ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เครือข่ายสลัม 4 ภาค เรียกร้องที่อยู่อาศัย "คนจนเมือง"

สังคม
2 ต.ค. 66
10:09
2,358
Logo Thai PBS
เครือข่ายสลัม 4 ภาค เรียกร้องที่อยู่อาศัย "คนจนเมือง"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
แกนนำสลัม 4 ภาค จัดกิจกรรมเคลื่อนขบวนเรียกร้องจุดยืนรัฐต้องเท่าเทียม แบ่งปันที่ดินให้คนจนเมือง พร้อมเสนอแก้ ร่าง รธน.ใหม่ โดย ส.ส.ร.ต้องมาจากการเลือกตั้ง 100%

วันนี้ (2 ต.ค.2566) เวลา 08.20 น. ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เครือข่ายสลัม 4 ภาค จัดกิจกรรมรณรงค์ "เดินเพื่อบ้าน" เริ่มตั้งขบวนที่ลานคนเมือง โดยจะเคลื่อนขบวนไปยังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กระทรวงคมนาคม องค์การสหประชาชาติ หรือยูเอ็น และทำเนียบรัฐบาล

นายคมสัน จันทร์อ่อน แกนนำเครือข่ายสลัม 4 ภาค กล่าวถึงการจัดกิจกรรมในวันนี้ ว่า จะเรียกร้องให้นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประกาศนโยบายจากข้อเรียกร้องที่ทางเครือข่ายเสนอไป 10 กว่าข้อ จากนั้นจะเคลื่อนไปทำกิจกรรมทางการเมืองที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อเรียกร้องการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ และสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ที่ทำหน้าที่ในการยกร่างรัฐธรรมนูญ ควรมาจากการเลือกตั้ง 100%

คมสัน จันทร์อ่อน แกนนำเครือข่ายสลัม 4 ภาค

คมสัน จันทร์อ่อน แกนนำเครือข่ายสลัม 4 ภาค

คมสัน จันทร์อ่อน แกนนำเครือข่ายสลัม 4 ภาค

จากนั้นจะเคลื่อนไปทำกิจกรรมที่กระทรวงคมนาคม โดยล่าสุดทางกระทรวงฯ ประสานงานว่า จะมีที่ปรึกษา รมช.คมนาคม ที่กำกับดูแลการรถไฟแห่งประเทศไทย มามอบสัญญาเช่าให้กับชาวชุมชน 4 แปลง รวมถึงมีตัวแทนในชุมชน ยื่นหนังสือเพื่อเสนอข้อเรียกร้องแก้ไขปัญหาอื่น ๆ จากนั้นจะเดินทางต่อไปที่ยูเอ็น โดยจะมีตัวแทนจากยูเอ็นมากล่าวย้ำถึงความสำคัญของวันที่อยู่อาศัยโลก และปิดท้ายกิจกรรมในวันนี้ โดยเคลื่อขบวนไปที่ทำเนียบรัฐบาล โดยมีรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี มารับหนังสือ

แกนนำเครือข่ายสลัม 4 ภาค กล่าวถึงความคาดหวังในการเปลี่ยนแปลงด้านที่อยู่อาศัยในยุครัฐบาลปัจจุบัน และกรุงเทพฯ ว่า หวังว่าข้อเสนอที่เรียกร้องจะนำไปสู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม เช่น การนำที่ดินรัฐมาแบ่งปันให้กับคนจนเมืองไปใช้แก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย เนื่องจากที่ดินในเมืองมีราคาแพงมาก ไม่สามารถเข้าถึงได้ หากรัฐแบ่งปันที่ดินมาให้ก็จะทำให้คนจนหลายกลุ่มมีที่อยู่อาศัยมั่นคงได้

รัฐบาลที่ผ่านมา รับหลักการมาเป็นบางส่วน แต่ยังติดปัญหาเรื่องข้อปฏิบัติมีกรอบนโยบาย แต่การปฏิบัติจริงยังไม่เกิด หวังว่ารัฐบาลใหม่และนโยบายที่ประกาศไว้จะนำไปเป็นรูปธรรมได้

นายคมสัน กล่าวว่า ได้เสนอนโยบาย 2-3 ข้อในส่วนของกรุงเทพฯ เช่น การแบ่งปันที่ดินสาธารณะจำนวนมากที่ กทม.ดูแลอยู่ ซึ่ง กทม.เน้นทำสวนสาธารณะ 15 นาที แต่ควรจัดสรรและแก้ปัญหาให้ผู้ได้รับผลกระทบเรื่องที่อยู่อาศัย หรือกรณีรื้อย้ายชุมชนริมคลอง เพราะกลุ่มนี้ไม่มีที่อยู่อาศัย

สำหรับข้อเรียกร้องเครือข่ายสลัม 4 ภาค ต่อกรุงเทพมหานคร เนื่องในวันที่อยู่อาศัยโลก ปี 2566

1.ให้กรุงเทพมหานคร เป็นหน่วยงานในการขอใช้ที่ดินสาธารณะ และที่ดินของหน่วยงานกรุงเทพหมานคร เพื่อให้ชุมชนจัดสร้างที่อยู่อาศัยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยมีโครงการบ้านมั่นคง ของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนเข้ามาสนับสนุน
2.กรุงเทพมหานครต้องหยุดการใช้กฎหมาย ปว.44 ที่มาจากอำนาจเผด็จการ และริดรอนสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม และให้มีกระบวนการยกเลิกกฎหมาย ปว.44 นี้

3.ให้มีมาตรการที่ชัดเจนให้ชุมชนสามารถปรับปรุงสร้างความมั่นคงการอยู่อาศัยในที่เดิมได้ โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
- ต้องเป็นชุมชนที่ไม่ปลูกบ้านเรือนลุกล้ำลำคลอง หรืออยู่ในสภาพที่ขัดขวางการระบายน้ำ และมีพื้นที่ในการปรับปรุงจัดผังการอยู่อาศัยใหม่ให้เป็นระเบียบไม่ขัดขวางการระบายน้ำ
- เป็นชุมชนที่อยู่ในพื้นที่เสื่อมสภาพแล้ว ไม่สามารถใช้ในการระบายน้ำได้ ให้ชุมชนสามารถจัดผังการอยู่อาศัยในพื้นที่เดิม

4.ในกรณีชุมชนที่ไม่สามารถอยู่ที่เดิมได้ ให้กรุงเทพมหานครขอใช้ที่ดินสาธารณะในเมือง เพื่อเป็นพื้นที่รองรับการย้ายไปสร้างชุมชนใหม่
5.ให้กรุงเทพมหานคร สนับสนุน และสำรวจชุมชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่สาธารณะริมคลอง ในเขตกรุงเทพมหานคร ร่วมกับภาคีองค์กรชุมชน สถาบันพัฒนาองค์ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ได้ข้อมูลชุมชนที่ชัดเจน เพื่อใช้ในการแก้ปัญหา
6.ให้ชุมชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครสามารถจดแจ้งชุมชนได้ เพื่อให้ผู้อยู่อาศัย และแรงงานที่ใช้ชีวิตในกรุงเทพมหานคร ได้เข้าถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตพื้นฐาน และกรุงเทพมหานครสามารถนำข้อมูลใช้ในการทำแผนการพัฒนาเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7.ให้มีนโยบายการเก็บภาษีแบบรายแปลงย่อยตามการอยู่อาศัยจริง หรือตามทะเบียนบ้านของผู้อยู่อาศัยในโครงการ
8.จัดทำข้อมูลชุมชนในโครงการบ้านมั่นคงในพื้นที่กรุงเทพมหานครร่วมกัน (สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน, กรุงเทพมหานคร, องค์กรชุมชน)
9.ต้องการการสนับสนุนจากกรุงเทพมหานคร ในการอำนวยการ การจัดสร้างที่อยู่อาศัยในโครงการบ้านมั่นคง และการพัฒนาสาธารณูปโภค

10.ให้แจ้งนโยบายการสนับสนุนโครงการบ้านมั่นคง และประสานงานกับสำนักงานเขต ให้มีการสนับสนุน และมีแผนการพัฒนาโครงการบ้านมั่นคงในพื้นที่ร่วมกัน ระหว่างองค์กรชุมชน สำนักงานเขต และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
11.มีการดำเนินการนำร่องห้องเช่าราคาถูกย่านหัวลำโพง ร่วมกับ สสส. กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน และกำลังดำเนินการที่ศูนย์คนไร้บ้าน จ.ปทุมธานี และก่อสร้างแล้วเสร็จที่ซอยเลียบวารี 79 เขตหนองจอก

จึงต้องการการสนับสนุนจากกรุงเทพมหานครในการสร้างรูปธรรมที่อยู่อาศัยเช่าราคาถูกให้หลากหลาย รองรับผู้เช่าห้องในเมือง และสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาที่อยู่อาศัยเช่าราคาถูกสำหรับคนเริ่มต้นทำงาน ของกรุงเทพมหานคร

12.กรุงเทพมหานครจะดำเนินการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยเช่าราคาถูกอย่างไร เริ่มดำเนินการในช่วงเวลาไหน ซึ่งทางเครือข่าย และหน่วยงานภาคีต่าง ๆ จะมีส่วนร่วมได้อย่างไ13.มีการดำเนินการพัฒนานโยบายห้องเช่าราคาถูก ร่วมกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน และภาคีต่าง ๆ (ตามเอกสารแนบ) ซึ่งต้องการความร่วมมือจากหน่วยงานกรุงเทพมหานคร ในการบูรณาการ และเพิ่มศักยภาพในการพัฒนานโยบาย และรูปธรรม

14.ให้แจ้งไปยังสำนักงานเขต ให้ดำเนินการสร้างความเข้าใจกับชุมชนที่ต้องรื้อย้าย ให้รับรู้และย้ายชื่อไปไว้ในทะเบียนบ้านอื่นที่มี
15.กรณีที่จะย้ายไปสร้างชุมชนใหม่ในโครงการบ้านมั่นคง ให้สำนักงานเขตออกทะเบียนบ้านให้ก่อน 1 หลัง เพื่อรองรับผู้ที่จะรื้อย้ายไป และเมื่อสร้างบ้านเสร็จ ก็สามารถดำเนินการย้ายเข้าทะเบียนบ้านของตัวเองได้

อ่านข่าวอื่นๆ

กอนช.คาดระดับน้ำแม่น้ำมูล จ.อุบลราชธานี สูงสุด 3 ต.ค.นี้

จับตา "พาณิชย์" ประกาศลดราคาสินค้า 20 รายการ ลดค่าครองชีพ

"บิ๊กต่อ" ลงนามฉบับแรกคำสั่งขรก.ตร.แทนตำแหน่งว่าง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง