ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

งานวิจัยใหม่ชี้ โลกมีแร่แรร์เอิร์ธเพียงพอที่จะเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาด

Logo Thai PBS
งานวิจัยใหม่ชี้ โลกมีแร่แรร์เอิร์ธเพียงพอที่จะเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาด
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ผลการศึกษาใหม่ พบว่าโลกมีแร่แรร์เอิร์ธ (Rare Earth) เพียงพอสำหรับความต้องการในการผลิตเทคโนโลยีพลังงานสะอาดในปัจจุบัน ล้างความเชื่อเดิมที่ว่าโลกจะขาดแคลนแร่แรร์เอิร์ธ

ในปัจจุบันการผลิตไฟฟ้าด้วยทรัพยากรหมุนเวียนอย่างเช่น พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลมนั้น เป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมาก เนื่องจากนโยบายต่อสู้กับสภาวะโลกร้อนของนานาประเทศ ซึ่งตั้งเป้าลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศจนเหลือศูนย์ก่อนสิ้นศตวรรษที่ 21 นี้

แต่ทว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาก็กลับมีความกังวลเกิดในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ขึ้นมาว่าแร่ธาตุประเภท “แรร์เอิร์ธ” (Rare Earth Elements) หรือ กลุ่มแร่โลหะหายาก 17 ชนิด ที่เป็นวัตถุดิบสำคัญของเทคโนโลยีพลังงานทั้งหลายนั้น อาจไม่มีปริมาณเพียงพอที่จะช่วยให้โลกหลุดจากการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลได้

โดยเฉพาะแร่ “ดิสโพรเซียม” (Dysprosium) สินแร่ที่ใช้ในการผลิตแม่เหล็กปั่นไฟในกังหันลม ซึ่งมีการประเมินว่าโลกของเรานั้นต้องการแร่นี้เป็นปริมาณถึง 3 เท่าของอัตราการผลิตในปัจจุบัน ถึงจะสามารถเติมเต็มนโยบายผลักดันพลังงานสะอาดทั่วโลกได้ ไปจนถึงแร่ “เทลลูเรียม” (Tellurium) ที่ใช้สร้างแผงโซลาร์เซลล์ที่มีอัตราการผลิตสวนทางกับความต้องการเช่นกัน

อย่างไรดี สำนักข่าว AP ได้รายงานถึงผลงานวิจัยใหม่ที่ออกมายืนยันว่า ชั้นเปลือกโลกนั้น มีปริมาณแร่ธาตุแรร์เอิร์ธเหลือเฟือเพียงพอสำหรับมนุษย์ในการสับเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาด อีกทั้งศาสตราจารย์ด้านสิ่งแวดล้อม Daniel Ibarra จากมหาวิทยาลัยบราวน์ (Brown University) ยังได้ออกความเห็นเพิ่มเติมกับผลงานวิจัยนี้ว่า ผลการศึกษานั้นมีหลักฐานหนักแน่นเพียงพอที่จะโต้กลับความเชื่อเรื่องการขาดแคลนแร่แรร์เอิร์ธ ว่าไม่ได้มีอยู่อย่างจำกัดตามอย่างที่พูดถึงในวงการทำเหมือง

ถึงกระนั้นเทคโนโลยีพลังงานสะอาดก็ยังถูกโจมตีเพิ่มเติมว่า กระบวนการถลุงสินแร่แรร์เอิร์ธนั้น ได้ก่อให้เกิดมลพิษและแก๊สเรือนกระจกที่ตามมามากกว่า 10,000 ล้านตัน ในชั้นบรรยากาศโลก ซึ่งคิดเป็นปริมาณถึง 1 ใน 4 ของสัดส่วนการปล่อยแก๊สเรือนกระจกจากอุตสาหกรรมอื่นทั้งหมด

ทำให้การขุดเจาะเชื้อเพลิงฟอสซิลนั้นปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจกน้อยกว่ามาก แต่ทว่าในระยะยาวการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดต่อหนึ่งหน่วยนั้นก็กลับเอาชนะพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลได้อย่างขาดลอย เหลือเพียงคำถามที่ว่ามนุษย์จะผลิตแร่แรร์เอิร์ธให้เพียงพอต่อความต้องการในปัจจุบันได้อย่างไร

 

ที่มาข้อมูล: AP
ที่มาภาพ: AP
“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech

ข่าวที่เกี่ยวข้อง