ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ร้อง สบส.พบคลินิกฯ ศัลยกรรมจมูกพัง 2 ปีไร้เยียวยา

อาชญากรรม
2 ก.ย. 65
15:59
1,541
Logo Thai PBS
ร้อง สบส.พบคลินิกฯ ศัลยกรรมจมูกพัง 2 ปีไร้เยียวยา
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สบส.เตรียมลงพื้นที่ตรวจสอบคลินิกเสริมความงามแห่งหนึ่ง ย่านสุขุมวิท หลังมีหญิงหลายคนร้องเรียนได้รับความเสียหายจากการผ่าตัดศัลยกรรมจมูก พบรูจมูกไม่เท่ากัน เบี้ยว ผนังกั้นจมูกล้ม ไม่สามารถแก้ไขได้ 2 ปี ไร้การเยียวยา

วันนี้ (2 ก.ย.2565) ตัวแทนผู้เสียหายนำหลักฐานการเข้ารับบริการศัลยกรรมจมูกกับคลินิกเสริมความงามแห่งหนึ่ง ย่านสุขุมวิท เข้าร้องเรียนต่อกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) เพื่อให้ตรวจสอบมาตรฐานการรักษาพยาบาลของคลินิกฯ ดังกล่าว โดยมีนายสาโรจน์ ยอดประประดิษฐ์ เลขานุการ กรม สบส. ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์คุ้มครองผู้บริโภคด้านระบบบริการสุขภาพ พร้อมเจ้าหน้าที่กองกฎหมายของ สบส.รับเรื่อง


หนึ่งในผู้เสียหาย ประกอบอาชีพฟรีแลนซ์ ให้ข้อมูลว่า หลังเห็นการรีวิวเสริมจมูกจากสื่อออนไลน์ และมีการไลฟ์ทางเฟซบุ๊กชักชวนให้ศัลยกรรมของคลินิก จึงตัดสินใจเข้ารับการบริการ เมื่อปลายปี 2564 เป็นการเสริมจมูกเทคนิคเปิดโดยใช้ซี่โครงตัวเอง ค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 164,350 บาท

หลังจากผ่าตัดเสร็จ พบว่า รูจมูกไม่เท่ากัน เริ่มเห็นแผลเป็นรอยนูนในรูจมูกทั้งสองข้างอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในจมูกข้างซ้าย มีอาการคัดจมูก หายใจไม่ออกบ่อยครั้ง ทุกครั้งที่สอบถามทางคลินิก เรื่องแผลเป็นปูดนูน จะได้รับคำตอบว่า "ให้ทายาลดคีรอยด์" และอาการหายใจไม่ออกเป็นปกติของเทคนิค open สุดท้ายผ่านมาเกือบ 2 ปี ยังไม่มีการแก้ไขให้ดีขึ้น ผู้เสียหายเริ่มสูญเสียความมั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวัน กระทบกับงานเกี่ยวกับล่าม


ส่วนผู้เสียหายคนอื่น ก็ประสบปัญหาคล้ายกัน คือทำจมูกแล้ว จมูกล้มเอียง รูจมูกเล็กจนไม่สามารถเปิดเผยหน้าได้ และยังส่งผลต่อสุขภาพด้านทางการหายใจอีกด้วย

นอกจากนี้ ยังมีผู้เสียหายกว่า 10 คน ที่ถูกคลินิกแห่งนี้เสริมจมูกผิดรูป และยังไม่ได้รับการแก้ไข หรือ เยียวยาจากคลินิกดังกล่าว


ด้านนายสาโรจน์ กล่าวว่า ภายในสัปดาห์หน้า จะมีการประสานเจ้าหน้าที่จากสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ และกองกฎหมาย กรม สบส.เพื่อลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงคลินิกดังกล่าว โดยมุ่งตรวจสอบในประเด็นสำคัญตามที่กฎหมายสถานพยาบาลกำหนด 3 ประเด็น ได้แก่ การขออนุญาตประกอบกิจการ ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม และ มาตรฐานความปลอดภัยของสถานพยาบาล ว่าเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่

 

 

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง