ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เพดานหนี้สหรัฐ กระทบ ตลาดเงินตลาดทุนทั่วโลก

เศรษฐกิจ
2 มิ.ย. 66
16:53
1,809
Logo Thai PBS
เพดานหนี้สหรัฐ กระทบ ตลาดเงินตลาดทุนทั่วโลก
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
อดีต รมว.คลัง คาดตั้งแต่ปี 2567 ภาระดอกเบี้ยที่รัฐบาลสหรัฐฯ ต้องจ่าย ส่งผลดอลลาร์อ่อนตัว กระทบส่งออกไทย เงินบาทแข็ง สินค้าแพง เสนอเร่งใส่มูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร

“เพดานหนี้” หมายถึงวงเงินสูงสุดที่รัฐบาลสหรัฐสามารถกู้ได้ เพื่อนำมาใช้จ่ายต่างๆ ตามภาระผูกพันที่มีอยู่ รอบนี้รัฐบาลกู้ยืมชนเพดานไปแล้ว จึงอยากขอให้สภาคองเกรสช่วยขยายการกู้ยืม เพราะไม่เช่นนั้นจะทำให้ต้องผิดนัดชำระหนี้ภายในวันที่ 1 มิถุนายน 2023

แต่มีปัญหาเนื่องจากพรรคริพับลิกัน ซึ่งเป็นฝ่ายค้านต้องการให้รัฐบาลปรับลดการใช้จ่ายเสียก่อนจึงจะยอมอนุญาตเพิ่มเพดานหนี้

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์ในรายการ “ทันโลกกับที่นี่ ไทยพีบีเอส”

นายธีระชัย กล่าวว่า ข้อตกลงการขยายเพดานหนี้เบื้องต้นที่มีการยกร่างระหว่างฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล ขณะนี้ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรแล้ว เหลือแต่วุฒิสภา ในแง่ของการเจรจาระหว่างฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล เป้าหมายหลักของฝ่ายค้าน คือไม่ต้องการให้รัฐบาลของโจ ไบเดน เข้าแข่งขันในการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2023

“คาดการณ์ว่า โดนัลด์ ทรัมป์ ต้องลงแข่งกับ โจ ไบเดน จึงต้องการล็อกไม่ให้รัฐบาล ไบเดน ในตำแหน่งประธานาธิบดี เอาเงินงบประมาณไปใช้จ่ายเพื่อให้เกิดคะแนนนิยมในการเลือกตั้ง ซึ่งวิธีการล็อก เพื่อไม่ให้รัฐบาลใช้จ่ายมากเกินไป ขณะนี้อยู่ในข้อตกลงแล้ว ทำให้พรรคริพับลิกันสบายใจว่า ข้อตกลงอันนี้จะทำให้รัฐบาลไบเดนไม่ได้เปรียบจากการใช้เงิน”

ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล

ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล

ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล

อดีต รมว.คลัง กล่าวว่า กระนั้นยังมีปัญหาและเงื่อนไขบางอย่างที่สำคัญ คือ แม้จะมีการยกเว้นรายจ่ายบางอย่างไม่อยู่ในเพดานที่จะจำกัดการใช้เงินของรัฐบาล โดยเฉพาะรายจ่ายในเรื่องงบประมาณป้องกันประเทศ ซึ่งจะเห็นว่ามีการใช้ลักษณะของการใช้เงินในสงครามตัวแทน

“สหรัฐฯ ทำการรบกับทางรัสเซีย ยังไม่จบ คือ เขาไม่ได้รบโดยตรง แต่รบผ่านยูเครน ซึ่งการสู้รบจะเข้มข้นขึ้นอีกในช่วงครึ่งปีหลัง และแนวโน้มยังไม่จบเร็ว นอกจากนี้ยังมี ผลกระทบ เรื่องพลังงาน อาหาร การกักตุนอาหาร เป็นการใช้หมากเกม ปล่อยให้ยูเครนขายอาหาร เป็นเครื่องมือในการสงคราม ทำให้ราคาอาหารกระเพื่อมขึ้นไป”

อ่านข่าว : อนาคต "ตลาดหุ้น" ในเงื้อมมือ รัฐบาลก้าวไกล

นายธีระชัย กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังมีการนำก๊าซธรรมชาติมาผลิตเป็นปุ๋ยแอมโมเนีย หรือปุ๋ยประเภทอื่นค่อนข้างสะดุด เนื่องจากประเทศรัสเซียและยูเครน เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ ต้องทำใจว่า ราคาพลังงาน อาหาร และปุ๋ยยังมีอยู่ เมื่อไม่มีการกำหนดเพดาน หนี้จะสูงขึ้นไปเรื่อยๆ

นอกจากนี้ยังมีข้อตกลง เรื่องหนี้การศึกษา ในสหรัฐอเมริกา ผู้ที่จะไปเรียนมหาวิทยาลัยต้องกู้เงินเรียนกับองค์กรรัฐ เพื่อใช้ในการศึกษา แต่ในช่วงโควิด-19 เขาให้หยุดการชำระหนี้การศึกษาชั่วคราว แต่ในเดือน ส.ค. นี้ ผู้กู้เงินเรียน และบางส่วนที่ยังเป็นหนี้จะต้องเริ่มชำระหนี้ จึงทำให้กำลังซื้อของคนในอเมริกาลดลงพอสมควร ทั้งประเทศตัวเลขรวมๆ ของผู้ติดหนี้การศึกษามีจำนวนไม่น้อย

สำหรับผลกระทบโดยรวมของเศรษฐกิจสหรัฐ นายธีระชัย บอกว่า ตามปกติกระทรวงการคลังของสหรัฐจะดูแลสภาพคล่องในตลาดเงิน และตลาดทุน โดยออกพันธบัตรรัฐบาล ทั้งพันธบัตรระยะยาวและตั๋วเงินคลังระยะสั้น ซึ่งนักลงทุน และเอกชนต้องเอาเงินไปซื้อ แต่ในช่วง 4-5 เดือนที่ผ่านมาการดูดสภาพคล่องออกไม่เกิดขึ้น เพราะพันธบัตรหมดต้องรอการเจรจาให้ได้ข้อยุติก่อน จึงจะออกธนบัตรได้ใหม่

ที่ผ่านมาต้องเอาเงินฝากในบัญชีที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ออกมาใช้เรื่อยๆ กระทรวงการคลังไม่มีการดูด มีแต่ปล่อยเงินในระบบ ทำให้ 4-5 เดือนที่ผ่านมา สภาพคล่องในตลาดเงินสหรัฐฯ ค่อนข้างสูง และกระจายเกิดสภาพคล่องในตลาดทุน ตลาดหุ้นของยุโรปดีไปด้วย

นายธีระชัย กล่าวอีกว่า ในอนาคตเมื่อข้อตกลงเกิดขึ้นแล้วจะสวนทาง เวลานี้เงินในบัญชีของกระทรวงการคลังเหลือแทบจะติดดินอยู่แล้ว จึงปล่อยให้สภาพเป็นแบบนี้ไม่ได้ เมื่อข้อตกลงผ่านสภา เขาจะต้องตั้งเป้าออกพันธบัตร หรือตั๋วเงินคลัง เพื่อกู้เงินเพิ่มให้ได้ 500,000-600,000 ล้านบาท

และเมื่อคำนวณแล้ว กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ในช่วงไตรมาส 3 ที่กำลังจะมาถึง ต้องออกตราสารหนี้ 1 ล้านล้านดอลลาร์ เป็นการดูดสภาพคล่องออกไปจากตลาดเงิน ตลาดทุนของสหรัฐฯ ทำให้สภาพคล่องหดไปเรื่อย ๆ เต็มที่อาจอยู่ที่ปลายไตรมาส 3 ต้นไตรมาส 4 อาจเกิดแรงสะเทือนต่อตลาดเงิน ตลาดทุน ในสหรัฐฯ ยุโรป และกระจายไปทั่วโลก

ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล

ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล

ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล

ทั้งนี้ สกุลเงินดอลลาร์ใช้เป็นการชำระเงินระหว่างประเทศ เป็นอันดับ 1 รัฐบาลสหรัฐฯ จึงมีอภิสิทธิ์ สิทธิพิเศษ อีกทั้งเป็นตลาดใหญ่ของการขายพันธบัตรจำนวนมาก ทำให้สหรัฐฯ ยกเพดานหนี้สาธารณะขึ้นไปได้เรื่อยๆ แต่ปัญหา คือ หนี้รัฐบาลสหรัฐฯ สูงมาก เมื่อเทียบกับ GDP หรือภาระดอกเบี้ยที่รัฐบาลสหรัฐฯ ต้องจ่ายนั้นแพงเท่ากับงบฯ ของกองทัพเรือสหรัฐฯ

อดีต รมว.คลัง วิเคราะห์ว่า สำหรับนี้หนี้ของรัฐบาลเมื่อครบกำหนด อายุเฉลี่ย 3-4 ปี ในอนาคตหากดอกเบี้ยยังสูงอยู่ ภาระดอกเบี้ยที่รัฐบาลสหรัฐฯ ต้องจ่ายในแต่ละปีจะสูงมาก และจุดหนึ่งดอลลาร์จะอ่อนตัวลงคาดว่าตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป และกระทบหลายประเทศที่นำทุนสำรองของประเทศไปซื้อพันธบัตรสหรัฐฯ อาจต้องคิดใหม่ หรือกระจายไปซื้อทองคำ-คริปโตมากขึ้น ทั้งหมดมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นในระยะยาว แต่เป็นไปในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป

สำหรับผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจของไทยนั้น นายธีระชัย บอกว่า หากมองระยะยาวเมื่อเงินดอลลาร์อ่อน เงินบาทจะแข็ง ซึ่งจะกระทบการส่งออกของไทย ราคาสินค้าไทยจะแพงขึ้นเมื่อต้องแข่งขันกับประเทศที่ใช้เงินสกุลดอลลาร์

ดังนั้นเมื่อรู้แนวโน้มตั้งแต่ตอนนี้ ต้องพยายามใส่มูลค่าเพิ่มในสินค้า เช่น ปลูกข้าวพันธุ์อื่นๆ ที่ขายได้ราคาในต่างประเทศ หรือผลไม้ที่สุกอร่อย แต่ต้องหาวิธีขนส่งที่เร็วขึ้น เพื่อแข่งขันได้ในช่วงดอลลาร์อ่อน

อ่านข่าวอื่นๆ :

ปธ.ทีดีอาร์ไอชี้เปลี่ยนรัฐบาลใหม่ ส่งผลกระทบ “ทุนพวกพ้อง”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง