ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

วิเคราะห์ : "ผู้นำฝ่ายค้าน" ราคาที่ "ก้าวไกล" ต้องจ่ายกับเงื่อนไขที่ต้องแลก

การเมือง
9 ส.ค. 66
16:16
3,237
Logo Thai PBS
วิเคราะห์ : "ผู้นำฝ่ายค้าน" ราคาที่ "ก้าวไกล" ต้องจ่ายกับเงื่อนไขที่ต้องแลก
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
3 เดือนหลังเลือกตั้ง "14 พ.ค." จนถึงขณะนี้ ยังไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลและเลือกนายกฯ ได้ นอกจากความล่าช้าที่จะมีฝ่ายบริหารแล้ว ภารกิจของฝ่ายนิติบัญญัติ เช่น ร่างกฎหมายสำคัญๆ ต้องชะลอออกไป รวมถึงที่ได้มาและเข้าปฏิบัติหน้าที่อยู่ ก็ดูจะ "ผิดฝา-ผิดตัว"

เพราะพรรคก้าวไกล ในฐานะพรรคที่ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งมากที่สุด หรือเป็นอันดับ 1 นอกจากจะส่งมอบสถานะพรรคแกนนำจัดตั้งรัฐบาลให้พรรคเพื่อไทยแล้ว "พรรคก้าวไกล" กำลังจะกลายเป็นพรรคการเมืองฝ่ายค้านในสภาฯ และหากต้องการตำแหน่ง "ผู้นำฝ่ายค้าน" ก็มีราคาให้ต้องจ่าย และมีเงื่อนไขให้ต้องแลก 

ถ้าไม่มีอะไรการันตีได้และสายน้ำก็จะไหลกลับ ทั้งในฐานะพรรคอันดับ 1 ที่เป็นพรรคแกนนำจัดตั้งรัฐบาลและหัวหน้า "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" ที่ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราว เวลานี้พรรคก้าวไกล คงต้องเร่งจัดทัพให้ชัด หากจะต้องรับบท เป็นพรรคฝ่ายค้านในสภาฯ และตำแหน่ง "ผู้นำฝ่ายค้าน"

ด้วยศาลรัฐธรรมนูญที่รับคำร้อง กรณีถือหุ้นสื่อแล้วมีคำสั่งให้ "นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์" หยุดปฏิบัติหน้าที่ สส.ชั่วคราว และรับคำร้อง กรณีพรรคก้าวไกลหาเสียงด้วยการแก้กฎหมายอาญา มาตรา 112 เป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองหรือไม่ เพราะนายพิธา ยังคงทำหน้าที่ "หัวหน้าพรรคก้าวไกล" อยู่ และน่าจะเป็นจังหวะที่เหมาะแล้ว ที่พรรคก้าวไกล จะเร่งจัดทัพภายในพรรคให้เรียบร้อย หากต้องรับบท "พรรคฝ่ายค้าน" และต้องนั่งตำแหน่ง "ผู้นำฝ่ายค้าน" ตามข้อบัญญัติของรัฐธรรมนูญ

ด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 106 กำหนดไว้ว่า

หลัง ครม.เข้าบริหารประเทศ จะต้องแต่งตั้ง "สส." ผู้เป็น "หัวหน้าพรรค" ที่มีสมาชิกมากที่สุดเป็นผู้นำฝ่ายค้าน แต่พรรคนั้นต้องไม่มีสมาชิก เป็นรัฐมนตรี-เป็นประธานและรองประธานสภาฯ

แต่พรรคก้าวไกลมีนายปดิพัทธ์ สันติภาดา เป็นรองประธานสภาฯ คนที่ 1 นี่จึงเป็นราคาให้ต้องจ่ายอีกและเป็นเงื่อนไขให้ต้องปฏิบัติกันอีก

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาฯ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาฯ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาฯ

ก่อนจะไปจัดวางให้ ถูกตัว-ถูกฝา สำรวจแต่ละพรรคการเมือง เฉพาะเวลานี้คงไม่ต้องบอกว่า "เพื่อไทยกับภูมิใจไทย" ไม่ได้เข้าข่ายที่จะเป็นพรรคฝ่ายค้านอยู่แล้ว เพราะล่าสุด นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว กับ นายอนุทิน ชาญวีรกูล แถลงจับมือจัดตั้งรัฐบาลกันอยู่

ตอนนี้ก็เหลือพรรคที่อยู่ในข่าย แน่นอนว่า พรรคอันดับ 1 ในฐานะพรรคฝ่ายค้านในสภาฯ นั่นก็คือ "ก้าวไกล" ซึ่งหัวหน้าพรรค นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หยุดปฏิบัติหน้าที่ สส.ชั่วคราวอยู่ หากจะจัดทัพให้ชัดคนในพรรคนี้ ก็ชี้เป้าไปที่ "นายชัยธวัช ตุลาธน" เหมาะสมที่สุดที่จะทำให้ตรงตามสเปค เป็น สส. และเป็น หัวหน้าพรรค

ส่วน "ไทยสร้างไทย" คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ุ ลาออกไปแล้ว

"รวมไทยสร้างชาติ" ก็ยังคาบลูกคาบดอกจะเป็นรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน

"ประชาธิปัตย์" หัวหน้า-จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ก็เป็นรักษาการอยู่

แต่สำหรับ "พลังประชารัฐ" พรรคนี้ ถ้ายังไม่นับการคาดการณ์ทางการเมือง ผ่านแผนจัดตั้งรัฐบาลที่จะพลิกหลายตลบ กลายเป็นพรรคอันดับ 4 เป็นพรรคแกนนำจัดตั้งรัฐบาล แล้วเสนอชื่อ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ให้รัฐสภาโหวตเป็นนายกฯ ก็เสนอแต่งตั้งเป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาฯ ได้เลยค่ะ เข้าหลักเกณฑ์ทุกประการ แต่ก็ไม่ใช่คำตอบสุดท้าย

เพราะล่าสุดตามภาพที่เห็น ก็ยังถูกรุมล้อมถามถึงการจัดตั้งรัฐบาลและเสนอชื่อโหวตนายกฯ พร้อมไหม? ถ้าจะต้องนั่งเก้าอี้นายกฯ ซึ่ง พล.อ.ประวิตร ไม่ได้ตอบ "ไม่ฮือ-ไม่อือ" น่าจะเป็นไปตามที่ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาธิการพรรค เปิดเผยไว้ว่าหัวหน้าสั่งให้นิ่งและอยู่ที่ตั้งกันก่อน

อาจเป็นไปได้ที่ "เพื่อไทย" ยังต้องลุ้นกันว่า พรรคร่วมรัฐบาลที่ "ไม่มีก้าวไกล-ไม่มีพรรค 2 ลุง" จะประสบความสำเร็จหรือไม่ โดยเฉพาะกับเสียงโหวตนายกฯ ที่เสนอชื่อ "นายเศรษฐา ทวีสิน" แม้ล่าสุด "เพื่อไทย" จะแจ้งว่า พรรค 2 ลุง คือทางเลือกสุดท้ายก็ตาม

วิเคราะห์โดย : เสาวลักษณ์ วัฒนศิลป์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง