง และมีความพยายามแก้ไขในหลายรูปแบบ ส่วนใหญ่มักจะพบเห็นในรูปแบบของการพัฒนาเครื่องมือที่ช่วยเปลี่ยนแหล่งน้ำที่มี ให้กลายเป็นแหล่งน้ำดื่มสะอาดที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้

แต่เครื่องมือก็อาจจะมีราคาแพงและยังไม่แพร่หลาย ทำให้เกิดการพัฒนาเครื่องมือในการผลิตน้ำดื่มอย่างต่อเนื่อง โดยการผลิตน้ำดื่มจากความชื้นในอากาศ เป็นหนึ่งในวิธีการผลิตน้ำดื่มด้วยการใช้ความชื้นในอากาศ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดได้ง่ายขึ้น

Kumulus เครื่องผลิตน้ำดื่มที่ใช้พลังงานจากแผงโซลาร์เซลล์ โดยได้จำลองการเกิดปรากฎการณ์น้ำค้างยามเช้า ตัวเครื่องจะดักจับความชื้นในอากาศผ่านเข้ามาในฟิลเตอร์เพื่อกรองมลพิษต่าง ๆ ออกให้หมด จากนั้น เครื่องจะทำการควบแน่นอากาศด้วยความร้อนและความเย็น จนสามารถผลิตหยดน้ำออกมา แล้วนำไปกรองอีกครั้งจนได้น้ำสะอาดและปลอดภัย

โดยเครื่องผลิตน้ำดื่ม Kumulus จะสามารถผลิตน้ำดื่มสะอาดได้วันละ 30 ลิตร และจะถูกนำไปติดตั้งในพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำ ซึ่ง Kumulus-1 จะถูกนำไปติดตั้งในโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลของตูนิเซียที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำดื่มสะอาด

 

ที่มาข้อมูลและภาพ: kumuluswater, news.yahoo,thenationalnews
“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech

ข่าวที่เกี่ยวข้อง