ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

สำรวจทะเลกระบี่ พบสัตว์ทะเลหายาก พะยูน - เต่าทะเล อุดมสมบูรณ์

สิ่งแวดล้อม
7 มี.ค. 66
15:19
415
Logo Thai PBS
 สำรวจทะเลกระบี่ พบสัตว์ทะเลหายาก พะยูน -  เต่าทะเล อุดมสมบูรณ์
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สำรวจสัตว์ทะเลหายากพื้นที่ทะเลกระบี่ พบพะยูน 22 ตัว (พะยูนคู่แม่-ลูก จำนวน 3 คู่) และเต่าทะเล 74 ตัว

วันนี้ 7 มี.ค.2566 นายอภิชัย เอกวนากุล รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เปิดเผยหลังได้รับการรายงานว่า วันที่ 1-5 มี.ค.2566 ที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง (ศวอล.) ออกปฏิบัติงานสำรวจการแพร่กระจายของสัตว์ทะเลหายาก บริเวณพื้นที่ จ.กระบี่

 

 

สำหรับวิธีการบินสำรวจ (Aerial Survey) ซึ่งใช้เครื่องบินปีกตรึง 2 ที่นั่ง สำรวจแบบ Line transect ร่วมกับนักบินอาสาสมัคร Mr. Eduardo Angelo Loigorri และวิธีการสำรวจทางเรือโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ (UAV-drone) ณ บริเวณเกาะปู เกาะศรีบอยา และหมู่เกาะใกล้เคียง จ.กระบี่

 

ผลการสำรวจโดยประมาณในเบื้องต้นพบพะยูน 22 ตัว (พะยูนคู่แม่-ลูก จำนวน 3 คู่) และเต่าทะเล 74 ตัว ผลการตรวจสุขภาพโดยการประเมินสุขภาพจากการสังเกตด้วยสายตา พบว่าพะยูนแสดงพฤติกรรมว่ายน้ำหาอาหารบนแนวหญ้าทะเล และพฤติกรรมการผสมพันธุ์

นอกจากนี้ยังพบพะยูนคู่แม่-ลูก ซึ่งแสดงถึงความสมบูรณ์เพศของตัวสัตว์ รวมถึงเต่าทะเล สุขภาพโดยรวมไม่พบพฤติกรรมที่แสดงความผิดปกติ ส่วนข้อมูลและภาพถ่ายจากการสำรวจครั้งนี้ จะใช้คำนวณหาจำนวนประชากรที่แท้จริงของสัตว์ทะเลหายากในบริเวณพื้นที่ จ.กระบี่ต่อไป

นายอภิชัย ถึงแม้การสำรวจเบื้องต้นครั้งนี้จะพบว่าสัตว์ทะเลหายากมีความอุดมสมบูรณ์ดี แต่ก็ยังต้องขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนโดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่ ให้ช่วยกันอนุรักษ์ ช่วยกันสอดส่องดูแล

ทั้งนี้ กรม ทช. ยังได้มีการศึกษาเทคนิค เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อช่วยในการพัฒนางานด้านการอนุรักษ์สัตว์ทะเลหายาก รวมถึงทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผสานองค์ความรู้ทางวิชาการ

และความร่วมมือประชาชนในการมีส่วนร่วมในทุกกระบวนการ ทั้งการแก้ไขปัญหาครอบคลุมทุกมิติตั้งแต่การอนุรักษ์ ฟื้นฟู และจัดการปัญหาขยะทะเลตั้งแต่ต้นทางก่อนลงสู่ทะเล

และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการจัดการแบบเต็มรูปแบบอีกด้วย เพราะเชื่อว่าการที่เรารักษาระบบนิเวศและสภาพแวดล้อมให้สัตว์ทะเลหายากเหล่านี้ได้อาศัยและเพิ่มจำนวนโดยธรรมชาติได้นั้นเป็นสิ่งที่ยั่งยืน ซึ่งต้องช่วยกันอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อความสมบูรณ์ของท้องทะเล

ข่าวที่เกี่ยวข้อง