ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เช็กสัญญาณแค่ไหน? ป่วยโรคซึมเศร้า

สังคม
25 มิ.ย. 65
15:23
1,735
Logo Thai PBS
เช็กสัญญาณแค่ไหน? ป่วยโรคซึมเศร้า
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมสุขภาพจิต ชี้คนไทยป่วยโรคซึมเศร้า 1.5 ล้านคน โดยร้อยละ 20% มีอัตราฆ่าตัวตายสูง ระบุแนวทางคนใกล้ชิดช่วยเยียวยาจิตใจและสามารถกินยารักษาหายได้ เปิดคำพูดต้องห้าม-คำพูดเชิงบวก ให้ผู้ป่วยรู้สึกดี

กรณีที่ "จิรายุทธ ผโลประการ" แร็ปเปอร์ชื่อดัง "เต๋า UrboyTJ" โพสต์ข้อความที่บ่งบอกว่าตัวเองป่วยโรคซึมเศร้า ซึ่งหลายคนในโซเชียล แฟนคลับ กลุ่มเพื่อนศิลปินต่างออกมาให้กำลังใจสร้างพลังบวก

ไทยพีบีเอสออนไลน์ รวบรวมข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข รายงานว่าในปี 2564 ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้ากว่า 1.5 ล้านคน เป็นสาเหตุของการเสียชีวิต 4,000 คนต่อปี และพยายามคิดสั้นถึง 53,000 คนต่อปี ซึ่งการป้องกันความรุนแรงของโรคและยับยั้งการฆ่าตัวตายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนถือเป็นสิ่งสำคัญ

โรคซึมเศร้า เป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ที่พบได้บ่อย เกิดได้จากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง และสาเหตุอื่นๆ เช่น พันธุกรรม สารเสพติด การสูญเสีย ความผิดหวัง ความเครียด

กรมสุขภาพจิต แนะนำว่าสามารถเช็กว่าตัวเองเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ เนื่องจากผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ที่ไม่ได้รับการรักษา มีอัตราฆ่าตัวตายสูงถึง 20% มากกว่าคนทั่วไปหลายสิบเท่า อาการหลัก ที่เกิดขึ้น มีดังนี้

อารมณ์เศร้า เช่น ท้อแท้ ซึม เศร้า หงอย ทั้งที่ตัวเองรู้สึก หรือคนอื่นก็สังเกตเห็น เบื่อ ไม่มีความสุขกับกิจกรรมที่เคยทำ อาการร่วมอื่นๆ 5 ข้อ เช่น 

  • การกิน เบื่ออาหาร หรือเจริญอาหารมากเกินไป 
  • การนอน นอนไม่หลับหรือนอนเยอะเกินไป
  • พฤติกรรม เชื่องช้าลง หรือกระวนกระวาย
  • ร่างกาย อ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง ใจลอย ไม่มีสมาธิ ตัดสินใจอะไรไม่ได้
  • ความคิด ตำหนิตัวเอง หรือมองตัวเองเป็นคนไร้ค่า หรือคิดเรื่องการฆ่าตัวตาย

นอกจากนี้ ยังบอกถึงความเชื่อผิดๆ ที่หลายคนมองต่อผู้ป่วยโรคซึมเศร้า คือ อ่อนแอ ใจไม่สู้ เอาแต่คิดลบ มองโลกแง่ร้าย เปราะบาง ยังมีคนที่แย่กว่านี้ ไม่อดทน ซึ่งความเข้าใจผิดเหล่านี้ทำร้ายตัวเองและผู้ป่วยอย่างมาก

อ่านข่าวเพิ่ม ศิลปิน-แฟนเพลง ส่งกำลังใจให้ "UrboyTJ" หลังโพสต์ป่วยซึมเศร้า

ซึมเศร้ารักษาได้

แนวทางการรักษาโรคซึมเศร้า รักษาได้โดยทำจิตบำบัดรายบุคคลและการทำจิตบำบัดร่วมกับกินยาแก้โรคซึมเศร้า โดยตัวยาจะปรับสมดุลของเซโรโทนิน ทำให้อาการค่อยๆแจ่มใสขึ้น ใน 2-3 สัปดาห์ และต้องใช้เวลา 30-90 วันเพื่อให้ยากออกฤทธิ์เต็มที่

แต่ยาจะมีผลข้างเคียง ที่พบได้บ่อยคือความว่องไวลดลง และมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ง่วงซึม มึนงง ดังนั้น เพื่อให้เหมาะสมกับแนวทางการรักษา จึงมีรูปแบบที่แก้อาการง่วงซึมให้ผู้ป่วยเลือกใช้ และหายจากอาการซึมเศร้า ที่ไม่ก่อให้เกิดการเสพติดยาของผู้ป่วย

 

ประโยคต้องห้ามพูด-ฟังแล้วมีกำลังใจ

สำหรับคนที่เป็นโรคซึมเศร้า กรมสุขภาพจิต แนะนำให้คนโดยคนใกล้ชิดต้องดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ต้องระวังคำพูดที่จะพูด เพื่อไม่สร้างความรู้สึกหดหู่ให้กับผู้ป่วย โดยประโยคที่ควรพูดกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า เช่น 

  • ทำได้ดีมาก
  • เก่งมาก
  • คุณทำได้
  • วันนี้คุณตั้งใจทำดีเรื่องอะไร
  • วันนี้สีหน้าคุณดูดีมาก
  • เยี่ยมมาก
  • มั่นใจ
  • มีรอยยิ้ม เพราะอะไร

ประโยคที่ไม่ควรพูด ห้ามพูดกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

  • ร้องไห้ทำไม
  • เสียใจด้วยนะ
  • แย่จังเลย
  • พยายามอีก
  • ต้องทำได้
  • แค่นี้เอง
  • อย่าคิดมาก
  • ทำไมทำไม่ได้
  • ห้ามร้องไห้
  • เดี๋ยวก็ดีเอง
  • อย่าท้อ
  • สู้ๆ นะ (ในทางจิตวิทยาเรียกว่า Ignorance เป็นการปล่อยให้ผู้ป่วยสู้ด้วยตัวเองตามลำพังไม่รู้จะช่วยคนๆ นั้นอย่างไรดี)

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

พบแล้ว "เต๋า-UrboyTJ" ป่วยซึมเศร้าหลังหายตัว 4 ชั่วโมง

เปิดตัวแอปฯ "DMIND" คัดกรองภาวะซึมเศร้า - พบคนไทยป่วย 1.5 ล้านคน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง