ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ไขความหมาย “เหตุอันควรสงสัย หรือ ความปรากฎ" ปมไม่รับรอง 71 ส.ส.

การเมือง
15 มิ.ย. 66
10:04
2,272
Logo Thai PBS
ไขความหมาย “เหตุอันควรสงสัย หรือ ความปรากฎ" ปมไม่รับรอง 71 ส.ส.
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กางความหมายคำว่า “เหตุอันควรสงสัย หรือ ความปรากฎ คืออะไร” หลังปมเอกสารหลุดจ่อแขวน 71 ส.ส.เหตุยังมีคำร้องคัดค้าน

กรณีมีเอกสารหลุดสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยังไม่รับรอง 71 ว่าที่ส.ส. หลังพบเรื่องถูกค้านผลเลือกตั้ง ซึ่งพบมีรายชื่อ ส.ส.หน้าเก่า และหน้าใหม่จาก 8 พรรคการเมืองใน 37 จังหวัด

วันนี้ (15 มิ.ย.66) สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) อธิบายข้อกฎหมาย “เหตุอันควรสงสัย หรือ ความปรากฎ คืออะไร” โดยระบุว่า คือ การได้รับทราบข้อมูลหรือหลักฐานพอสมควรจาการแจ้งเบาะแส หรือประการอื่นใด รวมถึงเหตุที่เกิดขึ้นซึ่งหน้า ว่ามีการกระทำเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฎิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งและพรรคการเมือง หรือจะมีผลให้การเลือกตั้ง มิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม หรือเป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

อ่านข่าวเพิ่ม รอลุ้น "71 ว่าที่ ส.ส." หลังเอกสารที่ประชุม กกต.หลุดว่อนโซเซียล

สำหรับว่าที่ส.ส.ทั้ง 71 รายชื่ออยู่ใน 8 พรรคการเมืองใน 37 จังหวัด แบ่งเป็นพรรคภูมิใจไทย 23 คน พรรคก้าวไกล 6 คน พรรคเพื่อไทย 17 คน พรรคพลังประชารัฐ 16 คน พรรคประชาธิปัตย์ 3 คน พรรครวมไทยสร้างชาติ 3 คน พรรคไทยสร้างไทย 2 คนและพรรค เพื่อไทยรวมพลัง 1 คน

ใบเหลือง-ส้ม-แดง-ดำ ส่งผลอย่างไรกับการเลือกตั้ง?

สำหรับการพิจารณาลงโทษผู้สมัคร ส.ส.ที่กระทำความผิดตามกฎหมายเลือกตั้งมีเครื่องมือในการลงโทษผู้กระทำความผิดมี 4 ใบ คือ แดง ส้ม เหลือง ดำมีดังนี้

ใบเหลือง

คือ อำนาจการสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยไม่พบชัดเจนว่ามีผู้ใดกระทำให้การเลือกตั้งไม่เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ

ช่วงแรก ก่อนหรือในวันเลือกตั้ง เมื่อ กกต. สืบสวนหรือไต่สวนแล้วหรือพบเห็นการกระทำที่มีเหตุอันควรสงสัย หรือ กกต. แต่ละคนพบเห็นการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำอันอาจเป็นเหตุให้การเลือกตั้ง มิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรมหรือเป็นไปมิชอบด้วยกฎหมาย กกต. หรือกรรมการมีอำนาจสั่งระงับ ยับยั้ง แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกการเลือกตั้งและสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ได้

ช่วงที่สอง เมื่อประกาศผลการเลือกตั้ง แล้วปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งใดมิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม แต่ไม่ได้ความชัดว่าเป็นการกระทำของผู้ได้รับเลือกตั้งให้ กกต. ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อพิจารณา ในกรณีที่ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการเลือกตั้งนั้นมิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรมให้ศาลสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่สำหรับเขตเลือกตั้งนั้น

อ่านข่าวเพิ่ม  ใบเหลือง-ส้ม-แดง-ดำ ส่งผลอย่างไรกับการเลือกตั้ง?

ใบส้ม

เป็นการให้อำนาจ กกต. ดึงผู้สมัครที่ไม่มีคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามออกจากการเลือกตั้งชั่วคราว เพื่อป้องกันไม่ให้เข้ามายุ่งเหยิงกับการเลือกตั้งครั้งนั้น หรือการเลือกตั้งใหม่ที่จะจัดขึ้น โดยแบ่งเป็น 2 ช่วงคือ

ช่วงแรก ก่อนวันเลือกตั้ง หากกกต. ตรวจสอบแล้วเห็นว่าผู้สมัครผู้ใดทั้งแบบแบ่งเขตและแบบบัญชีรายชื่อ ไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เนื่องจากขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ให้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาให้ถอนชื่อผู้นั้นออกจากประกาศรายชื่อผู้สมัคร

ช่วงที่สอง ถ้า กกต. สืบสวนหรือไต่สวนแล้วเห็นว่ามีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าผู้สมัครกระทำการหรือก่อให้บุคคลอื่นกระทำ สนับสนุนหรือรู้เห็นเป็นใจให้บุคคลอื่นกระทำการดังกล่าวหรือรู้ว่ามีการกระทำแล้วแต่ไม่ดำเนินการระงับการกระทำนั้นให้ กกต. สั่งระงับสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัครนั้นเป็นการชั่วคราว เป็นระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี และในกรณีที่ผู้สมัครนั้นได้คะแนนอยู่ในลำดับที่จะได้รับเลือกตั้ง ให้ กกต. สั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่

ใบแดง

หลังจากประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว ถ้ามีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่ามีผู้สมัครหรือผู้ใดกระทำการอันเป็นการทุจริตในการเลือกตั้ง หรือรู้เห็นกับการกระทำของบุคคลอื่น ให้ กกต. ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อสั่งให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้น

หากกรณีที่ศาลฎีกาพิพากษาว่าบุคคลกระทำความผิดตามที่ถูกร้อง ศาลฎีกาจะสั่งเพิกถอนสิทธิสมัคร รับเลือกตั้ง หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้นเป็นเวลา 10 ปี และหากการที่ต้องสั่งเช่นนั้นทำให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ ศาลจะต้องสั่งให้ผู้นั้นต้องรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายสำหรับการเลือกตั้งครั้งที่เป็นเหตุให้มีคำสั่งเช่นว่านั้นด้วย

ใบดำ

หลังประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว ถ้า กกต. มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า ผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือผู้ใดกระทำการทุจริตเลือกตั้งหรือรู้เห็นกับการกระทำของบุคคลอื่น ให้ กกต. ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกา เพื่อให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้นไม่มีกำหนด เสมือนกับ โทษประหารชีวิตทางการเมือง ถ้าผู้สมัครคนไหนได้ ใบดำ จะไม่มีสิทธิรับเลือกตั้งหรือสมัครรับเลือกเป็น ส.ส. ส.ว. สมาชิกท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น และไม่มีสิทธิดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดๆ ตลอดไป

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ครบ 1 เดือนเลือกตั้ง "พิธา" กลางหมอกควันการเมือง

จับกระแสการเมือง : วันที่ 14 มิ.ย.2566 "คนดังส่อวืด ส.ส. หลังเอกสาร กกต.หลุด"

เลือกตั้ง2566 : ใบเหลือง-ส้ม-แดง-ดำ ส่งผลอย่างไรกับการเลือกตั้ง?

เลือกตั้ง2566 : ใบเหลือง-ส้ม-แดง-ดำ ส่งผลอย่างไรกับการเลือกตั้ง?

อ่านให้ฟัง
 
00:00
ใบเหลือง ใบส้ม ใบแดง ใบดำ เครื่องมือลงโทษสำหรับผู้สมัคร ส.ส. ที่กระทำความผิดตามกฎหมายเลือกตั้ง ซึ่งแต่ละสีส่งผลกับการเลือกตั้งอย่างไร?

กกต. ต้องการให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความสุจริต จึงมีเครื่องมือในการลงโทษผู้กระทำความผิดมี 4 ใบ คือ แดง ส้ม เหลือง ดำ ซึ่งความหมายของแต่สี มีดังนี้

ใบเหลือง

คือ อำนาจการสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยไม่พบชัดเจนว่ามีผู้ใดกระทำให้การเลือกตั้งไม่เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ

ช่วงแรก ก่อนหรือในวันเลือกตั้ง เมื่อ กกต. สืบสวนหรือไต่สวนแล้วหรือพบเห็นการกระทำที่มีเหตุอันควรสงสัย หรือ กกต. แต่ละคนพบเห็นการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำอันอาจเป็นเหตุให้การเลือกตั้ง มิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรมหรือเป็นไปมิชอบด้วยกฎหมาย กกต. หรือกรรมการมีอำนาจสั่งระงับ ยับยั้ง แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกการเลือกตั้งและสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ได้

ช่วงที่สอง เมื่อประกาศผลการเลือกตั้ง แล้วปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งใดมิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม แต่ไม่ได้ความชัดว่าเป็นการกระทำของผู้ได้รับเลือกตั้งให้ กกต. ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อพิจารณา ในกรณีที่ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการเลือกตั้งนั้นมิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรมให้ศาลสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่สำหรับเขตเลือกตั้งนั้น

ใบส้ม

เป็นการให้อำนาจ กกต. ดึงผู้สมัครที่ไม่มีคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามออกจากการเลือกตั้งชั่วคราว เพื่อป้องกันไม่ให้เข้ามายุ่งเหยิงกับการเลือกตั้งครั้งนั้น หรือการเลือกตั้งใหม่ที่จะจัดขึ้น โดยแบ่งเป็น 2 ช่วงคือ

ช่วงแรก ก่อนวันเลือกตั้ง หาก กกต. ตรวจสอบแล้วเห็นว่าผู้สมัครผู้ใดทั้งแบบแบ่งเขตและแบบบัญชีรายชื่อ ไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เนื่องจากขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ให้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาให้ถอนชื่อผู้นั้นออกจากประกาศรายชื่อผู้สมัคร

ช่วงที่สอง ถ้า กกต. สืบสวนหรือไต่สวนแล้วเห็นว่ามีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าผู้สมัครกระทำการหรือก่อให้บุคคลอื่นกระทำ สนับสนุนหรือรู้เห็นเป็นใจให้บุคคลอื่นกระทำการดังกล่าวหรือรู้ว่ามีการกระทำแล้วแต่ไม่ดำเนินการระงับการกระทำนั้นให้ กกต. สั่งระงับสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัครนั้นเป็นการชั่วคราว เป็นระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี และในกรณีที่ผู้สมัครนั้นได้คะแนนอยู่ในลำดับที่จะได้รับเลือกตั้ง ให้ กกต. สั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่

ใบแดง

หลังจากประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว ถ้ามีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่ามีผู้สมัครหรือผู้ใดกระทำการอันเป็นการทุจริตในการเลือกตั้ง หรือรู้เห็นกับการกระทำของบุคคลอื่น ให้ กกต. ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อสั่งให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้น

หากกรณีที่ศาลฎีกาพิพากษาว่าบุคคลกระทำความผิดตามที่ถูกร้อง ศาลฎีกาจะสั่งเพิกถอนสิทธิสมัคร รับเลือกตั้ง หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้นเป็นเวลา 10 ปี และหากการที่ต้องสั่งเช่นนั้นทำให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ ศาลจะต้องสั่งให้ผู้นั้นต้องรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายสำหรับการเลือกตั้งครั้งที่เป็นเหตุให้มีคำสั่งเช่นว่านั้นด้วย

ใบดำ

หลังประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว ถ้า กกต. มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า ผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือผู้ใดกระทำการทุจริตเลือกตั้งหรือรู้เห็นกับการกระทำของบุคคลอื่น ให้ กกต. ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกา เพื่อให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้นไม่มีกำหนด เสมือนกับ โทษประหารชีวิตทางการเมือง ถ้าผู้สมัครคนไหนได้ ใบดำ จะไม่มีสิทธิรับเลือกตั้งหรือสมัครรับเลือกเป็น ส.ส. ส.ว. สมาชิกท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น และไม่มีสิทธิดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดๆ ตลอดไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง