ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

จับมือแก้ "ฝุ่นควันภาคเหนือ" ตั้งเป้าลดผลกระทบสุขภาพ-เศรษฐกิจ

ภูมิภาค
26 ส.ค. 66
14:47
1,192
Logo Thai PBS
จับมือแก้ "ฝุ่นควันภาคเหนือ" ตั้งเป้าลดผลกระทบสุขภาพ-เศรษฐกิจ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ร่วมกับหน่วยงานที่เกียวข้อง ภาคประชาชน ลงพื้นที่สำรวจ จัดทำฐานข้อมูลเพื่อบริหารจัดการไฟระดับชุมชน และขับเคลื่อนการป้องกัน แก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่น PM 2.5

คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ร่วมกับ กรมควบคุมมลพิษ,คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย, กรมควบคุมมลพิษ, หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภาคประชาชน ลงพื้นที่สำรวจ จัดทำฐานข้อมูลเพื่อบริหารจัดการไฟระดับชุมชน

และขับเคลื่อนการป้องกัน แก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในพื้นที่ปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐ (Government Innovation Lab) อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย และ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ เพื่อใช้เป็นโมเดลในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่อื่นในอนาคต

ก.พ.ร. ร่วมกับหน่วยงาน ภาคประชาชน ลงพื้นที่สำรวจ จัดทำฐานข้อมูลเพื่อบริหารจัดการไฟระดับชุมชน และขับเคลื่อนการป้องกัน แก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่น PM 2.5

ก.พ.ร. ร่วมกับหน่วยงาน ภาคประชาชน ลงพื้นที่สำรวจ จัดทำฐานข้อมูลเพื่อบริหารจัดการไฟระดับชุมชน และขับเคลื่อนการป้องกัน แก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่น PM 2.5

ก.พ.ร. ร่วมกับหน่วยงาน ภาคประชาชน ลงพื้นที่สำรวจ จัดทำฐานข้อมูลเพื่อบริหารจัดการไฟระดับชุมชน และขับเคลื่อนการป้องกัน แก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่น PM 2.5

การขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในพื้นที่ปฎิบัติการนวัตกรรมภาครัฐ (Government Innovation Lab) เริ่มจาก การลงพื้นที่บ้านม้งดอยปุย อ.เมืองเชียงใหม่ ซึ่งอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย

เพื่อติดตามการจัดทำฐานข้อมูลการบริหารจัดการไฟระดับชุมชน ในการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ร่วมกับผู้นำชุมชนและชาวบ้านในพื้นที่ โดยมีฐานข้อมูลที่สำคัญประกอบด้วย การใช้ประโยชน์จากที่ดินพื้นที่ต้นน้ำ ที่อยู่อาศัยของชุมชน ระบบน้ำเพื่อการบริหารจัดาการเชิงพื้นที่ ประเภทพืชที่เพาะปลูก

ข้อมูลช่วงเวลาการใช้ประโยชน์จากที่ดินในป่า ซึ่งทำให้เห็นข้อมูลและศักยภาพของชุมชน อันจะนำไปสู่การดูแลรักษาป่าร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและชุมชน โดยนำข้อมูลทั้งหมดไปเป็นแนวทางการขับเคลื่อนแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่ปฏิบัติการ

ได้แก่ การพัฒนาระบบฐานข้อมูลและเครือข่าย, การจัดการไฟในพื้นที่ป่า, การจัดการไฟในพื้นที่เกษตร, การจัดการไฟในพื้นที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล (คทช.), การพัฒนาระบบติดตาม, การกำหนดตัวชี้วัด, การสร้างกลไกการบริหารจัดการ และ การพัฒนาชุดความรู้และงานวิชาการเกี่ยวการจัดการไฟไร่หมุนเวียนและการสื่อสารสาธารณะ ซึ่งสามารถดำเนินการในรูปแบบเดียวกัน และแตกต่างกันตามบริบทของแต่ละพื้นที่

บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ประธานอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการ

บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ประธานอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการ

บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ประธานอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการ

นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ประธานอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการ ระบุว่า การลงพื้นที่ เนื่องจากที่ผ่านมาการแก้ไขปัญหาไฟป่า ฝุ่นควัน ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน หรือระดับกรมและกระทรวง มีข้อจำกัดด้านระเบียบและข้อกฎหมาย ทำให้แต่ละหน่วยงานทำงานกับแบบต่างคนต่างทำ ส่งผลให้การดำเนินการแก้ไขปัญหาประสบผลสำเร็จไม่เป็นไปตามเป้าหมายเท่าที่ควร

การลงพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ครั้งนี้เพื่อจัดทำฐานข้อมูลการบริหารจัดการไฟระดับชุมชน และขับเคลื่อนการป้องกัน แก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) พื้นที่ปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐ (Government Innovation Lab) เพื่อใช้เป็นต้นแบบในการทำงานแบบบูรณาการร่วมกันแก้ไขปัญหา

เนื่องจากที่ผ่านมาเกิดข้อติดขัดในการแก้ไขปัญหา ทั้งระบบแผนการดำเนินงาน ระบบงบประมาณ ระบบการทำงานข้ามกรม ข้ามกระทรวง รวมทั้งรูปแบบที่จะสร้างภาคีการทำงานร่วมกัน ระหว่างภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน ที่ยังมีข้อจำกัดและอุปสรรคหลายด้าน

ทำให้การแก้ปัญหาฝุ่นควันไม่สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ดังนั้นจึงต้องมีการพูดคุย หาข้อสรุป เพื่อสร้างระบบการทำงานร่วมกัน หากประสบผลสำเร็จก็จะใช้เป็นโมเดล ในการขยายผลการดำเนินงานในพื้นที่อื่นๆต่อไป

ภูพิชิต ช่วยบำรุง หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย

ภูพิชิต ช่วยบำรุง หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย

ภูพิชิต ช่วยบำรุง หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย

สอดคล้องกับ นายภูพิชิต ช่วยบำรุง หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ระบุว่า ดอยสุเทพเป็นพื้นที่ชีวมณฑลและแหล่งต้นน้ำสำคัญของจังหวัด ที่ผ่านมาแม้เจ้าหน้าที่จะร่วมมือกับชาวบ้านในพื้นที่ ทำการควบคุมและป้องกัน แต่ยังเกิดปัญหาไฟป่า หรือจุดความร้อนมากกว่าปีก่อน

ซึ่งปัญหาและอุปสรรคเกิดจากหลายปัจจัย เช่น การประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและองค์กร เนื่องจากแต่ละแห่งก็มีภาระหน้าที่ของตนเอง จึงประสานงานกันได้ไม่เต็มที่ นอกจากนั้นยังติดขัดด้านระเบียบข้อกฎหมาย

เมธาพันธ์ ภุชกฤษดาภา ผู้ใหญ่บ้านดอยปุย

เมธาพันธ์ ภุชกฤษดาภา ผู้ใหญ่บ้านดอยปุย

เมธาพันธ์ ภุชกฤษดาภา ผู้ใหญ่บ้านดอยปุย

ขณะที่ นายเมธาพันธ์ ภุชกฤษดาภา ผู้ใหญ่บ้านดอยปุย ระบุว่าที่ผ่านมาชาวบ้านในพื้นที่ได้ช่วยกันดูแลป่ามาโดยตลอด แต่ก็ยังเกิดไฟป่าขึ้นในพื้นที่ ซึ่งบริบทพื้นที่เป็นภูเขาสูงชันการเข้าดับไฟจึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก นอกจากนั้นยังติดขัดด้านงบประมาณและการสื่อสารระหว่างหน่วยงานยังขาดความเข้าใจในการทำงานร่วมกัน และที่สำคัญข้อจำกัดของข้อกฎหมายกับคนที่อยู่ในพื้นที่ป่าทำให้เป็นอุปสรรคในการดำเนินการทั้งการแก้ปัญหาและการพัฒนา

 ชัชวาลย์ ปัญญา รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่

ชัชวาลย์ ปัญญา รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่

ชัชวาลย์ ปัญญา รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่

นายชัชวาลย์ ปัญญา รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ระบุว่า การแก้ปัญหาที่ผ่านมายังไม่บรรลุผลได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากแต่ละหน่วยงานยังขาดการประสานงานและร่วมมือกันเพราะติดขัดด้านกฎระเบียบข้อกฎหมายของแต่ละหน่วยงาน ที่ต้องนำมาปรับปรุงแก้ไขในการแก้ปัญหาฝุ่นควันอย่างเป็นระบบในฤดูกาลต่อไป นอกจากนั้นต้องให้ความสำคัญต่อภาคเอกชนในการรับซื้อวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรจากชาวบ้านในพื้นที่ไปแปรรูปใช้ประโยชน์แทนการเผา สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านเพื่อลดการเผา โดยจังหวัดเชียงใหม่ตั้งเป้าลดปัญหาฝุ่นควันลงจากปีที่ผ่านมาอย่างน้อยร้อยละ 50

ผศ.ดร.พลภัทร เหมสุวรรณ นักวิชาการด้านภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผศ.ดร.พลภัทร เหมสุวรรณ นักวิชาการด้านภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผศ.ดร.พลภัทร เหมสุวรรณ นักวิชาการด้านภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผศ.ดร.พลภัทร เหมสุวรรณ นักวิชาการด้านภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระบุว่า สถานการณ์ฝุ่นควันร้อยละ 99 เกิดจากการเผาในที่โล่งโดยฝีมือมนุษย์ โดยจุดความร้อนกว่าร้อยละ 90 เกิดขึ้นในพื้นที่ป่าสงวนและป่าอนุรักษ์ ซึ่งมีกฎหมายดูแล พอวิเคราะห์การเกิดจุดความร้อนพบว่าไฟป่าส่วนใหญ่เกิดขึ้นใกล้กับชุมชนที่อาศัยอยู่ในป่าหรือพื้นที่เกษตรบนพื้นที่สูง ดังนั้นจึงต้องมีการบริหารจัดการเชื้อเพลิงที่เหมาะสมกับห้วงเวลาเพื่อลดปัญหาการสะสมของฝุ่นควัน นอกจากนั้นยังมีไฟที่เกิดจากป่าจริงๆ ที่ยากต่อการควบคุม ดังนั้นทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังในการป้องกันและใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมช่วยในการดำเนินการ นอกจากนั้นยังตั้งความหวังไว้กับรัฐบาลชุดใหม่ ในการดำเนินการแก้ปัญหาในระดับนโยบาย เนื่องจากปัญหาฝุ่นควันเป็นปัญหาที่คุกคามทั้งด้านสุขภาพและเศรษฐกิจ

ปิ่นศักดิ์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ

ปิ่นศักดิ์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ

ปิ่นศักดิ์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ

นายปิ่นศักดิ์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ระบุว่า ปัญหามลพิษในอากาศ เกิดจากหลายปัจจัย อาทิ การเผาไหม้ของเครื่องยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม การเกษตร และไฟป่า ซึ่งต้องมีต้นแบบในการแก้ไขที่ดีโดยอาศัยความร่วมมือ ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน โดยเฉพาะการจัดการเชื้อเพลิงจากการเกษตร การแปรรูปเชื้อเพลิงให้เป็นพลังงานและเป็นรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ ซี่งที่ผ่านมากลไกเหล่านี้ยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่ ซึ่งทุกภาคส่วนต้องดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อให้เกิดความยั่งยืน โดยปี 2567ตั้งเป้าลดปัญหาฝุ่นควันในประเทศลงจากเดิมร้อยละ 20-30

โดยข้อมูลจากการลงพื้นที่ หัวใจที่สำคัญในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหา PM 2.5 ในพื้นที่ปฏิบัติการ คือ การมีฐานข้อมูลที่มีการบูรณาการ วิเคราะห์ เชื่อมโยง และใช้ประโยชน์จากข้อมูลร่วมกัน และการสร้างกลไกการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ได้แก่ ภาครัฐ เอกชน ประชาชน NGO และภาควิชาการ เพื่อร่วมดูแลรักษาอนุรักษ์พื้นที่

โดยเฉพาะกลไกมาตรการทางด้านเศรษฐศาสตร์ เป็นแรงจูงใจที่สำคัญ เช่น PES คาร์บอนเครดิต และกลไกการอุดหนุนงบประมาณ โดยมีพันธะสัญญา หลังจากที่ผ่านมาประสบปัญหาในการเปิดเผยเรื่องข้อมูลในพื้นที่ปฎิบัติการ คือ ไม่มีฐานข้อมูล ไม่มีงบประมาณในการดำเนินการ นโยบายการเปิดเผยข้อมูลจากส่วนกลางยังไม่ลงไปยังระดับพื้นที่ และระดับของการเปิดเผยข้อมูลยังไม่ชัดเจน

โดยประโยชน์ของการมีฐานข้อมูลในพื้นที่ปฏิบัติการ จะทำให้หน่วยงานต่างๆ สามารถร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหา PM 2.5 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ภาครัฐสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อการวางแผนจัดการ PM 2.5 เกิดการสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนในการเชื่อมโยงและจับคู่ (Matching) ความต้องการของภาคธุรกิจในการหาตลาดรับซื้อสินค้าที่มีการปรับเปลี่ยนจากชุมชน การซื้อขายคาร์บอน การสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงพืช

การขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในพื้นที่ปฎิบัติการนวัตกรรมภาครัฐ (Government Innovation Lab) สำนักงาน ก.พ.ร.ร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่ จัดประชุมที่ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย อ.ก.พ.ร. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สกสว. GISTDA สถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ มูลนิธิธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

พร้อมด้วย คณะทำงานบริหารจัดการทรัพยากรดิน น้ำ ป่า เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาพื้นที่อำเภอแม่แจ่มอย่างครบวงจรและยั่งยืน คณะทำงานป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 คณะทำงานป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย

สรุปสาระการประชุม ดังนี้

1.สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมมือกับจังหวัดเชียงใหม่ในการจัดทำฐานข้อมูล Big Data เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหา PM 2.5ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยมีโครงสร้างฐานข้อมูล Big Data ที่สำคัญ ได้แก่ 1) ข้อมูลสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 และมลพิษทางอากาศ 2) ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาและสภาพพื้นที่ 3) ข้อมูลการป้องกันและด้านผลกระทบ เยียวยา 4) ข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ ฯลฯ เพื่อสังเคราะห์ข้อมูลให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐและชุมชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน

2. ที่ประชุมได้เสนอฐานข้อมูลที่ควรเพิ่มเติมระดับชุมชน เช่น กติกาชุมชน ขอบเขตหมูบ้าน การถ่ายโอนภารกิจของกรมป่าไม้ไปยังท้องถิ่น แผนและขอบเขตของป่าชุมชน ข้อมูลการเพาะปลูก แปลงที่เผา ความยากจนในพื้นที่ และกิจกรรมความร่วมมือที่ภาคเอกชนจะเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ เมื่อนำมาวิเคราะห์ร่วมกัน จะทำให้เห็นโอกาสในการพัฒนามากยิ่งขึ้น 

3. สำนักงาน ก.พ.ร. มีการกำหนดตัวชี้วัดร่วม (Joint KPIs) เรื่องการแก้ไขปัญหา PM 2.5 ให้จังหวัดเป้าหมายดำเนินการ ทั้งนี้ ในระดับพื้นที่ อาจมีการเพิ่มเติมการวัดในเชิงปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต ผลลัพธ์เพิ่มเติม ตามบริบทของพื้นที่ เพื่อผลักดัน Joint KPIs เรื่องนี้บรรลุผลสัมฤทธิ์

4. สกสว. มีการพัฒนาชุดความรู้ในแผนงานวิจัยเพื่อการแก้ไขปัญหา และตอบสนองภาวะวิกฤติเร่งด่วนของประเทศ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ประกอบด้วย งานวิจัยด้านเกษตร ป่าไม้ คมนาคม หมอกควันข้ามแดน ระบบข้อมูลเพื่อการตัดสินใจเรื่อง PM 2.5

5. ภาคเอกชนมีบทบาทสำคัญที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา PM 2.5 ของจังหวัดเชียงใหม่ เช่น การบริหารจัดการเชื้อเพลิง การรับซื้อสินค้าเกษตร การส่งเสริมการท่องเที่ยว เช่น กฟผ. เข้ามาช่วยในเรื่องการบริหารจัดการเชื้อเพลิง

โดยมีการปรับเปลี่ยนเชื้อเพลิงไปเป็นพลังงานชีวมวลมากขึ้น ด้วยการรับซื้อเศษวัสดุ เศษวัชพืชมาใช้ประโยชน์ การปรับเปลี่ยนจากพืชเชิงเดี่ยวเป็นพืชผสมผสาน รวมถึงการดำเนินการเรื่อง Payment for Ecosystem Service เช่น กลุ่มธุรกิจการท่องเที่ยวและการโรงแรม กลุ่มธุรกิจรับซื้อสินค้าเกษตร หอการค้า ฯลฯ

(red arrow right) NEXT STEP แนวทางในการดำเนินการต่อไป ดังนี้ 1) ปรับปรุงองค์ประกอบในคณะทำงานฯ ของ ทั้ง 2 คณะ โดยเพิ่มผู้แทนกองทัพภาคที่ 3 ผู้แทนภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเพิ่มคณะทำงาน Big Data 2) นัดประชุมคณะทำงานฯ ทั้ง 2 พื้นที่ ในช่วงปลายเดือนกันยายน โดยมีประเด็นการประชุมหารือเกี่ยวกับบทบาทของภาคเอกชนในการร่วมแก้ไขปัญหา PM 2.5 และแนวทางการขับเคลื่อนของทั้ง 2 คณะต่อไป

ก.พ.ร. ร่วมกับหน่วยงาน ภาคประชาชน ลงพื้นที่สำรวจ จัดทำฐานข้อมูลเพื่อบริหารจัดการไฟระดับชุมชน และขับเคลื่อนการป้องกัน แก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่น PM 2.5

ก.พ.ร. ร่วมกับหน่วยงาน ภาคประชาชน ลงพื้นที่สำรวจ จัดทำฐานข้อมูลเพื่อบริหารจัดการไฟระดับชุมชน และขับเคลื่อนการป้องกัน แก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่น PM 2.5

ก.พ.ร. ร่วมกับหน่วยงาน ภาคประชาชน ลงพื้นที่สำรวจ จัดทำฐานข้อมูลเพื่อบริหารจัดการไฟระดับชุมชน และขับเคลื่อนการป้องกัน แก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่น PM 2.5

ที่ผ่านมา สถานการณ์ฝุ่นควัน ในพื้นที่หลายจังหวัดในภาคเหนือ ต่างได้รับผลกระทบอย่างหนัก คุณภาพอากาศติดอันดับแย่ที่สุดในระดับโลกติดต่อกันหลายวัน ส่งผลต่อสุขภาพประชาชนและระบบเศษฐกิจ โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว การแก้ไขปัญหาในปีนี้ทุกภาคส่วนจึงต้องเตรียมพร้อมบูรณาการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างเต็มที่เพื่อลดผลกระทบ

รายงาน : สมคราญ เครือบุญ ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอส

ข่าวที่เกี่ยวข้อง