ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"อ.อ๊อด" แนะ 3 วิธีสังเกตสารฟอร์มาลีนปนเปื้อนอาหาร

สังคม
5 ธ.ค. 65
13:04
3,526
Logo Thai PBS
"อ.อ๊อด" แนะ 3 วิธีสังเกตสารฟอร์มาลีนปนเปื้อนอาหาร
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์" แนะ 3 วิธีสังเกตอาหารทะเล เนื้อสัตว์ ผักสด และผลไม้ที่อาจปนเปื้อนสารฟอร์มาลีน ชี้หากซื้ออาหารมาแล้วควรแช่ด้วยสารละลายด่างทับทิมเจือจางก่อนล้างออกด้วยน้ำเพื่อความปลอดภัย

จากกรณีกรมปศุสัตว์ มีการตรวจพบสารเคมีทั้งฟอร์มาลีน โซดาไฟ และไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ผสมกับวัตถุดิบเนื้อสัตว์และเครื่องในกว่า 25,000 กิโลกรัม และส่งขายให้ร้านอาหาร 66 ร้านในภาคตะวันออก

ล่าสุด รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ หรืออาจารย์อ๊อด อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ออกมาเตือนถึงพิษฟอร์มาลีนต่อสุขภาพ โดยระบุว่า พิษแบบเฉียบพลันหากได้รับสูงเกิน 0.1 ppm ทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อตา จมูกและทางเดินหายใจ แต่หากได้รับปริมาณเข้มข้นสูงเกิน 100 ppm อาจทำให้หมดสติ และอาจเสียชีวิตได้ เนื่องจากที่ความเข้มข้นสูง ๆ สารฟอร์มาลีนจะเปลี่ยนรูปเป็นกรดฟอร์มิก (Formic acid) ซึ่งมีฤทธิ์ทำลายระบบการทำงานของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย

สำหรับอาการเรื้อรังหากได้รับปริมาณน้อย แต่ระยะยาวจะทำให้เกิดผลเสียกับระบบต่าง ๆ ของร่างกาย หรือก่อให้เกิดมะเร็งได้ โดยอาหารที่มักพบสารฟอร์มาลีนปนเปื้อน ได้แก่ อาหารทะเล เนื้อสัตว์ ผักสด และผลไม้ ซึ่งวิธีสังเกตง่าย ๆ คือ

  • ถ้าเป็นเนื้อสัตว์ หากถูกแสงแดด หรือลมเป็นเวลานาน แล้วยังสดอยู่
  • ถ้าเป็นอาหารทะเลที่เนื้อแข็งบางส่วน เปื่อยยุ่ยบางส่วน 
  • ถ้าเป็นผัก ผลไม้ที่มีลักษณะแข็ง เขียว กรอบหรือสดผิดปกติ ให้ดมที่ใบ ผลหรือหักก้านดม ถ้ามีกลิ่นแสบจมูกแสดงว่ามีฟอร์มาลีนปนเปื้อน

ทั้งนี้ เมื่อซื้ออาหารมาแล้วควรแช่ด้วยสารละลายด่างทับทิมเจือจาง (ในอัตราส่วน ด่างทับทิมประมาณ 20 เกล็ด ผสมน้ำ 4 – 5 ลิตร) ประมาณ 5 – 10 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำ เพราะฟอร์มาลีนทำปฏิกิริยากับด่างทับทิมแล้วได้เกลือฟอร์เมตซึ่งละลายน้ำได้

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง