ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

นักวิจัยสังเคราะห์ "เลือดเทียม" ทดลองทางคลินิกครั้งแรกของโลก

Logo Thai PBS
นักวิจัยสังเคราะห์ "เลือดเทียม" ทดลองทางคลินิกครั้งแรกของโลก
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
นักวิจัยในสหราชอาณาจักรสังเคราะห์เลือดเทียม และเตรียมทดลองถ่ายเลือดเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ นับเป็นการทดลองทางคลินิกด้วยเลือดเทียมเป็นครั้งแรกของโลก

ปัจจุบันในทางการแพทย์ยังคงต้องใช้เลือดเป็นจำนวนมากในการรักษาคนไข้ จึงมีการประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้คนไปบริจาคโลหิตอยู่เป็นประจำ แต่ก็ยังคงไม่เพียงพอโดยเฉพาะเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน และหลายคนคงเคยเห็นการประกาศขอรับบริจาคเลือดด่วนให้แก่ผู้ป่วยอยู่บ่อยครั้งเพื่อใช้ในการรักษา เนื่องจากในโรงพยาบาลนั้น ๆ มีเลือดที่สำรองเอาไว้ไม่เพียงพอ และหากยิ่งเป็นกรุ๊ปเลือดที่หายากแล้วนั้นยิ่งหาผู้บริจาคแทบไม่ได้ สร้างความหวั่นวิตกให้กับทั้งทีมแพทย์และญาติผู้ป่วยเป็นอย่างมาก เพื่อให้การรักษาคนไข้ในกรุ๊ปเลือดที่หายากราบรื่นมากขึ้น นักวิจัยในสหราชอาณาจักรจึงพยายามทดลองถ่ายเลือดเทียมที่สังเคราะห์ขึ้นเข้าสู่ร่างกายมนุษย์

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยบริสตอลและมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และเจ้าหน้าที่หน่วยเลือดและการปลูกถ่ายของระบบประกันสุขภาพสหราชอาณาจักร (MHS) สังเคราะห์เลือดเทียมโดยมุ่งเน้นการสร้างเม็ดเลือดแดงเทียมที่สามารถนำออกซิเจนไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ กระบวนการผลิตเลือดเทียม เริ่มจากนำเลือดปริมาณ 470 มิลลิลิตร ที่ได้จากการรับบริจาค และใช้อนุภาคแม่เหล็กเพื่อดึงสเต็มเซลล์ที่กลายเป็นเซลล์เม็ดเลือดแดงได้ออกมา จากนั้นเพาะสเต็มเซลล์ที่ได้จนเติบโตในปริมาณมาก และกระตุ้นสเต็มเซลล์ที่เพาะไว้ให้กลายเป็นเซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งสเต็มเซลล์ที่สกัดออกมาได้ทั้งหมด 5 ล้านเซลล์นั้น สามารถกลายมาเป็นเซลล์เม็ดเลือดแดง 50 ล้านเซลล์ โดยกระบวนการสังเคราะห์เลือดเทียมใช้ระยะเวลาประมาณ 3 สัปดาห์

การทดลองถ่ายเลือดเทียมเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ที่ยังมีชีวิต จะใช้เลือดเทียมที่สังเคราะห์ในห้องทดลองในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น เปรียบเทียบแล้วอยู่ประมาณ 2-3 ช้อนชา เพื่อทดลองว่าเลือดเทียมที่สังเคราะห์ขึ้นนั้นสามารถใช้งานได้จริงหรือไม่ โดยวัตถุประสงค์ของการทดลองในครั้งนี้คือการผลิตกรุ๊ปเลือดที่หายาก ซึ่งไม่ใช่ 4 กรุ๊ปเลือด A B O และ AB ที่พบได้ทั่วไป เพื่อใช้ในการรักษาคนไข้ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคโลหิตจางที่ต้องได้รับการถ่ายเลือดอยู่เป็นประจำ

นักวิจัยจะทำการฉีดเลือดเทียมเข้าไปในร่างกายของผู้รับการทดลอง ซึ่งเป็นอาสาสมัครที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงอย่างน้อย 10 คน โดยจะต้องเข้ารับเลือดอย่างน้อย 5-10 มิลลิลิตร สลับระหว่างเลือดเทียมและเลือดจริง ทุก 4 เดือน โดยการทดลองฉีดเลือดเทียมเข้าไปในร่างกายมนุษย์จะใช้การติดตามด้วยสารกัมมันตรังสี ซึ่งเป็นสารที่ใช้ในทางการแพทย์เพื่อติดตามการทำงานของเลือดเ ระมาณ 120 วัน แต่เลือดที่ได้จากการบริจาคนั้นมีทั้งเซลล์เม็ดเลือดที่มีอายุมากและน้อย แต่เลือดเทีพ.นนของเลือดทำงานได้ดีขึ้นส่งผลดีต่อสุขภาพโดยรวมของผู้บริจาคอีกด้วย

ที่มาข้อมูล: thefinancialexpress, parasitesandvectors, finance.yahoo
“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech

 
ข่าวที่เกี่ยวข้อง