ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

สั่งขึ้นทะเบียน "นกกรงหัวจุก" ถูกกม.ยังไม่ปลดพ้นสัตว์คุ้มครอง

สิ่งแวดล้อม
3 ต.ค. 66
15:44
9,704
Logo Thai PBS
สั่งขึ้นทะเบียน "นกกรงหัวจุก" ถูกกม.ยังไม่ปลดพ้นสัตว์คุ้มครอง
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมอุทยานฯ สั่งเร่งขึ้นทะเบียน "นกกรงหัวจุก" ที่เลี้ยงถูกกฎหมายให้หมด หลังสถิติเพิ่มขึ้นเป็น 134,325 ตัว จากผู้ขอขึ้นทะเบียน 11,466 คน หวังลดขั้นตอนยุ่งยาก ยังไม่ปลดพ้นสัตว์ป่าคุ้มครอง

วันนี้ (3 ต.ค.2566) นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวว่า กรณีที่มีข้อเสนอจากภาคประชาชนในพื้นที่อยากให้กรมอุทยานแห่งชาติฯ พิจารณาการผ่อนคลายการครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครอง “นกกรงหัวจุก” ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่น อีกทั้งมีการจัดการแข่งขันเสียงร้องในหลายภูมิภาค รวมถึงมีการเพาะเลี้ยงในกรงจำนวนมาก จนถือได้ว่าเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดหนึ่ง

นายอรรถพล กล่าวว่า จากการรับฟังความเห็นของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 30 ก.ย.ที่ผ่านมา จึงมอบหมายให้สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า ยกระดับการให้บริการแก่ประชาชนในเรื่องการขออนุญาตค้าและครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองทุกชนิดให้มีความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น

อ่านข่าว ตั้งคณะทำงาน 1 ชุดปลดล็อก "นกกรงหัวจุก" แก้ระเบียบเอื้อคนเลี้ยง

นกกรงหัวจุก หรือนกปรอดหัวโขน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

นกกรงหัวจุก หรือนกปรอดหัวโขน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

นกกรงหัวจุก หรือนกปรอดหัวโขน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

ปลดล็อกขั้นตอนขึ้นทะเบียนนกกรงหัวจุก

นายอรรถพล กล่าวอีกว่า โดยเร่งหารือร่วมกับสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ทุกพื้นที่ในการลดขั้นตอนการปฏิบัติที่ยุ่งยากเป็นภาระกับประชาชน ผู้ประสงค์ แจ้งครอบครองเพาะพันธุ์หรือค้านกปรอดหัวโขน โดยให้ใช้มาตรการเชิงรุกในการให้บริการทุกประเภทให้มีความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น และให้เข้มงวดกับการลักลอบดักจับนกปรอดหัวโขนในธรรมชาติ

สำหรับการยื่นขออนุญาต สามารถยื่นได้ด้วยตนเอง ที่สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติฯ ต่างจังหวัด ยื่นได้ที่ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1-16 หรือสาขาทุกสาขา กรณีหากมีเหตุอันควรสงสัย เช่น ชนิด จำนวน เครื่องหมาย สามารถสอบถามรายละเอียด ได้ที่ส่วนคุ้มครองสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า 0 2579 4621 หรือสายด่วนพิทักษ์ป่า 1362

อ่านข่าว ศอ.บต.ชงกรมอุทยานฯ ปลด "นกกรงหัวจุก" พ้นบัญชีสัตว์สงวน

กรมอุทยาน เปิดให้ขึ้นทะเบียนอย่างถูกกฎหมาย ลดขั้นตอน

กรมอุทยาน เปิดให้ขึ้นทะเบียนอย่างถูกกฎหมาย ลดขั้นตอน

กรมอุทยาน เปิดให้ขึ้นทะเบียนอย่างถูกกฎหมาย ลดขั้นตอน

สำหรับนกปรอดหัวโขน หรือนกกรงหัวจุก มีสีสันที่สวยงาม มีเสียงอันไพเราะ จึงเป็นที่นิยมในแง่ของสัตว์เลี้ยง และประกวดเสียงร้องเช่นเดียวกับนกเขาชวา

ปัจจุบันจัดอยู่ในกลุ่มสัตว์ป่าคุ้มครองจำพวกนกลำดับที่ 550 ตามกฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ.2546 ห้ามล่า หรือจับมาจากธรรมชาติ แต่เปิดโอกาสให้เพาะพันธุ์ในกรงเลี้ยงได้ แต่ยังมีผู้เพาะเลี้ยงที่ไม่ได้รับอนุญาตจำนวนมาก เนื่องจากมีขั้นตอนการขออนุญาตหลายขั้นตอน ต้องใช้หลักฐานหลายอย่าง และต้องลงทุนสูง

อ่านข่าว เหตุผล! มูลนิธิสืบฯ ค้านปลด "นกกรงหัวจุก"พ้นบัญชีสัตว์คุ้มครอง

 มีการขึ้นทะเบียนเลี้ยงแบบถูกกฎหมายกว่า 1.34 แสนตัว

มีการขึ้นทะเบียนเลี้ยงแบบถูกกฎหมายกว่า 1.34 แสนตัว

มีการขึ้นทะเบียนเลี้ยงแบบถูกกฎหมายกว่า 1.34 แสนตัว

ขึ้นทะเบียนเพียง 134,325 ตัว

จากข้อมูลการรายงาน สรุปผู้ได้รับอนุญาตให้เพาะพันธุ์ ค้า ครอบครอง นกปรอดหัวโขน ในช่วงปี พ.ศ.2555–ปัจจุบัน มีนกหัวโขนที่ขึ้นทะเบียนถูกกฎหมาย จำนวน 134,325 ตัว จากผู้ขอขึ้นทะเบียน จำนวน 11,466 คน ซึ่งจำนวนผู้เลี้ยงนกปรอดหัวโขนจริง ๆ มีมากกว่าจำนวนผู้ได้รับอนุญาตที่ถูกต้อง โดยได้รับการยืนยันจากประธานชมรมผู้เลี้ยงนกกรงหัวจุก

ทั้งนี้ ข้อมูลในปี 2566 พบว่ามีการกระจายตัวของนกปรอดหัวโขนในธรรมชาติ พบได้ทั่วไปในป่าโปร่งที่อยู่ใกล้ชุมชน โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันตก และภาคใต้ฝั่งอันดามัน

อ่านข่าวเพลงฮิตโซเชียล "นกกรงหัวจุกมันริก จ่อก กวิก ๆๆๆ

ไม่เห็นด้วย "ปลดล็อก" นกออกสัตว์ป่าคุ้มครอง

ด้านผศ.ดร.สาระ บำรุงศรี อาจารย์ประจำหลักสูตรชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ระบุว่า นกกรงหัวจุกเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองที่เลี้ยงได้ แต่ปัญหาคือการขึ้นทะเบียน ดังนั้น pain point จริงๆ คือจัดการการขึ้นทะเบียนให้มันเรียบร้อยครอบคลุม คนที่มีนกจะไปแข่งก็สามารถจะแข่งหรือจะค้าขายก็ยังได้

ถ้าถึงขั้นการปลดล็อก แปลว่าสามารถจะจับนกที่ไหนก็ได้เอามาจากประเทศไหนก็ได้ มันไม่ถูก เพราะจะส่งผลเสียต่อนกที่จะค่อยๆ สูญพันธุ์ไป อีกมุมหนึ่งคือนกเหล่านี้ คือทรัพยากรพันธุกรรมที่จะเอามาใช้เพื่อการปรับปรุงภายในอนาคต 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

"นกปรอดหัวโขน" อยู่ที่ไหน?

ยึด "นกปรอดหัวโขน" 1,700 ตัว ลอบนำเข้าชายแดนไทย-ลาว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง