ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"คุณชายอดัม" ชี้ สร้างสื่อสอนคนป้องกันซ้ำรอย "ยิงกลางห้าง"

สังคม
6 ต.ค. 66
15:37
953
Logo Thai PBS
 "คุณชายอดัม" ชี้ สร้างสื่อสอนคนป้องกันซ้ำรอย "ยิงกลางห้าง"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรณีเยาวชนอายุ 14 ปีก่อเหตุกลางห้างดัง จน มท.1 เร่งออกกฎหมายควบคุมปืน มุมมองจาก คกก.ซอฟต์พาวเวอร์ไทย "คุณชายอดัม" มองว่าสื่อต้องยิ่งมีส่วนช่วยสังคม เน้นสร้างสื่อที่สอนคนใช้วิจารณญาณมากขึ้น ถามกลับ ถ้ากลัวการเลียนแบบเท่ากับไม่ทำหนังต่อสู้ ถูกต้องหรือไม่?

หลัง มท. 1 งัดยาแรงออกกฎ งดการออกใบอนุญาต ทั้งนำเข้า การค้า และงดออกใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว ล้อมคอกกรณีเด็กชายอายุ 14 ปีก่อเหตุยิงกลางห้างฯ พารากอน เมื่อวันที่ 3 ต.ค.2566 ที่ผ่านมา

ไทยพีบีเอสออนไลน์สอบถาม คุณชายอดัม - ม.ร.ว.เฉลิมชาตรี ยุคล คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ สาขาภาพยนตร์ ในแง่มุมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ซีรีย์ ละคร ฉากแอ็กชั่น หนังบู๊ต่างๆ ที่ต้องใช้สิ่งเทียมอาวุธปืนเข้าฉาก ว่ากฎเหล็กระยะสั้นที่มหาดไทยงัดออกมาใช้นั้น ส่งผลกระทบต่อการถ่ายทำในอนาคตหรือไม่ 

ไม่กระทบ เพราะกองถ่ายต้องขออนุญาตการใช้สิ่งเทียมอาวุธปืนก่อนอยู่แล้ว

การถ่ายทำภาพยนตร์ จะใช้มาตรฐานเดียวกับกองถ่ายต่างประเทศ สิ่งนี้เป็นตัวชี้วัดความปลอดภัยที่จะเกิดขึ้นในกองถ่าย สร้างความเชื่อมั่นต่อผู้ร่วมงาน และ สะท้อนถึงเครดิตของทีมงาน หน่วยงานนั้นๆ ด้วย นอกจากนั้นแล้ว การจัดหาสิ่งเทียมอาวุธปืนเหล่านี้ ไม่มีการสั่งซื้อทางช่องทางออนไลน์ อุปกรณ์ต่างๆ ต้องทำเรื่องขออนุญาตซื้ออย่างถูกกฎหมาย

ภาพประกอบข่าว - ฉากแอ็กชั่นในภาพยนตร์

ภาพประกอบข่าว - ฉากแอ็กชั่นในภาพยนตร์

ภาพประกอบข่าว - ฉากแอ็กชั่นในภาพยนตร์

คุณชายอดัม มองว่า ประเด็นหลักอยู่ที่การควบคุม การกำกับดูแล การบังคับใช้กฎหมายในการใช้อุปกรณ์เหล่านี้ เช่น ปืนบีบีกัน แม้ไม่ได้ห้ามขายแต่ก็ต้องกำหนดกฎเกณฑ์ที่เหมาะสมมากกว่านี้ 

การปิดไม่ใช่ทางออกทั้งหมด แต่ควรวางไว้ในจุดที่เหมาะสม จะเกิดผลกว่า 

สื่อต้องคิดตรงข้าม เน้นสร้างวิจารณญาณให้คนดู

ตอบข้อคำถามที่ว่า หลังจากเกิดเหตุรุนแรงเช่นนี้ ในฐานะคนทำสื่อ ควรต้องเร่งเขียนบท ผลิตผลงานในเชิงสร้างสรรค์ เพื่อป้องกันการเลียนแบบหรือทำซ้ำหรือไม่ 

ม.ร.ว.เฉลิมชาตรี กล่าวว่า ในฐานะคนสื่อยิ่งต้องคิดตรงกันข้าม อย่างที่บอกว่าการปิดไม่ใช่ทางออกเสียทั้งหมด สื่อต้องช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน สร้างองค์ความรู้ให้สังคมมากขึ้น ถ้ามองว่าฉากแอ็กชั่น ภาพยนตร์ที่ใช้ความรุนแรง คือสิ่งไม่ดี แล้วต้องเอาออกให้หมด ไม่ผลิตทั้งหมด ในมุมกลับกัน เรากล้าไม่นำเข้าภาพยนตร์จากต่างประเทศ หรือไม่นำเสนอข่าวอาชญากรรมเลย เพื่อป้องกันการลอกเลียนแบบ เช่น ถ้าอยากลดปัญหาการถูกข่มขืน ต้องไม่ทำหนังรัก นั่นคือสิ่งที่ถูกต้องและควรทำหรือไม่ ? 

ภาพประกอบข่าว - ฉากแอ็กชั่นในภาพยนตร์

ภาพประกอบข่าว - ฉากแอ็กชั่นในภาพยนตร์

ภาพประกอบข่าว - ฉากแอ็กชั่นในภาพยนตร์

และสุดท้ายประเด็นเรื่องของ "เสรีภาพสื่อ" ก็จะตามออกมาอีก สื่อก็จะเรียกร้องถามหาว่าเสรีภาพของตนเองในการนำเสนออยู่ที่ไหน 

คน 1 คนที่ทำความผิด เกิดขึ้นจากอะไร ?
การโทษสิ่งใดสิ่งหนึ่งและมองว่าสิ่งนั้นต้องหายไป ไม่ถูกต้อง

การสร้างวิจารณญาณให้คนดู ควรเป็นเป้าหมายของการผลิตผลงานมากกว่า สร้างให้คนรับรู้ว่าการรับชมสื่อ ควรรับชมอย่างไร การเข้าถึงเนื้อหาในโลกโซเชียลอย่างเหมาะสมต้องทำอย่างไร จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ตนเองมองว่ามูลเหตุไม่ใช่อาวุธที่นำมาใช้ หรือ สื่อที่เสพ แต่เกิดจากวิจารณญาณของตัวผู้ก่อเหตุเอง 

ยกตัวอย่างประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย ที่ประชากรแถบนั้นถูกจัดอันดับเป็นประชากรที่มีความสุขอันดับต้นๆ ของโลก ทั้งๆ ที่รูปแบบความบันเทิงก็มีอย่างหลากหลาย ไม่ต่างกับประเทศอื่นๆ ในโลก หรือประเทศไทย คำถามคือ แล้วทำไมเขาสามารถจัดการประชากรของเขาได้ และอัตราการก่อเหตุอาชญากรรมก็ไม่ได้สูง ประเทศไทยอาจต้องลองศึกษาจาก Case Study เหล่านี้ 

ความบันเทิง ไม่ใช่สิ่งเดียวที่ทำให้ คนเป็นอาชญากร
วันนี้เรากำลังเอาคน 70 ล้านคนไปแลกกับคนๆ เดียวที่เป็นแบบนี้
คุ้มหรือไม่ ?

อ่านข่าวเพิ่ม : 

ไม่ตรงจุด! เอกชนสะท้อน ขึ้นทะเบียน "แบลงก์กัน" คุมอาวุธปืน

ทบ.ตรวจสอบพบ เด็ก 14 ปี ซ้อมยิงสนามยิงปืน "นรด."

ตำรวจท่องเที่ยว ออกแถลงการณ์ 3 ภาษา เหตุยิงในพารากอน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง