ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

รวบแล้ว 1 ผู้ต้องหา ขโมยเครื่องกระตุกหัวใจ

อาชญากรรม
26 ม.ค. 66
14:12
410
Logo Thai PBS
รวบแล้ว 1 ผู้ต้องหา ขโมยเครื่องกระตุกหัวใจ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ตำรวจรวบแล้ว 1 คน ผู้ต้องสงสัยขโมยเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ หรือ AED ที่ติดตั้งไว้ตามพื้นที่สาธารณะใน กทม. ไปโพสต์ขายต่อในเฟซบุ๊ก

วันนี้ (26 ม.ค.2566) จากกรณีที่เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ หรือ AED ที่ติดตั้งไว้ตามพื้นที่สาธารณะในกรุงเทพมหานคร และจะทำหน้าที่ช่วยชีวิตผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ได้หายไป 27 เครื่อง ล่าสุด ตำรวจสามารถจับกุมผู้ต้องสงสัยได้แล้ว 1 คน โดยสามารถจับกุมตัวได้ที่ บ้านพัก เขตตลิ่งชัน 

โดยผู้ต้องสงสัยอ้างว่าทำงานเป็นจิตอาสากู้ภัย แต่ไม่มีบัตรประจำตัว โดยยอมรับว่ามีคนมานำเครื่อง AED จำนวน 6 เครื่อง มาให้เขาเพื่อโพสต์ขายในเฟซบุ๊ก แต่จากคำให้การของคนในบ้านไม่ให้ข้อมูลว่าส่งขายต่อให้ใครบ้าง และยังอ้างว่าจะให้คนที่ขโมยไปนำไปติดตั้งคืนให้ครบ

ทั้งนี้จากการลงพื้นที่จุดที่เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ หรือ AED หายส่วนใหญ่อยู่บริเวณป้อมตำรวจ เช่น ป้อมตำรวจย่านวรจักร ส่วนอีกจุดอยู่บริเวณแยกราชดำริ 

อีกแห่งอยู่บริเวณถนนพุทธมณฑลสาย 3 เขตทวีวัฒนา ซึ่งพบว่าตู้ติดตั้งอยู่บริเวณป้อมตำรวจ แต่จุดนี้ไม่ได้มีวงจรปิดที่จับภาพไปตรงบริเวณจุดติดตั้ง ตู้ใส่เครื่องกระตุกหัวใจ

การติดตั้งเครื่องกระตุกหัวใจ บริเวณพื้นที่สาธารณะ จะทำให้ใช้งานง่าย ไม่ต้องล็อกตู้ ประชาชนทุกคนสามารถนำไปใช้ช่วยเหลือ ผู้ป่วยหัวใจวายฉับพลันได้

สำหรับเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ หรือ AED ทางสภากาชาดไทย ยืนยันว่ารับบริจาคมา เพื่อส่งมอบให้สำนักงานตรวจแห่งชาติ ทยอยติดตั้งตามพื้นที่สาธารณะและป้อมจราจร 262 เครื่อง แต่พบว่ามี 27 เครื่องที่หายไป

โครงการ ติดตั้งเครื่องกระตุกหัวใจ หรือ AED สภากาชาดไทย รับบริจาคมาเพื่อส่งมอบให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ใช้ติดตั้งเพื่อตามสถานที่ สาธารณะ เบื้องต้นในกรุงเทพมีทั้งหมด 262 ตัว แต่ขณะนี้ ยังไม่มีความชัดเจนว่า มีหายเพิ่มเติมจากจำนวน 27 เครื่องอีกหรือไม่

พล.ต.ต.อาชยน ไกรทอง โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระบุว่าผู้บัญชาการตำรวจนครบาล สั่งการให้ทุกท้องที่ ที่พบเครื่องหายไปลงบันทึกประจำวัน เป็นหลักฐานและเร่งสืบสวนหาตัว ผู้กระทำผิดอย่างเร่งด่วน

ว่าที่ ร.ต.การันต์ ศรีวัฒนบูรพา ผู้ช่วยโฆษกสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ระบุถึงความจำเป็นที่ต้องเข้าถึงเครื่อง AED ใน 4 นาที การที่ติดตั้งในที่มิดชิดเกินไป อาจจะทำให้เข้าถึงได้ยาก จึงได้ติดตั้งให้สะดวกกับการใช้งาน ช่วยชีวิตคนหัวใจหยุดเต้นพื้นที่ใกล้เคียงมีโอกาสรอดชีวิตเพิ่มมากขึ้น กรณีที่มีการสูญหายหรือขโมย ไปย่อมส่งผลต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน หัวใจหยุดเต้นที่อาจเกิดขึ้นในบริเวณนั้นแน่นอน ยิ่งใน กทม.การจราจรค่อนข้างติดขัด การจะนำเครื่อง AED มากับรถกู้ชีพ หรือ รถพยาบาลฉุกเฉินก็อาจจะไม่ทันการณ์ใน 4 นาที ทำให้ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันได้

ส่วนเครื่อง AED จะมีการส่งสัญญาณระบุพิกัดทำให้ทราบตำแหน่งได้หรือไม่นั้น ร.ต.การันต์ กล่าวว่า แล้วแต่ฟังก์ชันที่กำหนดไว้ บางฟังก์ชันติดตั้งเครื่องส่งสัญญาณ ไม่ใช่แค่จีพีเอสว่าเครื่องอยู่ไหน แต่ส่วนใหญ่จะไม่มีตัวส่งสัญญาณเพราะจะทำให้ราคาสูง ส่วนใหญ่จะเป็นแบบที่มีตัวแจ้งเตือนที่ตู้ หากเปิดตู้ขึ้นมา อาจมีเสียงหวอ เตือนร้องเตือนว่ามีการหยิบเครื่องออกไป

ปัจจุบันมีการจำหน่ายเครื่องมือสอง แต่ต้องเตือนไปยังผู้ที่รับซื้อเครื่องมือสอง หรือผู้ที่จะซื้อเครื่องมือสองมาใช้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประชาชนทั่วไปหรือผู้ที่ประกอบธุรกิจ ที่ต้องดูแลความปลอดภัย ทำงานรับส่งผู้ป่วย การสแตนด์บายที่อาจมีการจัดหาเครื่อง AED มือสองมาตั้งไว้ ก่อนซื้อก็ควรตรวจสอบจากซีเรียลนัมเบอร์

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง