ชาวประมงพื้นบ้าน 2 อำเภอ เหนือคลองและเกาะลันตาในพื้นที่ จ.กระบี่ พบซากพะยูนเพศเมีย 2 ตัว ตัวโตเต็มวัย ในวันเดียวกัน ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับวิกฤติชีวิตสัตว์ทะเลหายาก พะยูนตัวแรกถูกพบในบริเวณอ่าวเจ้าอูฐ ตำบลเกาะกลาง อำเภอเกาะลันตา โดยชาวประมงพื้นบ้านขณะขับเรือผ่านพื้นที่ดังกล่าว หลังจากพบซากได้แจ้งให้ผู้นำชุมชน กลุ่มอนุรักษ์ และมูลนิธิอันดามันเข้าตรวจสอบ ส่วนพะยูนตัวที่สองถูกพบในหมู่ 3 บ้านเกาะจำ ตำบลเกาะศรีบอยา อำเภอเหนือคลอง โดยชาวบ้านได้นำซากส่งที่ท่าเรือท่าคลอง และรายงานไปยังศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอันดามันตอนล่างเพื่อดำเนินการผ่าพิสูจน์หาสาเหตุการตาย
ทีมข่าว The EXIT ตรวจสอบเส้นทางการซื้อขายซากพะยูน ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา พบว่าส่วนใหญ่เป็นการลักลอบตัดชิ้นส่วนที่มีราคา จากซากพะยูนตาย ที่เกยตื้น เช่นเดียวกับกรณีพบซากพะยูนถูกตัดหัว ในคดีล่าสุดที่จังหวัดภูเก็ต การซื้อขายลักษณะนี้ยังคงอยู่ในกลุ่มเครื่องราง ของขลัง และเป็นการซื้อขายตามใบสั่ง ส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน
ท่ามกลางการรณรงค์งดลอยกระทงลงทะเล เพราะอาจจะกระทบกับพะยูน และความพยายามแก้ปัญหาขาดแคลนหญ้าทะเล กลับพบภาพที่น่าสะเทือนใจ เมื่อชาวบ้านไปพบซากพะยูน ที่ส่วนหัวถูกตัดออกไป ผลชันสูตรพบว่า พะยูนถูกของมีคมตัดหลังตาย แต่ยังไม่สรุปว่า เกี่ยวข้องกับขบวนการล่าเพื่อการค้า หรือการซื้อขายเขี้ยวพะยูนหรือไม่
วิกฤตหญ้าทะเล อาหารหลักของ #พะยูน เสื่อมโทรม และลดจำนวนลงอย่างมากฝั่งทะเลอันดามัน เป็นลูกโซ่ที่กระทบต่อการดำรงชีวิตของพะยูน หลายตัวต้องอพยพเพื่อหาแหล่งอาหารใหม่ การย้ายถิ่นหากินจนออกนอกพื้นที่คุ้มครอง เสี่ยงต่ออุบัติเหตุถูกเรือชนและติดเครื่องมือประมง ซึ่งในเดือน ต.ค. 67 พบพะยูนตายแล้วถึง 9 ตัว ???? รู้หรือไม่ว่าสิ่งที่เราทำอยู่ทุกวันนี้ อาจเป็นส่วนหนึ่งทำให้โลกเดือด ! มีอะไรบ้างหาคำตอบกับ #TheVisual ในรูปแบบ #DataVisualization “เธอไม่เปลี่ยนแปลง ร้อนนี้จึงเปลี่ยนไป” ???? https://thevisual.thaipbs.or.th/green/heatwave/
ปัญหาภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางทะเลในไทย ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อ "พะยูน" โดยในช่วงเวลาเพียง 8 วัน พบพะยูนตายถึง 8 ตัว ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าตกใจ และสะท้อนถึงวิกฤตสภาพแวดล้อมที่เพิ่มขึ้น ในเขตทะเลอันดามันและพื้นที่ใกล้เคียง เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในอนาคต
วิกฤติเรื่องหญ้าทะเลฝั่งอันดามันเสื่อมโทรม ทำให้ "พะยูน" สัตว์ทะเลใกล้สูญพันธุ์ เริ่มกระจายตัวหากินออกไกลกว่าทะเลตรัง และกระบี่ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ระบุต้องสำรวจเพิ่ม หลังพบการอพยพแบบยกครอบครัวไปไกลถึงจุดที่ไม่เคยพบมาก่อน เพื่อออกมาตรการคุ้มครองเร่งด่วนในพื้นที่
กรณีการช่วยเหลือพะยูนน้อย อายุ 2 เดือน พลัดหลงกับแม่กลางทะเลกระบี่ และมาเกยตื้นบริเวณเกาะปอดะ ซึ่งอยู่ในความดูแลของสัตวแพทย์มากว่า 10 วัน สภาพร่างกายดีขึ้นน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเกือบ 2 กิโลกรัม ขณะนี้น้ำหนักอยู่ที่ 15 กิโลกรัม ทั้งนี้ ในส่วนชื่อของน้องพะยูนน้อยตัวนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำลังเตรียมการนำความขึ้นกราบทูล สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เพื่อขอพระราชทานชื่อให้แก่ลูกพะยูน
ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง ระดมทีมแพทย์ช่วยเหลือลูกพะยูนเพศผู้ อายุ 2 เดือน ที่เกยตื้นเพราะพลัดหลงกับแม่ในทะเลกระบี่ ทำให้ขณะนี้อาการเริ่มดีขึ้น แต่ยังพบว่าพะยูนมีแผลที่ตาซ้าย นายสันติ นิลวัฒน์ ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง บอกว่า หากเปรียบเทียบกับมาเรียม พะยูนตัวนี้เลี้ยงในสถานที่ปิดสามารถควบคุมดูแลได้ง่ายในบ่อน้ำขนาด 5 เมตร แต่มาเรียมอนุบาลในพื้นที่เปิดธรรมชาติสภาพน้ำขุ่นกว่า การสังเกตอาการจะยากกว่า โดยอายุพะยูนตัวนี้น้อยกว่ามาเรียมยังเป็นทารก
อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี สำรวจพะยูนอพยพพบ 3 แม่ลูก หากินบริเวณแหล่งหญ้าทะเล ต.อ่าวนาง อ.เมืองกระบี่ เชื่อว่าอพยพย้ายถิ่นจาก จ.ตรัง พร้อมขอความร่วมมือจากเรือนำเที่ยว เรือประมง ที่ใช้ยานพาหนะในการสัญจรทางน้ำ เดินเรือด้วยความระมัดระวัง