ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

โค้งสุดท้าย! ”เมืองโบราณศรีเทพ” ก่อนขึ้นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่

ไลฟ์สไตล์
4 ก.ย. 66
10:39
6,245
Logo Thai PBS
โค้งสุดท้าย! ”เมืองโบราณศรีเทพ” ก่อนขึ้นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
นับถอยหลังในเดือนก.ย.นี้ คนไทยต้องลุ้นกันว่ายูเนสโก จะรับรอง ”เมืองโบราณศรีเทพ” เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่หรือไม่ หลังจากกรมศิลปากร ใช้เวลาบูรณะขุดแต่งเป็นระยะเวลานานกว่า 10 ปี

ไม่น่าเชื่อว่าจะหาจนเจอ นี่คือภาพก่อนการค้นพบของ "อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ" จ.เพชรบูรณ์" ที่ถูกซ่อนเอาไว้มานานกว่า 1,700 ปี ที่กำลังจะได้ขึ้นเป็นมรดกโลกจาก UNESCO

ส่วนภาพนี้คือ เขาคลังนอก สันนิษฐานว่าเป็นศาสนสถานขนาดใหญ่ รองจากอินเดียกรมศิลปากร ได้ใช้เวลาในการขุดแต่งบูรณะและศึกษาเป็นช่วงเวลายาวนานหลายสิบปี พบโครงสร้างภายใน และได้ทำการขุดเอาดินที่ทับถมออกปรากฏเป็นโบราณสถานที่มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์และมีขนาดใหญ่กว่าโบราณสถานอื่นๆ ที่อยู่ร่วมสมัยกันอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประเทศไทย

เขาคลังนอก สันนิษฐานว่าเป็นศาสนสถานขนาดใหญ่ รองจากอินเดียกรมศิลปากร

เขาคลังนอก สันนิษฐานว่าเป็นศาสนสถานขนาดใหญ่ รองจากอินเดียกรมศิลปากร

เขาคลังนอก สันนิษฐานว่าเป็นศาสนสถานขนาดใหญ่ รองจากอินเดียกรมศิลปากร

ก่อนจะนำข้อมูลเสนอให้กับองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) พิจารณาขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก และในที่สุดประเทศไทยได้เสนอ ให้เป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่ ในชื่อ “เมืองโบราณศรีเทพ” โดยจะได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการในเดือนก.ย.นี้  

ล่าสุดการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้จัดงานมหัศจรรย์ แสงสี ณ ศรีเทพ เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยว ณ ศรีเทพสู่มรดกโลก THE MAGICAL SI THEP to World Heritage” กระตุ้นการท่องเที่ยวพร้อมเสริมแรงหนุนอุทยานประวัติศาสตร์ “ศรีเทพ” สู่มรดกโลก

นักท่องเที่ยวแต่งกายย้อนยุคชมเมืองโบราณศรีเทพ

นักท่องเที่ยวแต่งกายย้อนยุคชมเมืองโบราณศรีเทพ

นักท่องเที่ยวแต่งกายย้อนยุคชมเมืองโบราณศรีเทพ

นักเที่ยวหลายคน อยากร่วมย้อนประวัติศาสตร์แต่งกายย้อนยุคสวมชุดไทย ถ่ายรูปกับเขาคลังนอก หลายคนบอกว่า ไม่อยากให้ไทยพลาด อยากให้เมืองศรีเทพเป็นมรดกโลกแห่งที่ 7 ของไทย

โดยเฉพาะชาวศรีเทพเอง ที่บอกว่าแทบไม่น่าเชื่อที่ภูเขากลางหมู่บ้านจะกลายเป็นศาสนสถานขนาดใหญ่ในปัจจุบันนี้

นักท่องเที่ยวชมเมืองโบราณศรีเทพ ก่อนขึ้นทะเบียนมรดกโลกในเดือนก.ย.

นักท่องเที่ยวชมเมืองโบราณศรีเทพ ก่อนขึ้นทะเบียนมรดกโลกในเดือนก.ย.

นักท่องเที่ยวชมเมืองโบราณศรีเทพ ก่อนขึ้นทะเบียนมรดกโลกในเดือนก.ย.

ก่อนหน้านี้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในเขตโบราณสถาน มีความกังวลใจว่าทำให้สามารถใช้พื้นที่ได้ ล่าสุด นางคำพัน คำศรี นายก อบต.นาสนุ่น อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูร บอกว่า ใครที่มีเอกสารสิทธิสามารถที่จะทำธุรกรรมต่างๆได้ แต่หากจะก่อสร้างอะไร ก็ต้องขอความเห็นชอบจากกรมศิลปกรก่อน

ส่วนใครที่ไม่มีเอกสารสิทธิ ก็ห้ามกระทำการใดๆ เนื่องจากว่าในพื้นที่ใกล้เคียงอาจจะมีโบราณวัตถุหลงเหลืออยู่

ขณะที่คณะกรรมการติดตามทวงคืนโบราณวัตถุไทย ระบุว่า ขณะนี้ โบราณวัตถุจากเมืองโบราณศรีเทพ ที่ถูกลักลอบขนย้ายออกไป มีประมาณ 7-8 ชิ้นด้วยกันที่กำลังเสนอเข้าสู่คณะกรรมการชุดใหญ่ เพื่อเร่งทวงคืนจากพิพิธภัณฑ์ต่างๆในสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังเสนอให้มีการทวงคืนกลับนักสะสมของเก่าที่อยู่ภายในประเทศไทยด้วย

อ่านข่าว “ดร.พชรพร” กับเทคโนโลยี “ไลดาร์” ค้นหาอดีตที่ “เมืองโบราณศรีเทพ

ข้อกังวลชาวบ้าน หากศรีเทพเป็นมรดกโลก

นี่เป็นแผนที่เมืองโบราณศรีเทพ บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพที่รัฐบาลไทยเสนอต่อยูเนสโก ให้พิจารณาเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมเมื่อเดือนก.พ. 2564

มีการตั้งข้อสังเกตว่า เขต Core Zone หรือพื้นที่อนุรักษ์เข้มข้นบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ได้ยึดแนวเขตตามประกาศปี 2506 ของกรมศิลปากร ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ครอบคลุมเนื้อที่ประมาณ 2,887 ไร่

ซึ่งหากนำมาเทียบกับแผนที่ในปัจจุบัน พบว่า แนวเขตนี้ซ้อนทับกับที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน และ พื้นที่วัดบางส่วนในตำบลศรีเทพ ซึ่งอยู่ติดกับเขตโบราณสถาน

เขต Core Zone หรือพื้นที่อนุรักษ์เข้มข้นบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

เขต Core Zone หรือพื้นที่อนุรักษ์เข้มข้นบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

เขต Core Zone หรือพื้นที่อนุรักษ์เข้มข้นบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

ปัญหาคือ หากศรีเทพได้เป็นมรดกโลก การก่อสร้างอาคารชั่วคราว และถาวร การเกษตรกรรม พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม การปรับพื้นที่ เปลี่ยนแปลงภูมิประ เทศ และการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินจะกลายเป็นเรื่องต้องห้าม ตามแผนการจัดการพื้นที่มรดกโลกที่รัฐบาลไทยนำเสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลก ยูเนสโก

เรื่องนี้ทำให้ชุมชนรอบๆ ออกมาร้องเรียนสื่อมวลชนเมื่อปี 2564 ชาวบ้านซึ่งมีที่ดินอยู่ในเขต Core Zone กังวลว่า พวกเขาจะสูญเสียที่ดิน และต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเขียนแผนจัดการพื้นที่มรดกโลกขึ้นใหม่

โดยเน้นย้ำว่าไม่ได้ต่อต้านการขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เบื้องต้นประเมินว่ามีชาวบ้านกว่า 200 คนได้รับผลกระทบ และ 35 คน จะกลายเป็นผู้ไร้ที่ดินทันที เนื่องจากถือครองใบ ภทบ.5

ย้อนหลังไปในเดือนต.ค.2562 พบว่า ขั้นตอนการทำแผนจัดการพื้นที่มรดกโลกเมืองโบราณศรีเทพ ก็มีปัญหาเช่นกัน เมื่อกองจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรแห่งชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ถูกตั้งคำถามจากชุมชนถึงความไม่ชัดเจนของแนวเขต CORE ZONE พื้นที่อนุรักษ์เข้มข้น และ Buffer Zone หรือแนวเขตกันชน

ภาพก่อนการค้นพบของ

ภาพก่อนการค้นพบของ

ภาพก่อนการค้นพบของ "อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ" จ.เพชรบูรณ์" ที่ถูกซ่อนเอาไว้มานานกว่า 1,700 ปี

จนทำให้ชาวบ้านเข้าใจว่าแนวเขตอนุรักษ์เข้มข้น ไม่เกินจากแนวถนน รอบคูน้ำโบราณของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ทั้งที่ตามข้อเท็จจริงแล้ว พื้นที่อนุรักษ์เข้มข้นซึ่งห้ามมีสิ่งก่อสร้างและกิจกรรมมนุษย์ ยึดตามแผนที่ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี 2506

นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ให้ข้อมูลว่า แนวเขต Core Zone และ Buffer Zone ในแผนบริหารจัดการพื้นที่มรดกโลกศรีเทพ ไม่เปลี่ยน แปลงไปจากแผนที่เสนอไปเมื่อ 2 ปีก่อน และถ้าหากศรีเทพได้เป็นมรดกโลก มีแผนซื้อคืนที่ดินของชาวบ้าน ในส่วนที่จะประกาศเป็นพื้นที่ Core Zone ซึ่งล่าสุดทำความเข้าใจกับชุมชนแล้ว คาดว่าไม่มีปัญหาตามที่หลายฝ่ายกังวล

ทางไทยพีบีเอส สอบถามไปยังนายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร และนายบวรเวท รุ่งรุจี ประธานคณะทำงานขับเคลื่อนการนำเสนอเมืองโบราณศรีเทพเป็นมรดกโลก ทั้งคู่ยืนยันว่า ข้อกังวลของชาวบ้านว่าอาจสูญเสียที่ดิน หากศรีเทพได้เป็นมรดกโลก จะไม่เกิดขึ้น

อ่านข่าว

รู้จัก “อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ” ก่อนเป็นมรดกโลก

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง