ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ฟังคำอธิบายนักไวรัสวิทยาเรียกโควิด "ซุปโอมิครอน"

สังคม
3 พ.ย. 65
11:09
1,684
Logo Thai PBS
ฟังคำอธิบายนักไวรัสวิทยาเรียกโควิด "ซุปโอมิครอน"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รามาธิบดี ไขคำตอบทำไมถึงเรียกว่า "ซุปโอมิครอน" หลัง 3 ปีโควิด-19 มีวิวัฒนาการเป็นสายพันธุ์ย่อยมากกว่า 300 สายพันธุ์

วันนี้ (3 พ.ย.2565) ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics ระบุว่า ทำไมถึงเรียกว่า ซุปโอมิครอน

วลี (อังกฤษ) "ซุปโอมิครอน" เป็นการเรียกขาน โดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญโควิด-19 ทั่วโลก บ่งชี้ให้เห็นถึงความหลากหลายตามธรรมชาติของการกลายพันธุ์ของไวรัสโคโรนา 2019 ที่เปลี่ยนไปในยุคของโอมิครอน

ในช่วง 2 ปีแรกตระกูลใหญ่ของโควิด-19 ซึ่งมีรหัสพันธุกรรมแตกต่างกันอย่างมากได้เกิดขึ้น และถูกแทนที่ด้วยตระกูลใหญ่ถัดไปอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ตระกูลไวรัสอู่ฮั่น ได้ถูกแทนที่ด้วยตระกูล อัลฟา เบตา แกมมาเดลตา และโอมิครอน 

ย่างเข้าสู่ช่วงปีที่ 3 ในยุคของตระกูลโอมิครอน กลับมีวิวัฒนาการเกิดเป็นสายพันธุ์ย่อยมากกว่า 300 สายพันธุ์ (omicron subvariants) พร้อมกัน

ที่น่าสนใจมากคือส่วนหนามของโอมิครอน แต่ละสายพันธุ์ย่อยมีตำแหน่งกลายพันธุ์ทั้งที่ซ้ำกับสายพันธุ์โอมิครอน ดั้งเดิมประหนึ่งเป็นการรีไซเคิล นำตำแหน่งการกลายพันธุ์ดั้งเดิมที่ใช้ได้ผล (ในการหลบเลี่ยงภูมิ หรือจับกับผิวเซลล์) กลับมาใช้ใหม่ผสมผสานกับการกลายพันธุ์ตำแหน่งใหม่ ซึ่งจำเป็นใช้แข่งขันกันเองเพื่อการอยู่รอดในหมู่ของโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย

ในยุคโอมิครอน ที่มีสายพันธุ์ย่อยอุบัติขึ้นมามากมาย จึงเปรียบเสมือนเป็นองค์ประกอบของซุป หากเป็นวลีไทยอาจเรียกว่า "รวมมิตรโอมิครอน" ก็เป็นได้ โดยแต่ละภูมิภาคของโลกจะมีการระบาดของโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยที่แตกต่างกัน

ภาพ : เฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics

ภาพ : เฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics

ภาพ : เฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics

จับตาฤดูหนาวโอมิครอยกลายพันธุ์

ในช่วงเข้าสู่ฤดูหนาวปลายปีนี้ และต้นปีหน้า 2566 คาดว่าแต่ละภูมิภาคทั่วโลกจะมีการติดเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยที่แตกต่างกัน เช่นในทวีปยุโรป และอเมริกามีการติดเชื้อโอไมครอน BQ.1 และ BQ.1.1

ขณะที่ทวีปเอเชีย โดยเฉพาะ อินเดีย บังกลาเทศ มาเลเซีย และสิงคโปร์ พบการระบาดของ XBB,XBB.1-XBB.5 ในขณะที่ทวีปออสเตรเลียพบการระบาดผสมผสานระหว่าง BQ.1 และ XBB

สำหรับประเทศไทยยังคงพบโอไมครอนสาย BA.5 ถึงร้อยละ 97.83%
ส่วนสายพันธุ์ย่อย BA.4.6 จำนวน 2 ราย BQ.1.1 ไม่พบ BQ.1 จำนวน 1 คน  BF.7 จำนวน 2 คน BA.2.75 จำนวน 24 คน BA.2.75.2 จำนวน 6 ราย
XBB ไม่พบ

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

เช็กด่วน! พบโควิดสายพันธุ์ BA.4.6-XBB.X ในไทยรวม 8 คน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง