ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

วิเคราะห์ : "สันดอนโธมัสที่ 2" ชนวนความขัดแย้งจีน-ฟิลิปปินส์

ต่างประเทศ
9 ส.ค. 66
20:09
2,072
Logo Thai PBS
วิเคราะห์ : "สันดอนโธมัสที่ 2" ชนวนความขัดแย้งจีน-ฟิลิปปินส์
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ความขัดแย้งระหว่างจีนกับฟิลิปปินส์ทวีความตึงเครียดอีกระลอก หลัง 2 ประเทศเผชิญหน้ากันในพื้นที่พิพาททะเลจีนใต้ จุดศูนย์กลางความขัดแย้ง "สันดอนโธมัสที่ 2" สันดอนนี้มีความยาวเหนือจรดใต้เพียง 20 กม. แต่กำลังสร้างความขัดแย้งครั้งใหม่ให้กับจีนและฟิลิปปินส์

เรือหน่วยยามชายฝั่งจีนแล่นประกบและฉีดน้ำแรงดันสูงใส่เรือหน่วยยามชายฝั่งฟิลิปปินส์กลางทะเลจีนใต้เพื่อสกัดไม่ให้ลำเลียงอาหาร น้ำ และ เชื้อเพลิง ไปยังฐานปฏิบัติการของฟิลิปปินส์บนแนวสันดอนโธมัสที่ 2

เรือหน่วยยามชายฝั่งจีนฉีดน้ำแรงดันสูงใส่เรือหน่วยยามชายฝั่งฟิลิปปินส์

เรือหน่วยยามชายฝั่งจีนฉีดน้ำแรงดันสูงใส่เรือหน่วยยามชายฝั่งฟิลิปปินส์

เรือหน่วยยามชายฝั่งจีนฉีดน้ำแรงดันสูงใส่เรือหน่วยยามชายฝั่งฟิลิปปินส์

ทำให้กระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์เรียกทูตจีนประจำกรุงมะนิลาเข้าพบ เพื่อยื่นหนังสือประท้วงต่อการกระทำผิดกฎหมายและเสี่ยงอันตราย ขณะที่หน่วยยามชายฝั่งจีนเผยภาพมุมสูงให้เห็นระยะห่างของเรือ 2 ลำ เพื่อชี้ว่าจีนตอบโต้อย่างมืออาชีพและสมเหตุสมผลต่อสถานการณ์

ด้านโฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนร้องขอให้ฟิลิปปินส์ เร่งเคลื่อนย้ายฐานปฏิบัติการทางทหารผิดกฎหมายออกจากสันดอนโธมัสที่ 2 แต่สภาความมั่นคงแห่งชาติฟิลิปปินส์ไม่ยอมปฏิบัติตามข้อเรียกร้องเนื่องจากฐานปฏิบัติการทางทหารถูกต้องตามกฎหมายระหว่างประเทศ

สันดอนโทมัสที่ 2 (Second Thomas Shoal) อยู่ที่ไหน? 

สันดอนโธมัสที่ 2 อยู่ห่างจากเกาะปาลาวัน 105 ไมล์ทะเล หรือ 194 กม. เป็นส่วนหนึ่งภายในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของฟิลิปปินส์ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล หรือ UNCLOS 

อนุสัญญา UNCLOS ฉบับนี้ กำหนดให้รัฐชายฝั่งสามารถแสวงหาประโยชน์และจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติไม่เกิน 200 ไมล์ทะเล หรือ 370 กิโลเมตรจากชายฝั่ง ขณะที่จีนอ้างกรรมสิทธิ์เหนือพื้นที่ร้อยละ 90 ตามแนวเส้นประ 9 เส้น จนทับซ้อนกับพื้นที่ของ ฟิลิปปินส์ บรูไน มาเลเซีย รวมทั้งเวียดนาม

แถบสีเหลือง แสดงพื้นที่ สันดอนโทมัสที่ 2

แถบสีเหลือง แสดงพื้นที่ สันดอนโทมัสที่ 2

แถบสีเหลือง แสดงพื้นที่ สันดอนโทมัสที่ 2

แม้ว่าทั้ง 4 ประเทศจะคัดค้านการอ้างกรรมสิทธิ์ของจีนมาโดยตลอด แต่จีนยังคงเดินหน้าสร้างเกาะเทียม ฐานทัพ และแท่นขุดเจาะน้ำมัน

ฟิลิปปินส์นำเรือรบสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มาวางบนสันดอนแห่งนี้จนกลายเป็นสัญลักษณ์การอ้างกรรมสิทธิ์เหนือน่านน้ำของฟิลิปปินส์ นั่นคือ "BRP Sierra Madre" เรือรบสัญชาติอเมริกันในสภาพเก่าทรุดโทรม ถูกนำมาประจำการบนสันดอนโทมัสที่ 2 นับตั้งแต่ ปี 1999 เป็นต้นมา เรือลำนี้ประจำการในกองทัพเรือสหรัฐฯ ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 และถูกส่งมอบให้กองทัพเรือฟิลิปปินส์หลังจากสงครามเวียดนามยุติลง นาวิกโยธินฟิลิปินส์จำนวนหนึ่งบนเรือลำนี้ ต้องพึ่งพาเรือขนส่งเสบียง ขณะที่จีนมักจะส่งเรือลาดตระเวนเข้ามาเพื่อขัดขวางภารกิจส่งเสบียง

BRP Sierra Madre ถูกนำมาประจำการบนสันดอนโทมัสที่ 2 เพื่ออ้างกรรมสิทธิ์เหนือน่านน้ำของฟิลิปปินส์

BRP Sierra Madre ถูกนำมาประจำการบนสันดอนโทมัสที่ 2 เพื่ออ้างกรรมสิทธิ์เหนือน่านน้ำของฟิลิปปินส์

BRP Sierra Madre ถูกนำมาประจำการบนสันดอนโทมัสที่ 2 เพื่ออ้างกรรมสิทธิ์เหนือน่านน้ำของฟิลิปปินส์

อุณหภูมิความขัดแย้งเหนือสันดอนร้อนระอุมากขึ้นตลอด 3 ปีที่ผ่านมา หลังจากฟิลิปปินส์ยื่นประท้วงพฤติกรรมก้าวร้าวของจีนกว่า 400 ครั้ง โดยเรือหน่วยยามชายฝั่งจีนมักพยายามขัดขวางและยิงเลเซอร์ทางทหารใส่เรือหน่วยยามชายฝั่งฟิลิปปินส์บริเวณแนวสันดอนโทมัสที่ 2 ถี่ขึ้น

ทะเลจีนใต้ถูกจัดให้เป็นจุดตึงเครียดจุดหนึ่งในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และเสี่ยงต่อการจุดชนวนความขัดแย้งของชาติมหาอำนาจอย่างมาก เนื่องจากสหรัฐฯ เข้ามามีบทบาทในข้อพิพาททะเลจีนใต้มากขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าไม่ได้มีส่วนในการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือน่านน้ำในบริเวณนี้ก็ตาม ขณะที่จีนยังคงเดินหน้าขยายอิทธิพลในพื้นที่พิพาทต่อไป โดยเพิกเฉยต่อคำตัดสินของศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ เมื่อปี 2013

ความตึงเครียดครั้งใหม่อาจจุดชนวนให้สหรัฐฯ เข้ามามีบทบาทมากขึ้นหลังจากรัฐบาลของ บองบอง มาร์กอส เอนเอียงหาสหรัฐฯ มากขึ้น

วิเคราะห์โดย : พงศธัช สุขพงษ์

อ่านข่าวอื่นๆ : 

ตู้ห่าว-อดีตพระคม ไม่รอด ปปง.ยึดทรัพย์เพิ่ม รวม 335 ล้านบาท

รฟท.ชี้แจงปิดใช้งาน "ลิฟต์-บันไดเลื่อน" สายสีแดงจากเหตุหมดประกัน

สถานทูตไทยในเกาหลี เตือนคนไทยระวังมือมีดไล่แทง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง