กรุงศรีฯ เผยเงินบาทสัปดาห์นี้ซื้อขายในกรอบ 32.90 - 33.65 คาดประชุมกนง.บ่ายนี้คงดอกเบี้ย ขณะที่ตลาดให้ความสนใจผลประชุมธนาคารกลางยุโรป ชี้ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ ความไม่แน่นอนเลือกตั้งสหรัฐฯ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจีน ยังเป็นปัจจัยผันผวนสูง
มีเสียงจากภาคเอกชน ที่อยากให้ กนง. ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง เพื่อลดภาระจากดอกเบี้ยแก่ผู้กู้ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เพื่อหวังจะลดต้นทุนทางการเงินลง สุดท้ายผลมติ กนง. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.5% ต่อปี เพราะเห็นว่าเศรษฐกิจไทยเริ่มอยู่ในทิศทางที่ฟื้นตัว
ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย โต้คำกล่าวหา "แบงก์ชาติอยู่บนหอคอยงาช้าง ไม่ฟังประชาชน" เผย DNA ของ "แบงก์ชาติ" ต้องมองภาพรวมเศรษฐกิจ และมองในระยะยาวเป็นหลัก ชี้เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคิดถึงผลข้างเคียง ไม่ใช่คิดที่จะหวังผลในระยะสั้นเพียงอย่างเดียว
เศรษฐกิจชะลอตัวลง ทำไมแบงก์ชาติไม่ลดดอกเบี้ย ? | คุยนอกกรอบ กับ สุทธิชัย หยุ่น | 29 ก.พ. 67 ทำไม "แบงก์ชาติ" ไม่ยอมลดดอกเบี้ย ตามที่รัฐบาลร้องขอ กดดัน และเรียกร้องมาตลอด พูดคุยกับ ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ???? ชมย้อนหลัง #คุยนอกกรอบกับสุทธิชัยหยุ่น | จุดยืน "ธนาคารกลาง" ตัวตน "ผู้ว่าฯ เศรษฐพุฒิ" ตอนที่ 1 ได้ที่ www.thaipbs.or.th/program/TalkOutOfTheBox/episodes/100281 #ThaiPBS #คุยนอกกรอบ
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ย้ำว่า รัฐบาลเรียกร้องให้ ธปท. ลดอัตราดอกเบี้ยแบบมีเหตุผล และอยากให้ นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าฯ ธปท. คำนึงถึงความเดือดร้อนของประชาชน มากกว่าปัญหาที่ผู้ว่าฯ ธปท. นำมาอ้างอิง 3 ข้อ ว่า การลดดอกเบี้ยก็ช่วยไม่ได้ พร้อมเตรียมหาเวลาพูดคุยกับ ผู้ว่าฯ ธปท. เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจ หลังนโยบายการเงินและการคลังไม่สอดคล้องกัน
ลูกหนี้ กยศ.ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้แล้วกว่า 5 พันคน ในจำนวนนี้ มีกลุ่มลูกหนี้ กยศ.กลุ่มหนึ่ง ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรม โดยอ้างว่า ยื่นปรับโครงสร้างหนี้ไปแล้ว แต่กลับถูกคิดดอกเบี้ยซ้ำซ้อน ขณะที่ลูกหนี้ที่ถูกบังคับคดี ต้องชำระหนี้ 2 ทาง
สภาหอการค้าไทย แนะรัฐจับเข่าคุยกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย ลดดอกเบี้ยลงภายในเดือนพฤษภาคม หลังเศรษฐกิจเติบโตช้า ด้านภาคอสังหาฯ รับ ดอกเบี้ยสูง ทำยอดปฎิเสธสินเชื่อพุ่ง กระทบผู้มีรายได้น้อยเข้าไม่ถึงที่อยู่อาศัย ขณะที่สภาพัฒน์ออกโรงกระทุ้งแบงก์ชาติครั้งแรก ให้ทบทวนนโยบายดอกเบี้ย หลังจากพบสัญญาณหนี้เสียเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ
ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ภาวะเงินเฟ้อกดดันทั่วโลก ธนาคารหลายแห่งต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ทำให้ผลตอบแทนไม่ว่าจะเป็นดอกเบี้ยพันธบัตร หรือดอกเบี้ยจากเงินฝากปรับตัวสูงขึ้น การลงทุนตลอดหุ้นในภาวะแบบนี้ยังคุ้มหรือไม่ ? ควรลงทุนอย่างไร ? ร่วมพูดคุยกับ ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร และหัวหน้าสายงานพัฒนาความยั่งยืนตลาดทุน ตลท.
ในช่วงนี้หลายประเทศเข้าสู่ภาวะ “ดอกเบี้ยขาขึ้น” รวมถึงไทยที่ถูกกดดันจากเงินเฟ้อ และจากประเทศต่าง ๆ ที่ปรับดอกเบี้ยแล้ว เมื่อมีการปรับขึ้นอัตรา "ดอกเบี้ยนโยบาย" จะส่งผลต่อผู้ที่กู้เงินซื้อบ้าน ซื้อรถ รวมไปถึงค่าผ่อนจ่ายในแต่ละงวดอย่างไรกันบ้าง ?