ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

อนาคต “เชียงรายเบียนนาเล่”

ภูมิภาค
25 พ.ย. 65
10:18
585
Logo Thai PBS
อนาคต “เชียงรายเบียนนาเล่”
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
“ณ วันนี้ ยังเป็นสุญญากาศ การสับเปลี่ยนผู้ว่าฯ เหมือนปรับเปลี่ยนแม่ทัพกลางศึก”

อ.สุวิทย์ ใจป้อม นายกสมาคมขัวศิลปะเชียงราย เปิดเผยกับทีมข่าวไทยพีบีเอส เมื่อวันที่ (22 พ.ย.65) ถึงกรณีการจัดงานมหกรรมงานศิลปะระดับโลก : ไทยแลนด์เบียนนาเล่ เชียงราย 2023 ที่จะจัดขึ้น 9 ธันวาคม 2566 ถึงการเปลียนตัวนายภาสกร บุญญลักษม์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นผู้ร่วมเตรียมงานมาหลายปีตั้งแต่สมัยเป็นรองผู้ว่าฯ เตรียมงานตั้งแต่เริ่มต้นออกแบบวางแผนร่วมกับ อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์และศิลปินหลายคนในเชียงราย ต้องการให้การจัดงานไม่ธรรมดา ให้เกิดสิ่งใหม่ เป็นปรากฎการณ์ศิลปะ ให้งานระดับโลกเกิดขึ้นที่เชียงราย อยากให้ศิลปินในพื้นที่ และในประเทศเป็นที่รู้จักระดับโลก เป็นงานสำคัญสู่ระดับโลกให้เป็นมาตรฐานที่ดีที่สุดใครก็นึกถึงเชียงราย

 

ที่ผ่านมา ได้ดูงานที่กระบี่ และโคราช ทำได้ดีแล้ว จ.เชียงราย ไปถอดบทเรียน และเตรียมความพร้อม ซึ่งเมื่อมองดูต้นทุน เชียงรายมีศิลปินมากที่สุด และมีศิลปินที่มีชื่อเสียง เช่น อ.ถวัลย์ ดัชนี, อ.ดำรง วงศ์อุปราช, อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ เป็นต้น

 

ความพร้อมเตรียมงาน?


จ.เชียงราย และศิลปินชาวเชียงราย ตั้งใจบูรณาการทั้ง 18 อำเภอของจังหวัด คาดหวังให้คนเดินทางมาเชียงรายหลายๆวัน เพราะงานจะจัดขึ้นวางงานศิลปะระดับโลกไว้หลายจุดในจังหวัดตามอำเภอต่างๆ ทุกอำเภอจะชูจุดเด่นขึ้นมาแสดงงานศิลปะร่วมด้วยเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสศิลปะแต่ละถิ่น แต่ละพื้นที่ เพราะต้นทุนของวัฒนธรรมมีเยอะใน 18 อำเภอแต่ละแห่งไม่เหมือนกัน ถือเป็นการกระจายรายได้ให้ชุมชนเมื่อเปลี่ยนผู้ว่าฯ ตอนนี้ยังไม่ทราบเงินจัดงานจะได้มากหรือน้อย จนถึงตอนนี้(22 พ.ย.2565)

 

ยังไม่ได้งบประมาณ ยังไม่ทราบตัวเลข งานระดับโลกจะใช้งบเท่าไหร่ มีการตั้งความหวังว่าน่าจะได้เท่ากระบี่กับโคราช แต่ถึงตอนนี้ยังไม่ทราบงบประมาณอยู่ตรงไหน

 

ล่าสุดกระทรวงวัฒนธรรม ก็แจ้งว่ากำลังดำเนินการเบิกของบประมาณ ก็หวังว่าจะใช้เวลาไม่นาน

 

แผนการเชิญศิลปินระดับโลกร่วมงาน

 

ฝ่ายจัดงานมีการเตรียมงานหลายขั้นตอน ถ้าทราบงบประมาณ การเชิญศิลปินไม่ใช่เรื่องที่ยาก แต่การเชิญศิลปินแต่ละครั้งมีค่าตัว ถ้ามีงบเยอะจะได้ศิลปิน และงานศิลปะระดับโลกมาเยอะ ถ้าน้อยก็จะตามจำนวนเงิน

 

ส่วนประเด็นที่อาจารย์เฉลิมชัย โพสต์แสดงความเห็นและความรู้สึกกรณีย้ายผู้ว่าฯและปัญหางบประมาณ ตนเข้าใจความรู้สึกอาจารย์เพราะตั้งใจมาก อยากให้งานนี้สำเร็จลุล่วงทุกอย่าง เมื่อตั้งใจมากเกิดสูญญกาศเปลี่ยนแม่ทัพกลางศึก ในฐานคนที่ทำงานร่วมกันมานาน ก็ไม่แน่ใจคนใหม่เข้ามาเป็นอย่างไร อาจดีก็ได้ ส่วนอาจารย์เฉลิมชัยจะดำเนินการต่อ หรือตัดสินใจอย่างไรยังไม่ทรายตอนนี้ แต่งานก็ต้องดำเนินต่อเป็นเรื่องของรัฐบาล เชียงรายจะเป็นเจ้าบ้านก็ทำให้ดีที่สุด

ก้าวเดินต่อจากนี้...ความไม่ชัดเจนงบจัดงาน


ความคืบหน้าคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ที่วางไว้คงตอบไม่ได้ ตอนนี้อยู่ที่งบประมาณ ถ้ามีงบประมาณมาเยอะก็ขยายงานให้ใหญ่ กลาง หรือเล็กได้ แต่ได้เท่าไหร่ก็จะทำให้ดีที่สุด เพราะทุกฝ่ายตั้งใจทำให้ดีที่สุด เพราะงานศิลปะนานๆจะมาที่เชียงรายครั้งหนึ่ง นี่เป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นจังหวัดเชียงราย

 

แผนการเตรียมงานในปี 2566 จะแบ่งเป็น 3 ช่วงหลักๆ คือ ช่วงแรกต้นปี คือ การเตรียมพื้นที่และจัดงานศิลปะนำศิลปินต่างชาติมาแสดงผลงานที่หอแทนคุณวัดร่องขุ่น ส่วนช่วงที่สองกลางปี จะเน้นการประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้และมีส่วนร่วม ช่วงสุดท้ายปลายปีที่มีการจัดงาน ที่จะมีขึ้นในวัน ที่9 ธันวาคม 2566 การจัดงานจะคลายกับงานคาร์นิวัล มีขบวนแห่ศิลปะในเมืองเพื่อเฉลิมฉลองงานไทยแลนด์เชียงรายเบียนนาเล่ คล้ายกับงานกีฬาแห่งชาติที่เชียงรายเป็นเจ้าภาพ งานทั้งหมดศิลปิน และปราชณ์ชาวบ้านจะมีส่วนร่วมทั้งหมด

หอศิลปะเมืองเชียงราย ไฮไลท์เชียงรายเบียนนาเล่

"หอศิลป์ร่วมสมัยเมืองเชียงราย Chiangrai International Art Museum :CIAM" ที่ตั้งอยู่ ต.ริมกก อ.เมืองเชียงราย ใกล้ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวงเชียงราย การเตรียมความพร้อมของศิลปิน ตอนนี้ อ.เฉลิมชัย ได้ออกเงินส่วนตัว 35 ล้านบาทก่อสร้างหอศิลป์เชียงราย ตั้งใจให้เป็นศูนย์นักท่องเที่ยว ของงานเชียงรายเบียนนาเล่ที่วางไว้ 2-3 จุดในเชียงรายช่วงจัดงาน ซึ่งความคืบหน้าการก่อสร้างไปแล้วร้อยละ 90 คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์นี้ อาคารนี้จุดแสดงผลงานศิลปะในเขตเมืองร่วมกับจุดอื่นๆ เช่น วัดร่องขุ่น หอประชุมนานาชาติ อบจ. ม.แม่ฟ้าหลวง ที่เป็นจุดจัดงานหลัก และอีก 17 อำเภอนอกเมืองเชียงราย

 

นพพล อำพันดี วิศวกรและศิลปินขัวศิลปะเชียงราย ผู้ร่วมออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง เปิดเผยว่าแนวคิดการก่อสร้างหอศิลปะเชียงราย มี 2 อย่างด้วยกันคือ ต้องการที่ตั้งสมาคมขัวศิลปะที่ถาวร จึงขอบริจาคที่ดินจนได้ที่ดิน 17 ไร่ และอีกเหตุผลคือการเป็นเจ้าภาพงานเชียงรายเบียนนาเล่ อาคารนี้จึงถูกออกแบบให้เป็นหนึ่งในพื้นที่หอศิลป์ขนาดใหญ่

 

อาคารออกแบบมีสกายวอล์คเดินเชื่อมกัน ดาดฟ้าสามารถชมเมืองได้ด้วยให้นักท่องเที่ยวสามารถถ่ายภาพได้

 

การจัดงานศิลปะพื้นที่ด้านนอกสามารถใช้พื้นที่ด้านบน มีหอขาว กับหอดำ สกายวอล์คมาเชื่อมกัน สื่อความหมายถึง สะพานเชื่อมสองศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ไว้ด้วยกัน คือ อ.เฉลิมชัย กับ อาคารถวัลย์ สองศิลปินผู้บุกเบิกศิลปะเชียงรายทำให้เกิดความเหนียวแน่นของศิลปินเชียงราย

 

และพื้นที่ชั้นล่างยังสามารถเป็นห้องจัดแสดงงานศิลปะได้จำนวน 2 ห้อง การก่อสร้างหอศิลปะเชียงรายไม่เพียงแต่จะเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ยังจะเป็นแลนด์มาร์คสำคัญของเชียงราย และการจัดงาน ไทยแลนด์เชียงรายเบียนนาเล่ในปลายปี 2566 รวมถึงอนาคตจะขยายเป็นหมู่บ้านศิลปิน และแหล่งรวมงานศิลปะทั่วประเทศให้นักท่องเที่ยวทั่วโลกมาเยี่ยมชม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง