ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ปิดเทอมยาว! เด็กเสี่ยงโรคอ้วนพุ่ง สูญรายได้รักษา 1.2 หมื่นล้าน

สังคม
12 เม.ย. 66
11:44
230
Logo Thai PBS
ปิดเทอมยาว! เด็กเสี่ยงโรคอ้วนพุ่ง สูญรายได้รักษา 1.2 หมื่นล้าน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
แพทย์เผยผลสำรวจเด็ก1-5 ขวบ เริ่มอ้วนเพิ่มขึ้น 2 เท่า เสี่ยงเบาหวาน ความดันสูง โตขึ้นจะเป็นผู้ใหญ่อ้วน 80% รัฐสูญต้นทุนเศรษฐกิจดูแลโรคอ้วนกว่า 1.2 หมื่นล้านบาท

วันนี้ (12 เม.ย.2566) น.ส.ฐาณิชชา ลิ้มพานิช ผอ.สถาบันส่งเสริมบทบาทพ่อแม่เพื่อสังคม (สพมส.) กล่าวว่า จากผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศไทยปี 2563 พบว่าช่วงวันหยุดเด็ก Gen Z ใช้อินเตอร์เน็ตไม่ต่ำกว่า 12 ชั่วโมง และกิจกรรมยอดฮิต คือการใช้โซเชียลมีเดีย ดูโทรทัศน์ ดูคลิป ดูหนัง ฟังเพลงออนไลน์ และค้นหาข้อมูลออนไลน์

ผลสำรวจยังพบข้อมูลที่น่าสนใจอีกว่า เด็กที่ใช้สื่อประมาณ 90% เห็นโฆษณาอาหารและเครื่องดื่ม หวาน มัน เค็ม เนื่องจากการตลาดอาหาร และเครื่องดื่มกระตุ้นให้เด็ก ๆ อยากซื้อ อยากบริโภคอาหารมากขึ้น จนทำให้ได้รับพลังงานเกินจำเป็น และเสี่ยงต่อโรคอ้วน และโรค NCDs

ปิดเทอมอ้วนพุ่ง-สูญค่าดูแลรักษาโรค

พญ.วิสารัตน์ ธีระโกเมน รอง ผอ.ฝ่ายวิชาการสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กล่าวว่า ข้อมูลพฤติกรรมเด็กไทยส่วนใหญ่เลือกซื้ออาหารตามความชอบ ความอยาก และรสชาติ มีเด็กส่วนน้อยมาก ที่เลือกซื้อโดยคำนึงถึงคุณค่าทางอาหาร ซึ่งการตลาดอาหารหรือโฆษณาจะมีกลยุทธ์ทำให้เด็กชื่นชอบ ทั้งฉลากผลิต ภัณฑ์ที่เป็นการ์ตูน การโฆษณา การส่งเสริมการขาย การบริจาคในโรงเรียน

พ.ญ.วิสารัตน์ กล่าวว่า กลุ่มอาหารที่มีพลังงานสูงเกิน หวานเกิน มันเกิน เค็มเกิน เป็นขนมประเภทขบเคี้ยว และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะน้ำหนักเกิน และโรคอ้วนในเด็กโดย 20 ปีที่ผ่านมา เด็กไทยมีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนเพิ่มขึ้นมากกว่า2 เท่า

ผลการสำรวจยังพบอีกว่า ในเด็กเล็ก (1-5 ปี) มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าจาก 5.8% เป็น 11.4% ขณะที่เด็กวัยเรียน (6-14 ปี) มีภาวะเริ่มอ้วน และอ้วน เพิ่มขึ้น 2.4 เท่า จาก 5.8% เป็น 13.9% จำนวนนี้เด็กที่อ้วน 31% จะกลายเป็นผู้ป่วยเบาหวาน เด็กอ้วน 22% จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง และเด็กที่อ้วนแล้ว 55% จะเติบโตกลายเป็นวัยรุ่นที่อ้วน และสุดท้าย เด็กอ้วนจะกลายเป็นผู้ใหญ่ที่อ้วนถึง 80%

ผลกระทบภาวะเริ่มอ้วน และอ้วนในเด็ก ส่งผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญา จากการคำนวณค่าใช้ในการดูแลสุขภาพผู้มีปัญหาโรคอ้วน การสูญเสียรายได้จากการตายก่อนวัยอันสมควร คิดเป็นต้นทุนทางเศรษฐกิจ กว่า 1.2 หมื่นล้านบาท

ชี้ผลิตภัณฑ์กว่า 41,415 รายการไม่ผ่านโภชนาการ 

นางศศิพร ตัชชนานุสรณ์ รองผอ ฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กล่าวว่า สถาบันประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ประเมินผลิตภัณฑ์อาหาร และเครื่องดื่มของประเทศไทยตามมาตรฐานโภชนาการ

จากฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์ 41,415 รายการ พบผลิตภัณฑ์ทั้งในกลุ่มเครื่องดื่ม กลุ่มขนมขบเคี้ยว และกลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมอบ ถึง 88% ไม่ผ่านเกณฑ์โภชนา การ และไม่ได้รับสัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพ

เชื่อว่าหากลดเทคนิค และความถี่ของการโฆษณาแบบการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจะช่วยลดพฤติกรรมเด็กในการซื้อและบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพลดลง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง