ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ขุดภูเขาหาสมบัติ ส่งขายสหรัฐฯ ตามใบสั่งนายทุนต่างชาติ

สังคม
5 ก.ค. 65
19:00
1,068
Logo Thai PBS
ขุดภูเขาหาสมบัติ ส่งขายสหรัฐฯ ตามใบสั่งนายทุนต่างชาติ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ไทยพีบีเอส ยังคงติดตามการทวงคืน ประติมากรรมสำริด "Golden Boy" ประติมากรรมสำริด พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 มูลค่านับร้อยล้านบาท ชาวบ้านยืนยันว่าโบราณวัตถุถูกส่งออกไปนอกประเทศ เป็นการขุดขายตามใบสั่งนายทุนต่างชาติ ปลายทางถูกจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์

สมบัติชาติทางวัฒนธรรมของไทย ยังอยู่ในระหว่างทวงคืนกลับคืนมา ปลายทางส่วนใหญ่ ถูกจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ ในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ชาวบ้านยางยืนยันว่าโบราณวัตถุที่ถูกส่งออกไปนอกประเทศ เป็นการขุดขาย ตามใบสั่งนายทุนต่างชาติขุดขายเพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์

ชาวบ้านยาง ต.ตาจง อ.ละหานทราย จ.บุรีรัมย์ ตื่นตัวกับการ ทวงคืน "Golden Boy" ประติมากรรมสำริดพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 พวกเขายืนยันแหล่งกำเนิดคือบ้านยางเพราะจุดรับซื้อโบราณวัตถุสมัยนั้นก็อยู่ไม่ไกลบ้านไม้2 ชั้น อยู่ในสภาพทรุดโทรม เดิมเคยมีผู้คนแวะเวียนมาขายสมบัติทุกวัน

เสถียรโรจน์ บัณฑิต อดีตนายก อบต.ตาจง เล่าภาพจำตอนอายุ 14-15 ปี ภายในบ้านหลังนี้ เคยเป็นสถานที่รับ-ซื้อโบราณวัตถุราวปี 2518

 

เสถียร เคยเจอนายทุนต่างชาติ หรือ วงการค้าโบราณวัตถุสหรัฐฯ รู้จักเป็นอย่างดี คือนาย Douglas Latchford อดีตพ่อค้าโบราณวัตถุสัญชาติไทย เขาเดินทางมาบ้านหลังนี้แทบทุกปีชาวบ้านในสมัยนั้น ต่างเข้าไปขุดหาสมบัติบนปราสาทเขาปลายบัด 2 เพื่อนำมาขายให้กับนายทุนต่างชาติตามใบสั่ง โดยเฉพาะประติมากรรมสำริด จะได้ราคาสูงเป็นพิเศษ

ซื้อไปแล้ว Latchford ก็จะกลับมาให้บุญเลิศ จ้างคนไปขุดอีก ทำให้ปราสาทบ้านยางถูกขุดเป็นสระน้ำ จ้างขุดวัน 100 บาทไม่ธรรมดา ชาวก็แตกตื่นไปขุดกัน 

 

"Golden Boy" เป็นสมบัติอีกชิ้นถูกขายให้กับกลุ่มนายทุน Douglas Latchford ราคาซื้อขายสูงสุดหลัก 1 ล้านบาท ทำให้นักวิชาการมั่นใจว่า เป็นการลักลอบขายออกไป หลังไทยประกาศใช้กฎหมายควบคุมการส่งออกโบราณวัตถุ พ.ศ.25504

ปฎิเสธไม่ได้ว่าในสมัยนั้น เป็นยุคที่โบราณวัตถุของไทย ถูกนำไปจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ ต่างประเทศจำนวนมากสร้างความสนใจให้กับ Mario นักข่าว ABC NEWS ออสเตรเลีย

 

เขาตีพิมพ์บทความ เบื้องหลังการซื้อ-ขาย โบราณวัตถุไทยและกัมพูชาและตั้งข้อสังเกต ทำไมถึงมีโบราณวัตถุจาก 2ประเทศนี้มาจัดแสดงจำนวนมาก และยังพบจดหมายการซื้อ-ขายของ Douglas Latchford มีการปลอมแปลงเอกสารส่งออก ทำให้ช่วงเวลาหนึ่งไทยเป็นทางผ่านการค้าโบราณวัตถุอย่างผิดกฎหมาย

แม้กฎหมายสหรัฐฯ จะเอื้ออำนวยทำให้ไทยแทบไม่ต้องออกแรง หรือ เสียเงินค่าจ้างทนายทวงคืนแต่การพิสูจน์ทราบข้อเท็จจริง ยังเป็นเรื่องยาก ซึ่งการเจอเบาะแส "Golden Boy" จึงเป็นสิ่งที่ ทนงศักดิ์ หาญวงษ์ นักโบราณคดีต้องการให้บรรจุในวาระทวงคืนชิ้นต่อไป

หลักฐานทุกอย่างมันค่อนข้างสมบูรณ์ เราพบว่ามันควรจะติดตามคืนโบราณวัตถุคืนทันที เพราะข้อมูลที่เราได้ มีพยานบุคคลชัดเจนมากว่ามันมาจากบ้านยาง เป็นแหล่งกำเนิดในประเทศไทย

จากกระแสทวงคืนทับหลัง ทำให้รัฐบาลตั้งคณะกรรมการติดตามโบราณวัตถุของไทยในต่างประเทศกลับคืนสู่ประเทศไทย สามารถติดตามและรับมอบโบราณวัตถุได้ 9 ครั้ง 611 รายการ เป็นผลของการดำเนินงาน ของคณะกรรมการติดตามโบราณวัตถุ 2 รายการ คือทับหลังจากปราสาทเขาโล้น จ.สระแก้ว และทับหลังจากปราสาทหนองหงส์ จ.บุรีรัมย์ จากสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนพ.ค.2564 นับเป็นสมบัติชาตเพียง 2 ชิ้นที่ได้คืนจากสหรัฐฯจากการติดตามขอทวงคืน

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไทยจ่อทวง "Golden Boy” พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 กลับมาตุภูมิ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง