วันนี้ (28 ก.ย.2566) พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มาจากการเลือกตั้ง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Aek Angsananont เกี่ยวกับการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติว่า เมื่อวานนี้ (27 ก.ย.) เป็นการประชุม ก.ตร.ครั้งสำคัญที่ต้องบันทึกไว้ การประชุมมีวาระการแต่งตั้ง ผบ.ตร.โดยนายกรัฐมนตรีเสนอชื่อ ผบ.ตร.ให้ ก.ตร.พิจารณาให้ความเห็นชอบ เป็นครั้งแรก
ผลการประชุม ก.ตร.มีมติเสียงข้างมาก (9 ต่อ1 งดออกเสียง 2) เห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอให้ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล เป็น ผบ.ตร.คนต่อไป
อ่านข่าว "พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล" ผงาด ผบ.ตร.คนที่ 14
พล.ต.อ.เอก ระบุว่า ได้ทำหน้าที่ ด้วยการอภิปรายแสดงความคิดเห็นถึง บริบทกฏหมายการแต่งตั้งตำรวจ เริ่มตั้งแต่กฎหมายรัฐธรรมนูญ 2560 ฉบับปฎิรูปประเทศ ด้านกระบวนการยุติธรรมให้ปรับปรุงกฎหมายบริหารงานบุคคลของข้าราชการตำรวจให้เกิดประสิทธิภาพ มีหลักประกันว่าตำรวจจะได้รับความเป็นธรรมในการแต่งตั้งโยกย้าย การแต่งตั้งต้องคำนึงถึงอาวุโส และความรู้ความสามารถประกอบกัน เพื่อให้ตำรวจปฏิบัติหน้าที่ได้อิสสระ ไม่ตกอยู่ใต้อาณัติของบุคคลใด
อ่านข่าวจับกระแสการเมือง : วันที่ 27 ก.ย.66 "บิ๊กต่อ" นั่ง "ผบ.ตร." คนที่ 14 (ไม่) จบศึกสีกากี
นอกจากนี้ พ.ร.บ.ตำรวจ 2565 (ฉบับปฎิรูปตำรวจ) ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ โดยระบุเหตุผลและความจำเป็นเพื่อให้การบริหารงานบุคคลเป็นไปตามระบบคุณธรรม มีมาตราการป้องกันมิให้ผู้ใดใช้อำนาจหรือกระทำการโดยมิชอบ การแต่งตั้งคำนึงถึงอาวุโส และความรู้ความสามารถ ให้ความสำคัญของอาวุโสในการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจในทุกระดับ
กฎหมายตำรวจฉบับนี้มีบทบัญญัติในหลายมาตรา (ม.60 ม.87 ม.88 ม.150 ) ที่ทำให้เห็นเจตนารมณ์ของกฎหมาย มุ่งเน้นในเรื่องระบบคุณธรรม และการคุ้มครองระบบคุณธรรม ตลอดจนกำหนดโทษทั้งทางวินัยและทางอาญา
อ่านข่าว เจ้าของรหัส “พิทักษ์ 1” พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร.คนที่ 14
พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ว่าที่ผบ.ตร.คนใหม่ ในระหว่างการคัดเลือกจาก ก.ตร.
พล.ต.อ.เอก ระบุอีกว่า ได้โหวตไม่เห็นด้วยเป็นเสียงข้างน้อย ด้วยเหตุผลที่ได้ขอบันทึกไว้ในรายงานการประชุม ว่า
การคัดเลือกแต่งตั้งผบ.ตร.ไม่เป็นหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนดไว้
โดยขอยืนยัน ได้แสดงความคิดเห็นด้วยบริสุทธิ์ใจ ใช้วิจารณญาณและดุลพินิจ ภายใต้กรอบของกฎหมาย ไม่ยอมตกอยู่ภายใต้อาณัติของบุคคลใด เพื่อประ โยชน์ขององค์กรตำรวจและประเทศชาติบ้านเมือง
ขอกราบขอบพระคุณผู้ใหญ่ที่เคารพอย่างยิ่ง ที่ได้กรุณาเข้าใจในการโหวตของผม ขอบพระคุณอดีตผู้บังคับบัญชา และทุกท่าน ที่ได้สนับสนุนและให้กำลังใจ
จะทำหน้าที่ตามที่ได้ให้คำมั่นสัญญาไว้ ปกป้องศักดิ์ศรี ตำรวจดีของประชาชนต่อไป
อ่านข่าว16 ก.ตร.ใครบ้างเลือก "บิ๊กต่อ"นั่งผบ.ตร.คนใหม่
รู้จัก พล.ต.อ.เอก เจ้าของฉายามิสเตอร์คลีน
สำหรับ พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ อดีต รอง ผบ.ตร.ช่วงปี 2554 และเป็น
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)ช่วงปี 2557- 2562 และปัจจุบันเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ
นอกจากนี้ในปี 2558 ยังได้โอนย้ายจากข้าราชการตำรวจมาเป็นข้าราชการพลเรือนและดำรงตำแหน่ง ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี คนใหม่แทน หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล ซึ่งลาออกจากราชการในวันที่ 30 ก.ย.2558
พล.ต.อ.เอก ได้รับฉายา "มิสเตอร์คลีน" เนื่องจากช่วงเป็น รอง ผบ.ตร. ได้รับความไว้วางใจจากผบ.ตร. ให้ลงพื้นที่ตรวจสอบความเรียบร้อยของสถานีตำรวจทั่วประเทศ
หลายครั้งที่ พล.ต.อ.เอก ลงพื้นที่แล้ว พบว่าสถานีตำรวจบกพร่อง สกปรก ไม่มีความเป็นระเบียบ ก็จะรายงานให้ ผบ.ตร.รับทราบ แล้วมีการสั่งย้ายหัวหน้าสถานีทันที เพื่อเป็นแบบอย่างให้สถานีตำรวจทั่วประเทศหันมาใส่ใจภาพลักษณ์ความเป็นอยู่ของตำรวจด้วยกันเอง
อ่านข่าว จับตา! วาระ ก.ตร.แต่งตั้ง ผบ.ตร.คนที่ 14 ลือสะพัดส่อเลื่อนเคาะ
พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ
ย้อนอดีตพล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ปฏิเสธนั่งผบ.ตร.
ขณะที่หากย้อนไปกรณีการไม่โหวตเลือกผบ.ตร.ที่ไม่ยึดตามอาวุโส เคยมีลักษณะคล้ายกัน มาแล้วในปี 2552 หลังจากที่ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ เกษียณอายุราชการไป ที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) สมัยนั้น ไม่สามารถสรรหาผู้ที่ดำรงตำแหน่งผบ.ตร.ได้ถึง 2 ครั้ง
ทำให้มีข่าวว่า พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ อาจจะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนี้เป็นคนต่อไป แต่เจ้าตัวได้ปฏิเสธและให้เหตุผลว่า ในบรรดาผู้ที่มีคุณสมบัตินั้นตนมีอาวุโสน้อยที่สุด
กระทั่งกลางปี พ.ศ.2553 ชื่อของ พล.ต.อ.วัชรพล ก็กลับมาเป็นข่าวอีกครั้ง เมื่อมีชื่อคาดหมายว่าอาจจะเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่ หลังจาก พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รักษาราชการฯ เกษียณอายุไป โดยตกเป็นชื่อคู่กับ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี รองผบ.ตร.อีกคน แล้วในที่สุดตำแหน่งนี้ก็ตกเป็นของ พล.ต.อ.วิเชียร
อ่านข่าว
กำนันนก ส่งผล “สะเทือนโผ” ชิง ผบ.ตร.