ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

คลี่กฎหมายอาญามาตรา 22 "ทักษิณ" ติดคุกกี่ปี

การเมือง
21 ส.ค. 66
15:57
3,891
Logo Thai PBS
คลี่กฎหมายอาญามาตรา 22 "ทักษิณ" ติดคุกกี่ปี
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กำลังจะเดินทางกลับมาถึงประเทศไทยในวันพรุ่งนี้ (22 ส.ค.2566) และต้องเข้ามารับโทษตามกระบวนการยุติธรรม จากจำนวนคดีที่เหลืออยู่ 3 คดี ดังนี้ 

  • คดีทุจริตโครงการออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัว 2 ตัว ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า คดีหวยบนดิน โดยศาลฎีกาฯ พิพากษาจำคุกนายทักษิณ 2 ปี ไม่รอลงอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
  • คดีธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (Exim Bank ) อนุมัติเงินกู้สินเชื่อ 4,000 ล้านบาท โทษจำคุก 3 ปี ไม่รอลงอาญา
  • คดีให้บุคคลอื่น (นอมินี) ถือหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) แทน ศาลฎีกาฯ พิพากษาจำคุก 5 ปี ไม่รอลงอาญา แบ่งเป็นฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทที่รับสัมปทาน หรือเข้าเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ จำคุก 2 ปี ฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการเข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น เนื่องด้วยกิจการนั้นจำคุก 3 ปี

อ่านข่าว : 3 คดีทุจริตเดินหน้าหาก "ทักษิณ" Comeback

สำหรับการเริ่มนับระยะเวลาลงโทษจำคุกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 22 บัญญัติวางหลักไว้ว่า

"มาตรา 22 โทษจำคุก ให้เริ่มแต่วันมีคำพิพากษา แต่ถ้าผู้ต้องคำพิพากษาถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษา ให้หักวันที่ถูกคุมขังออกจากระยะเวลาจำคุกตามคำพิพากษาเว้นแต่คำพิพากษานั้นจะกล่าวไว้เป็นอย่างอื่น

ในกรณีคำพิพากษากล่าวไว้เป็นอย่างอื่น โทษจำคุกตามคำพิพากษาเมื่อรวมจำนวนวันที่ถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษาในคดีเรื่องนั้นเข้าด้วยแล้ว ต้องไม่เกินอัตราโทษขั้นสูงของกฎหมายที่กำหนดไว้สำหรับความผิดที่ได้กระทำลงนั้น ทั้งนี้ไม่เป็นการกระทบ กระเทือนบทบัญญัติในมาตรา 91"

ในกรณีที่จำเลยต้องโทษจำคุกตลอดชีวิต ศาลไม่นับโทษต่อจากโทษในคดีก่อนให้ การขอให้นับโทษต่อจากคดีเรื่องอื่น โจทก์ต้องแถลงให้ชัดว่าคดีเดิมศาลตัดสินลงโทษแล้ว ประกอบด้วยหลักฐาน กรณีไม่ใช่ข้อที่ศาลรู้เอง

การนับโทษต่อจากคดีก่อนคือการใช้มาตรานี้ที่ว่า "เว้นแต่คำพิพากษาจะได้กล่าวไว้เป็นอย่างอื่น" ซึ่งเป็นอำนาจศาลที่จะสั่งให้โทษจำคุกในคดีหนึ่ง ๆ เริ่มนับแต่วันใดได้

ส่วนการรับโทษจำคุกมาตรา 22 บัญญัติว่า

"โทษจำคุก ให้เริ่มแต่วันมีคำพิพากษา แต่ถ้าผู้ต้องคำพิพากษาถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษา ให้หักจำนวนวันที่ถูกคุมขังออกจากระยะเวลาจำคุกตามคำพิพากษา เว้นแต่คำพิพากษานั้นจะกล่าวไว้เป็นอย่างอื่น

ในกรณีที่คำพิพากษากล่าวไว้เป็นอย่างอื่น โทษจำคุกตามคำพิพากษาเมื่อรวมจำนวนวันที่ถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษาในคดีเรื่องนั้นเข้าด้วยแล้วต้องไม่เกินอัตราโทษขั้นสูงของกฎหมายที่กำหนดไว้สำหรับความผิดที่ได้กระทำลงนั้น ทั้งนี้ไม่เป็นการกระทบกระเทือนบทบัญญัติในมาตรา 91"

ฎีกาที่ 5548/2559 ตาม ป.อ. มาตรา 22 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "โทษจำคุก ให้เริ่มแต่วันมีคำพิพากษา แต่ถ้าผู้ต้องคำพิพากษาถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษา ให้หักจำนวนวันที่ถูกคุมขัง ออกจากระยะเวลาจำคุกตามคำพิพากษา เว้นแต่คำพิพากษานั้นจะกล่าวไว้เป็นอย่างอื่น"

ตามบทบัญญัติดังกล่าวเห็นได้ว่า ถ้าคำพิพากษาไม่ได้กล่าวเป็นอย่างอื่น โทษจำคุกต้องเริ่มนับแต่วันมีคำพิพากษา แสดงว่ากฎหมายให้เป็นดุลพินิจของศาลที่จะกำหนดวันเริ่มนับโทษจำคุกแต่วันอื่นได้เพียงแต่ต้องกล่าวไว้ในคำพิพากษาและอยู่ภายใต้มาตรา 22 วรรคสอง การนับโทษจำคุกจำเลยต่อจากคดีอื่น ย่อมกระทำได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว

ความหมายของคำว่า "วันมีคำพิพากษา"

ฎีกาที่ 1831/2557 วันมีคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22 วรรคแรก หมายถึง วันที่ศาลอ่านคำพิพากษา โดยเปิดเผยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 182 และ 188 โดยคำพิพากษาไม่จำเป็นต้องถึงที่สุด เพราะเมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้ว จำเลยย่อมต้องถูกบังคับโทษตามคำพิพากษานั้น แม้ภายหลังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาจะพิพากษาแก้โทษจำคุก ก็ไม่มีผลต่อวันเริ่มนับโทษจำคุก

ความหมายของคำว่า "เว้นแต่คำพิพากษานั้นจะกล่าวไว้เป็นอย่างอื่น

ผู้ต้องโทษจำคุกอาจจะไม่ได้รับโทษจำคุกในวันที่มีคำพิพากษาก็ได้ แต่อาจรับโทษจำคุกต่อจากโทษจำคุกในคดีก่อน ทั้งนี้ แล้วแต่ที่จะกำหนดไว้ในคำพิพากษา ตามที่มาตรา 22 วรรคแรก บัญญัติไว้ในตอนท้ายว่า "เว้นแต่คำพิพากษานั้นจะกล่าวไว้เป็นอย่างอื่น" ซึ่งถือเป็นดุลพินิจของศาล (ฎีกาที่ 281/2505, ฎีกาที่ 276/2513)

ฎีกาที่ 4656/2540 การขอให้นับโทษจำคุกของจำเลยในคดีหนึ่งต่อจากโทษคุกของจำเลยในคดีอื่น เป็นการขอให้ศาลกล่าวไว้เป็นอย่างอื่นในคำพิพากษาเกี่ยวกับการเริ่มนับโทษจำคุกของจำเลยในคดีนั้นว่าจะให้เริ่มนับแต่เมื่อใด ซึ่งหากไม่กล่าวไว้เป็นอย่างอื่น ก็จะต้องเริ่มแต่วันมีคำพิพากษา ตาม ป.อ. มาตรา 22 วรรคหนึ่ง จึงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลว่าสมควรให้นับโทษต่อหรือไม่เพียงใด

ฎีกาที่ 2469/2560 ป.อ. มาตรา 22 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า โทษจำคุกให้เริ่มแต่วันมีคำพิพากษา เว้นแต่คำพิพากษานั้นจะกล่าวไว้เป็นอย่างอื่นนั้น เป็นบทกำหนดหลักเกณฑ์ในการบังคับโทษจำคุกว่าให้เริ่มนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา โดยมีข้อยกเว้นในกรณีที่ศาลจะมีคำพิพากษาเป็นอย่างอื่น การใช้ดุลพินิจให้นับโทษจำคุกจำเลยต่อจากโทษจำคุกในคดีอื่น จึงเป็นข้อยกเว้นไม่ให้เริ่มนับแต่วันมีคำพิพากษา (และฎีกาที่ 5548/2559)

การที่โจทก์ขอให้ "นับโทษต่อ" เป็นการขอให้ศาล "กล่าวไว้เป็นอย่างอื่น" ตามความหมายของมาตรา 22 วรรคหนึ่ง

โจทก์มีอำนาจที่จะขอให้ศาลสั่งให้นับโทษจำคุกของจำเลยในคดีหนึ่งต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีอื่นได้ โดยฎีกาที่ 4656/2540 วินิจฉัยว่า ถือเท่ากับว่า "เป็นการขอให้ศาลกล่าวไว้เป็นอย่างอื่นในคำพิพากษาเกี่ยวกับการเริ่มนับโทษจำคุกของจำเลยในคดีนั้นว่าจะให้เริ่มนับแต่เมื่อใด ซึ่งหาก (ศาล) ไม่กล่าวไว้เป็นอย่างอื่น ก็จะต้องเริ่ม (นับโทษจำคุก แต่วันมีคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22 วรรคหนึ่ง จึงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลว่าสมควรให้นับโทษต่อหรือไม่เพียงใด"

ข้อสังเกต หากศาลใช้ดุลพินิจให้มีการนับโทษคดีหลังต่อจากโทษในคดีแรก โทษทั้งหมดรวมกัน อาจเกินกำหนดของมาตรา 91 ก็ได้ (ให้ดูคำอธิบายมาตรา 91)

โจทก์ต้องมี "คำขอ" ให้ศาล "นับโทษต่อ" นั้นทางอัยการเข้าของคดีนั้น ๆ จะต้องเป็นผู้ยื่นคำขอหรือคำร้องต่อศาล

ข้อสังเกต การที่ศาลจะสั่งในคำพิพากษาให้นับโทษจำคุกสองคดีติดต่อกันนั้น โจทก์จะมีคำขอ (ฎีกาที่ 992/2546) กฎหมายมิได้บัญญัติว่าการขอให้นับโทษต่อ

อ่านข่าวอื่น ๆ 

ดีลจบ 11 พรรคตั้ง "รัฐบาลเพื่อไทย" 314 เสียง "เพื่อไทย" คุม 8 กระทรวง

“ทักษิณ” กลับไทยเรื่อง “ได้” มากกว่า “เสีย”

เคลียร์รับ "ทักษิณ" เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ งดเยี่ยมญาติ 22 ส.ค.

เส้นทาง 22 ปี "ณัฐวุฒิ" เกิด-เติบโต-ยุติ บทบาท "เพื่อไทย"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง