หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวบรวมลิงก์เว็บไซต์ที่มีทั้งเว็บไซต์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ฐานข้อมูลหนังสือหายากและเอกสารโบราณ ที่ค้นหาได้ทุกที่ทุกเวลา เข้าถึงได้ง่าย ๆ แค่ปลายนิ้วคลิกนับพันเล่ม แต่ละฐานข้อมูลได้รวบรวมเอกสารที่เป็นองค์ความรู้จากหลายยุคหลายสมัย อัดแน่นด้วยหนังสือดีและหายาก รวมไปถึงภาพประกอบเช่นกัน บางเล่มหาซื้อไม่ได้แล้ว
สำนักงานวิทยทรัพยากร หอสมุดกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แหล่งข้อมูลหนังสือหายากที่มีประวัติยาวนาน มีหนังสือเก่าหายากกว่า 20,000 เล่ม ที่ล้วนมีคุณลักษณะพิเศษ มีประวัติการพิมพ์ที่สำคัญ มีเนื้อหาสาระที่อาจหาจากต้นฉบับอื่นไม่ได้แล้ว อาทิ เอกสารต้นฉบับตัวเขียน สมุดไทย, ราชกิจจานุเบกษาฉบับแรก - พ.ศ. 2487 (สมัยรัชกาลที่ 8), หนังสือที่จัดพิมพ์ในโอกาสพิเศษต่าง ๆ, หนังสืองานศพของบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ หรือมีเนื้อหาภายในสำคัญต่อประวัติศาสตร์ไทย และ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 6 รัชกาลที่ 9 เป็นต้น
ขณะที่ ฐานข้อมูลหนังสือหายาก สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี หนังสือหายาก สิ่งพิมพ์หายากในอีสานใต้และภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ยกตัวอย่างเช่น สืบสานตำนาน เมืองเกษมสีมา หมู่บ้านที่เก่าแก่และเป็นชุมชนมาตั้งแต่โบราณกาล กับตำนานเล่าขานกันว่า เมื่อครั้งอดีตกาลเมืองสาเกษหรือศรีสะเกษได้เกิดความแห้งแล้งอย่างรุนแรงนับหลาย ๆ ปี คือฝนฟ้าไม่ตก 7 ปีปลาย 7 เดือน กับอีก 7 วัน ติดต่อกัน แต่เรื่องราวจะเป็นอย่างไรอยากให้ลองไปติดตามกัน
หอพระสมุดวชิรญาณ เป็นชื่อหอสมุดหลวง แต่เดิมเป็นหอสมุดของพระบรมวงศ์ ก่อนที่จะปรับไปสู่หอสมุดสาธารณะและกลายเป็นหอสมุดแห่งชาติในปัจจุบัน โครงการห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนเอกสารต้นฉบับสำคัญ ๆ ไว้เพื่อเก็บรักษา เผยแพร่ และเป็นแหล่งข้อมูลในการอ้างอิงค้นคว้า ซึ่งฐานข้อมูลนี้จะมีเอกสารตัวบนต้นฉบับต่าง ๆ เช่น บทละครรามเกียรติ์สมัยรัชกาลที่ 1 ประชุมพงศาวดาร ไปจนถึงพระราชหัตถเลขาและบันทึกสำคัญต่าง ๆ
ข้อมูลเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร เป็นระบบฐานข้อมูลจารึก คัมภีร์ใบลาน หนังสือสมุดไทย และตู้พระธรรม เป็นฐานข้อมูลสืบค้นเกี่ยวกับเอกสารโบราณ อยู่ในความรับผิดชอบของกลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการดูแลรักษา ลงทะเบียน จัดเก็บ และให้บริการเอกสารโบราณที่มีอายุนับ 100 ปีขึ้นไป
ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นข้อมูลจารึกในประเทศไทย จำนวน 179 รายการ ผ่านทาง manuscript โดยข้อมูลประเภทจารึก ผู้ใช้บริการสามารถดาวน์โหลดข้อมูลได้ในรูปแบบไฟล์ pdf ข้อมูลประเภทหนังสือสมุดไทยและคัมภีร์ใบลาน ผู้ใช้บริการสามารถจดเลขทะเบียนเอกสาร เพื่อขอใช้บริการอ่านต้นฉบับหนังสือสมุดไทยและคัมภีร์ใบลาน ได้ที่ห้องบริการเอกสารโบราณ กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ
นอกจากนี้ ยังมีการเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับเอกสารโบราณ ได้แก่ คู่มือการอ่านถ่ายถอดอักษรขอม คู่มือการอ่านถ่ายถอดอักษรธรรมอีสาน คู่มือการอ่านถ่ายถอดอักษรไทยน้อย คู่มือสำรวจ จัดหา รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศเอกสารโบราณประเภทจารึก โดยผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดหนังสือ ในรูปแบบไฟล์ pdf ได้เช่นเดียวกับข้อมูลประเภทจารึก
อย่างไรก็ตาม ฐานข้อมูลหนังสือหายากและเอกสารโบราณจากบางแห่ง มีข้อจำกัดว่าต้องลงทะเบียนด้วยอีเมล์ก่อนเข้าไปอ่านข้อมูลได้
1. หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ TU Digital Collections คลิกที่นี่
2. หนังสือหายาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คลิกที่นี่
3. ห้องสมุดดิจิตอล หอสมุดวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร คลิกที่นี่
4. คลังสารสนเทศดิจิทัลมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คลิกที่นี่
5. ฐานข้อมูลหนังสือหายาก สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี คลิกที่นี่
6. หอสมุดวชิรญาณ คลิกที่นี่
7. โครงการหนังสือเก่าชาวสยาม (ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร) คลิกที่นี่
8. เอกสารโบราณ ฐานข้อมูลจารึกแห่งประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) คลิกที่นี่
9. ระบบคลังข้อมูลดิจิทัลทางมรดกศิลปวัฒนธรรม กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม คลิกที่นี่
10. ห้องสมุดดิจิทัล หอสมุดแห่งชาติ คลิกที่นี่
11. ข้อมูลเอกสารโบราณ (Manuscript Collection) หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร คลิกที่นี่
12. ระบบสืบค้นเอกสารจดหมายเหตุ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร คลิกที่นี่
13. British Library’s Digitised Manuscripts คลิกที่นี่
14. Library of Congress คลิกที่นี่
15.Digital Public Library of America คลิกที่นี่
16. Kyoto University Rare Materials Digital Archive คลิกที่นี่