ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เด็กทารกเกิดจาก DNA ของคน 3 คน เป็นครั้งแรกในสหราชอาณาจักร

Logo Thai PBS
เด็กทารกเกิดจาก DNA ของคน 3 คน เป็นครั้งแรกในสหราชอาณาจักร
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
โรคติดต่อทางพันธุกรรมที่เกี่ยวกับความผิดปกติของไมโทคอนเดรีย ซึ่งเป็นชิ้นส่วนภายในเซลล์ที่สร้างพลังงานให้กับร่างกายนั้น สามารถรักษาได้แล้วผ่านการนำ DNA ของบุคคลที่ 3 ไปผสมกับเซลล์ของผู้ที่ต้องการมีบุตร

ตามปกติแล้วรหัสพันธุกรรมของเราจะประกอบไปด้วย DNA ของพ่อและแม่อย่างละครึ่ง แต่ทว่าในปัจจุบันกลับมีเด็กทารกประมาณ 0.1% ที่เกิดจาก DNA ของคน 3 ด้วยการนำ DNA จากเซลล์ไข่ของผู้บริจาคเข้ามาผสมอีกทีหนึ่ง โดยกระบวนนี้เป็นวิธีทางการแพทย์สำหรับใช้รักษาความผิดปกติของไมโทคอนเดรีย (Mitochondrion) ซึ่งเป็นโรคที่ถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม

ไมโทคอนเดรียนั้น เป็นออร์แกเนลล์ หรือองค์ประกอบภายในเซลล์ที่สร้างพลังงานให้กับร่างกายสำหรับการดำรงชีวิต ถ้าหากไมโทคอนเดรียเกิดทำงานผิดปกติขึ้นมา ก็อาจนำไปสู่อาการที่ร้ายแรงต่าง ๆ ได้ อาทิ การสูญเสียกล้ามเนื้อ ควบคุมร่างกายลำบาก ปวดศีรษะ และหัวใจหยุดเต้น ทั้งโรคนี้ยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตทารกภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังคลอดอีกด้วย

โดยสหราชอาณาจักรนั้นเป็นประเทศล่าสุดที่มีการนำวิธีการปลูกถ่าย DNA ของผู้บริจาคลงไปในเซลล์ไข่ของคู่ที่ต้องการมีบุตร เพื่อยับยั้งโรคติดต่อทางพันธุกรรมนี้ ซึ่งแพทย์นั้นยืนยันว่าเซลล์ของผู้บริจาคที่นำมาใช้นั้นจะไม่เกิดปฏิสนธิร่วมด้วยอย่างแน่นอน เนื่องจาก DNA ของผู้บริจาคจะทำหน้าที่แค่สร้างไมโทคอนเดรียให้สมบูรณ์เท่านั้น ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับรูปร่างหน้าตา หรือโรคทางพันธุกรรมอื่น ๆ และผู้บริจาคไม่มีสิทธิ์เป็นผู้ปกครองเด็กคนที่ 3 ได้ตามกฎหมาย

อย่างไรก็ตาม การปลูกถ่ายนี้จะทำให้ทารกที่เกิดมามีทั้ง DNA จากพ่อแม่และผู้บริจาครวมอยู่ด้วยกัน ซึ่งรหัสพันธุกรรมของคน 3 คนนี้จะถูกส่งต่อและถ่ายทอดไปยังรุ่นถัด ๆ ไปด้วย โดยเทคนิคข้างต้นนี้ได้เริ่มต้นใช้ที่ประเทศอังกฤษเป็นครั้งแรกในปีนี้ หลังจากที่สหรัฐอเมริกามีการทดลองกับผู้ป่วยมาแล้วในปี ค.ศ. 2016 ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีว่าวิธีการนี้กำลังเป็นที่แพร่หลาย และนิยมมากขึ้นในการรักษาโรคติดต่อทางพันธุกรรมที่เกี่ยวกับความผิดปกติของไมโทคอนเดรีย

ที่มาข้อมูล: BBC
“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech

ข่าวที่เกี่ยวข้อง