ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"แพลงก์ตอนบลูม" บุกเกาะล้าน เปลี่ยนสีน้ำทะเล ยันไร้อันตราย

สิ่งแวดล้อม
30 ก.ค. 66
10:22
1,065
Logo Thai PBS
"แพลงก์ตอนบลูม" บุกเกาะล้าน เปลี่ยนสีน้ำทะเล ยันไร้อันตราย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมทะเลชายฝั่ง ชี้แจง "แพลงก์ตอนบลูม" หรือ "ขี้ปลาวาฬ" เกาะล้าน จ.ชลบุรี ทำให้เปลี่ยนสีน้ำทะเล ยืนยันไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ และผู้ที่ลงเล่นน้ำทะเล

วันที่ 29 ก.ค.2566 นายอภิชัย เอกวนากุล รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (รรท.อทช.) ได้รับแจ้งจากศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก (ศวทอ.) ว่าได้รับทราบข่าวจากเฟซบุ๊ก "เรารักพัทยา" กรณีปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีบริเวณหาดตาแหวน เกาะล้าน จ.ชลบุรี

อภิชัย เอกวนากุล รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

อภิชัย เอกวนากุล รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

อภิชัย เอกวนากุล รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ได้ลงพื้นที่สำรวจจุดแจ้งเหตุและบริเวณใกล้เคียง พบปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี 5 บริเวณ ได้แก่ ทางเดินเรือระหว่างเกาะล้าน-พัทยาใต้ เกาะสาก และบริเวณในพื้นที่เกาะล้าน ได้แก่หาดหน้าบ้าน หาดตาแหวน และหาดเทียน เบื้องต้นพบว่าน้ำทะเลมีสีเขียว และกลิ่นเหม็น จากการตรวจวัดคุณภาพน้ำเบื้องต้นมีค่าอุณหภูมิ 30.1-31.2 องศาเซลเซียส ความเค็ม 30.9-31.8 ppt (ส่วนในพัน) ความเป็นกรดและด่าง 8.16-8.31 และออกซิเจนละลาย 4.20-7.69 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลประเภทที่ 4 เพื่อการนันทนาการ ทั้งนี้ ยังไม่ส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำ จากการจำแนกชนิด ทราบว่าเกิดจากการสะพรั่งของแพลงก์ตอนพืชกลุ่มไดโนแฟลกเจลเลต ชนิด Noctiluca scintillans ซึ่งแพลงก์ตอนพืชชนิดนี้ไม่สร้างสารชีวพิษ

กรมทะเลชายฝั่ง ตรวจสอบ แพลงก์ตอนบลูม เกาะล้าน

กรมทะเลชายฝั่ง ตรวจสอบ แพลงก์ตอนบลูม เกาะล้าน

กรมทะเลชายฝั่ง ตรวจสอบ แพลงก์ตอนบลูม เกาะล้าน

นายอภิชัย กล่าวว่า ภายหลังตรวจสอบกรณีน้ำทะเลเปลี่ยนสีในพื้นที่ดังกล่าว พบว่าเป็น แพลงก์ตอนบลูม หรือขี้ปลาวาฬ เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ โดยใน 1 ปี จะเกิดขึ้น 2-3 วัน ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ และผู้ที่ลงเล่นน้ำทะเล

โดยสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์มาจากการปล่อยน้ำเสียลงสู่ทะเล และมักเกิดในช่วงฤดูฝน หากฝนที่ตกอย่างต่อเนื่องและมีคลื่นลมแรงเป็นเวลาหลายวันจะไปชะล้างธาตุอาหารที่อยู่ในพื้นดินบริเวณชายฝั่งลงสู่ท้องทะเล จนทำให้แพลงก์ตอนได้รับสารอาหารและเกิดการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และเมื่อออกซิเจนในน้ำทะเลหมดลง แพลงก์ตอนก็จะตายจนทำให้น้ำทะเลกลายเป็นสีต่างๆ เช่น น้ำตาล สีแดง สีเขียว หรือสีดำขุ่น

กรมทะเลชายฝั่ง ตรวจสอบ แพลงก์ตอนบลูม เกาะล้าน

กรมทะเลชายฝั่ง ตรวจสอบ แพลงก์ตอนบลูม เกาะล้าน

กรมทะเลชายฝั่ง ตรวจสอบ แพลงก์ตอนบลูม เกาะล้าน

ในการนี้ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ ศวทอ. เฝ้าติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเป็นห่วงความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว และชาวประมงในพื้นที่ ในโอกาสนี้ จึงอยากฝากพี่น้องประชาชน นักท่องเที่ยว และชาวประมง ว่าอย่าปล่อยหรือทิ้งของเสียลงแม่น้ำ ให้ช่วยกันอนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อให้คงความอุดมสมบูรณ์

กรมทะเลชายฝั่ง ตรวจสอบ แพลงก์ตอนบลูม เกาะล้าน

กรมทะเลชายฝั่ง ตรวจสอบ แพลงก์ตอนบลูม เกาะล้าน

กรมทะเลชายฝั่ง ตรวจสอบ แพลงก์ตอนบลูม เกาะล้าน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง