ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"เค ร้อยล้าน" กับคำถามป่วยจิตเวชก่อเหตุซ้ำ ใครต้องรับผิดชอบ?

สังคม
25 ต.ค. 65
11:50
403
Logo Thai PBS
"เค ร้อยล้าน" กับคำถามป่วยจิตเวชก่อเหตุซ้ำ ใครต้องรับผิดชอบ?
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"เค ร้อยล้าน" ถูกตั้งคำถามจากสังคมถึงการดูแล-บำบัดผู้ป่วยจิตเวช หลังก่อเหตุป่วนนับสิบครั้ง พร้อมเรียกร้องเอาผิดครอบครัวกรณีปล่อยปละละเลย

กรณีของนายคเณศพิศณุเทพ จักรภพมหาเดชา หรือที่รู้จักในฉายา เค ร้อยล้าน นักธุรกิจที่มีพฤติกรรมก่อความวุ่นวายหลายครั้งในที่สาธารณะ ทำให้ "เค ร้อยล้าน" ติดเทรนด์ทวิตเตอร์ 3 วันติด

สังคมส่วนหนึ่งมีคำถามถึงสิ่งที่รัฐทำได้ในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช รวมถึงการนำเข้าสู่กระบวนการรักษา-บำบัด และเอาผิดครอบครัวที่ปล่อยปละละเลยผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้หรือไม่

ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต ระบุว่า จำนวนผู้ป่วยจิตเวชที่ก่อความรุนแรงรวม 3,815 คน ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยก่อเหตุรุนแรงซ้ำ 510 คน ทั้งหมดได้เข้าสู่ระบบการดูแลรักษาของระบบสาธารณสุข

ไทยพีบีเอส เปิดข้อมูล "เค ร้อยล้าน" และย้อนพฤติกรรมพบว่า เค ร้อยล้าน เปลี่ยนชื่อมาแล้ว 5 ครั้ง เปลี่ยนนามสกุล 1 ครั้ง ที่ผ่านมาเขาอ้างว่า กินยารักษาอาการทางจิต แต่ไม่ได้มีอาการทางจิตแต่อย่างใด

เค ร้อยล้าน เป็นข่าวเกี่ยวกับความวุ่นวายในที่สาธารณะนับ 10 เหตุการณ์ โดยในครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 2549 เขาขับรถหรูที่พ่นข้อความสนับสนุนการทำรัฐประหาร มาจอดที่หน้าสำนักงานเลขานุการกองทัพบก, ปี 2565 ขับรถหรูไปจอดกลางถนน หน้าห้างเซ็นทรัลเวิร์ด และปล่อยงูเห่าลงบนถนน พร้อมโปรยดอกดาวเรือง อ้างว่าเพื่อบูชาเทพ,

ปี 2565 ก่อเหตุอย่างน้อย 7 เหตุการณ์ ได้แก่ ปล่อยงูเห่ากลางถนนราชดำริ พยายามทำร้ายร่างกายตัวเอง นำสีไปราดกลางห้างในย่านปทุมวัน พกงูเห่าไปนอนในโรงแรม ทำร้ายนางวรวรรณ แซ่อั้ง หรือป้าเป้า บริเวณสกายวอล์ก เขตปทุมวัน ตะโกนด่าผู้ชุมนุมที่แยกดินแดง และล่าสุดทำร้ายนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และตะโกนว่าเขามีระเบิด จนทำให้คนหนีกันอลหม่านภายในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ

อย่างไรก็ตาม นายเค ไม่ได้เดินทางไปตามนัดส่งตัวอัยการในคดีทำร้ายร่างกายนางวรวรรณ ซึ่งพนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน ซึ่งในคดีนี้มีเงื่อนไขที่สำคัญ คือ ศาลอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวโดยมีเงื่อนไขห้ามก่อเหตุซ้ำ และยังมีนัดส่งฟ้องต่อศาลแขวงปทุมวัน คดีปล่อยงูบนถนนราชดำริ ในวันที่ 3 พ.ย.นี้

เปิด พ.ร.บ.สุขภาพจิต กรณี "เค ร้อยล้าน"

ตาม พ.ร.บ.สุขภาพจิต 2551 มาตรา 22-24 กำหนดถึงบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตที่จำเป็นต้องบำบัดรักษา คือ มีภาวะอันตราย คือ มีพฤติกรรมผิดปกติที่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ตนเองหรือผู้อื่น หรือมีความจำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษา เพื่อไม่ให้เกิดอันตราย ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ นำตัวส่งสถานพยาบาลของรัฐโดยไม่ชักช้า เพื่อให้แพทย์ประเมินอาการ ซึ่งในกฎหมาย มาตรา 29 ยังระบุด้วยว่า หากประเมินแล้วสามารถอนุญาตให้ไปรักษาที่อื่นได้ แต่ต้องไม่มีภาวะอันตราย และสามารถกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ดูแลต้องปฏิบัติด้วยก็ได้

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

คุมตัว "เค ร้อยล้าน" ป่วนงานหนังสืออ้างมีระเบิดใกล้บูธ "ธนาธร"

รอผลตรวจสารเสพติด-สุขภาพจิต "เค ร้อยล้าน" ปล่อยงู ถ.ราชดำริ 

ผบช.น.จ่อพิจารณาถอนประกัน "เค ร้อยล้าน" พบทำผิดซ้ำ 

จิตแพทย์วิเคราะห์ "เค ร้อยล้าน" กับคำถามผู้ป่วยทางจิต 

ตร.สน.ปทุมวัน ฝากขัง "เค ร้อยล้าน" คดีทำร้ายร่างกาย 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง