ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

Respect My Vote ยื่น 4 ข้อส.ว. 249 คนปลดล็อกโหวต "พิธา"

การเมือง
18 ก.ค. 66
11:48
332
Logo Thai PBS
Respect My Vote ยื่น 4 ข้อส.ว. 249 คนปลดล็อกโหวต "พิธา"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
Respect My Vote ยื่นหนังสือ 4 ข้อเรียกร้อง ส.ว.249 คน และสมาชิกรัฐสภา เคารพเสียงประชาชนโหวตปลดล็อกเลือกนายกฯ รอบ 2 พรุ่งนี้ (19 ก.ค.) ชี้มติ 8 พรรคร่วมหนุน"พิธา" นายกฯคนที่ 30

วันนี้ (18 ก.ค.2566) เมื่อเวลา 10.00 น.เครือข่ายภาคประชาชนในนาม  "Respect My Vote" รวมตัวกันเพื่อยื่นหนังสือต่อนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา เรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาทุกคน เคารพผลการเลือกตั้งฟังเสียงประชาชน ในการโหวตเห็นชอบผู้ได้รับการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี ตามมติเสียงข้างมาก

น.ส.ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล หนึ่งในแกนนำ กล่าวว่า การโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีครั้งแรก เมื่อ 13 ก.ค.ที่ผ่านมา มติของรัฐสภาไม่ได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชน ที่แสดงออกในการเลือกตั้งเมื่อ 14 พ.ค.นี้ ซึ่งการเลือกตั้งปรากฎชัดเจนว่าประชาชนไว้วางใจ และต้องการความเปลี่ยนแปลง

เครือข่ายภาคประชาชนในนาม

เครือข่ายภาคประชาชนในนาม

เครือข่ายภาคประชาชนในนาม "Respect My Vote" ยื่นหนังสือต่อนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา

น.ส.ภัสราวลี กล่าวว่า ต่อมาจับมือกับ 8 พรรคร่วมรัฐบาล เพื่อจัดตั้งรัฐบาลร่วมกันด้วยจำนวน ส.ส.มากกว่ากึ่งหนึ่ง 312 เสียง เป็นเสียงที่เพียงพอต่อการจัดตั้งรัฐบาล แต่เนื่องจากบทเฉพาะกาลในมาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญ 2560 ที่กำหนดให้ ส.ว.ร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีกับส.ส.ทำให้บรรยากาศทางการเมืองที่ควรจะมีความแน่นอนกลับกลายเป็นความไม่แน่นอน

การที่ ส.ว.ส่วนใหญ่ได้ตัดสินใจ “งดออกเสียง” ทำให้จำนวนเสียงเห็นชอบ ผู้ถูกเสนอชื่อเป็นนายกฯ จาก 8 พรรคร่วมรัฐบาล ไม่เพียงพอต่อการจัดตั้งรัฐบาล ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด

อ่านข่าวเพิ่ม "จุรินทร์" ไม่ตอบปม 8 พรรคเสนอชื่อ "พิธา" เป็นนายกฯ รอบ 2

ยื่น 4 ข้อปลดล็อกโหวตนายกฯ

ดังนั้น การลงมติของ ส.ว.ที่ผ่านมา จึงเป็นส่วนหนึ่งของการขัดขวางกระบวนการประชาธิปไตย ทำให้เสียงของประชาชนไร้ความหมาย และสร้างเงื่อนไขให้เกิดสูญญากาศทางการเมือง 

ทางเครือข่ายภาคประชาชน Respect My Vote รวมตัว จึงยื่นหนังสือข้อเรียกร้องต่อประธานสภา เพื่อขอให้สมาชิกรัฐสภา เคารพเสียงประชาชน ดำเนินการเปลี่ยนผ่านประเทศ ไปสู่ประชาธิปไตย โดยมีข้อเรียกร้อง 4 ข้อ ดังนี้ 

  • ให้สมาชิกรัฐสภาดำเนินการลงคะแนนเสียงเลือกนายกฯ ให้กับผู้ที่ถูกเสนอชื่อโดยพรรคการเมืองที่สามารถรวบรวมเสียงข้างมากในสภา เพื่อยืนยันหลักการเสียงข้างมากตามระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
  • ให้สมาชิกรัฐสภาหลีกเสี่ยงการลงมติด้วยการ "งดออกเสียง" เนื่องจาก การลงมติจะเป็นผลให้เสียงข้างมาก ถูกขัดขวาง และถือเป็นการปฏิเสธผลการเลือกตั้ง มีแต่จะทำให้เกิดทางต้นทางการเมือง และทำให้ประเทศไทยอยู่ในสภาวะที่ไม่มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
Respect My Vote ขอให้ส.ว.เคารพเสียงประชาชนเปลี่ยนผ่านประเทศไปสู่ประชาธิปไตย

Respect My Vote ขอให้ส.ว.เคารพเสียงประชาชนเปลี่ยนผ่านประเทศไปสู่ประชาธิปไตย

Respect My Vote ขอให้ส.ว.เคารพเสียงประชาชนเปลี่ยนผ่านประเทศไปสู่ประชาธิปไตย

 

  • เสียงของสมาชิกวุฒิสภาจะต้องไม่ถูกนำใช้เป็นข้อต่อรองทางการเมืองให้มีนายกรัฐมนตรีคนที่ผู้มีอำนาจอยากได้ แต่ประเทศไทยต้องมีนายกรัฐมนตรีตามที่ประชาชนแสดงออกผ่านไปคูหาเลือกตั้ง
  • ขอสมาชิกรัฐสภาทุกท่านช่วยรับฟังความต้องการหรือความคิดเห็นที่แตกต่างของประชาชนด้วยความอดทนอดกลั้น ไม่แสดงท่ทีข่มขู่ คุกคาม หรือแสดงท่าทีเป็นศัตรูกับประชาชน
หลังวันที่ 19 ก.ค.นี้ ถ้ายังไม่สามารถเลือกนายกฯ ได้อีกก็จะได้เห็นพลังการส่งเสียงของประชาชน

น.ส.ภัสราวลี กล่าวว่า ส่วนข้อตกลงของ 8 พรรคร่วม ในการเสนอชื่อนายพิธา มองว่า ไม่มีปัญหา แต่การเรียกร้องขอให้ ส.ว.และส.ส.สมาชิกรัฐสภาทุกคนเคารพ และฟังเสียงประชาชนให้มาก หวังว่า ส.ว.จะไม่เป็นตัวแปรในการโหวตเลือกนายกฯ 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ลูกไม้ใต้ต้น “แพทองธาร” ว่าที่นายกฯคนที่ 30

"ชัยธวัช" ชี้ชง "พิธา" โหวตนายกฯ ซ้ำได้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง