ในปี พ.ศ. 2476 แพทย์หญิง Cicely Delphine Williams ชาวจาเมกา พบว่าทารกจำนวนมากในพื้นที่ทำงาน มีอาการผิดปรกติ ด้วยอาการขาดสารอาหาร และอัตราการเสียชีวิตของทารกก็สูงมากเช่นกัน จึงได้ศึกษาและพบว่า สาเหตุเกิดจาก “นมข้นหวาน” ที่คนในพื้นที่นำมาเพื่อเลี้ยงเด็กทารกนั่นเอง
แพทย์หญิง Wiliiams จึงเริ่มรณรงค์ให้หยุดเอานมข้นหวานมาให้ทารกกิน จนกระทั่งได้เป็นหัวหน้าแผนกเกี่ยวกับแม่และเด็กในองค์การอนามัยโลก (WHO) การผลักดันเรื่องนี้จึงเป็นผลสำเร็จ ทำให้ทั่วโลกได้รู้จักภาวะขาดสารอาหารที่เกิดขึ้นจากเด็กที่กินนมข้นหวาน
โรคที่แพทย์หญิง Williams ค้นพบ ชื่อว่าโรค Kwashiorkor ซึ่งเกิดจากเด็กทารกที่ขาดสาอาหาร โดยเฉพาะโปรตีน จะทำให้เด็กมีอาการตัวบวม ขาบวม ผิวหนังหลุดลอกง่าย มีผื่นคันขึ้นทั้งตัว ภูมิคุ้มกันต่ำ ติดเชื้อง่าย ตับโต และจะทำให้เด็กเสียชีวิตในที่สุด ปัจจุบันในประเทศที่พัฒนาแล้ว จะพบเด็กที่เป็นโรคนี้ค่อนข้างน้อย เพราะเริ่มได้รับการศึกษากันแล้วว่านมข้นหวานไม่สามารถให้เด็กทารกกินได้ ส่วนในประเทศไทยยังพบได้ประปราย
ที่มา : https://en.wikipedia.org/wiki/Cicely_Williams