ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

พลังยากจน "แรงขับเคลื่อน" ดิ้นรนทำงานต่างแดน

สังคม
16 ต.ค. 66
14:04
503
Logo Thai PBS
พลังยากจน  "แรงขับเคลื่อน" ดิ้นรนทำงานต่างแดน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
นับตั้งแต่เหตุความรุนแรงระหว่างกลุ่มฮามาส กับ อิสราเอล ปะทุขึ้น มีการอพยพแรงงานไทยกลับประเทศรวม 4 เที่ยวบินแล้ว ยังเหลือ แรงงานไทยรอกลับบ้านอีก 6,000 คน ชะตากรรมของแรงงานที่ต้องเผชิญภัยสงคราม หลายฝ่ายลุ้นและพยายามเอาใจช่วย ล้วนมีชะตากรรมแตกต่างกัน

เสียง เด็กชายวัย 9 ปี และเด็กหญิงวัย 10 ปี ตะโกนสุดเสียง เรียก “พ่อ” เมื่อรถบัสจาก บน.6 นำแรงงานไทยกลับจากอิสราเอลมาถึง ศูนย์ Quarantine Center สถาบันบำราศนราดูร ต่างวิ่งกูรเข้าหาอ้อมกอดของพ่อ ที่ไม่เจอกันนานนับปี มีสีหน้า และแววตาที่บ่งบอกถึงความดีใจที่ได้พบครอบครัวอีกครั้ง

นพโรจน์ วิมลธรรมวัชร์ แรงงานไทยพร้อมครอบครัว

นพโรจน์ วิมลธรรมวัชร์ แรงงานไทยพร้อมครอบครัว

นพโรจน์ วิมลธรรมวัชร์ แรงงานไทยพร้อมครอบครัว

นายนพโรจน์ วิมลธรรมวัชร์ แรงงานไทยที่รอดชีวิตจากเมืองเบลี อิสราเอล เล่าว่า เป็นชาวนครราชสีมา เพิ่งไปทำงานด้านการเกษตรที่อิสราเอลได้ไม่นาน รับจ้างตัดอะโวคาโด หมู่บ้านที่อาศัยและทำงาน ห่างจากจุดเกิดเหตุประมาณ 3 กิโลเมตร วันเกิดเหตุกลุ่มฮามาสโจมตีได้เข้าไปหลบภัยในโดมตั้งแต่ช่วงเช้าและพยายามติดต่อขอความช่วยเหลือจากสถานทูต ในใจขณะนั้นคิดถึงครอบครัวภรรยาและลูกมาก ได้แต่ภาวนาขอให้มีชีวิตรอดกลับไป เพราะมีรายงานกองกำลังบุกเข้ามาโจมตีและมีชาวยิวเสียชีวิตจำนวนมาก

ขณะนี้รอดูท่าที สถานการณ์ความไม่สงบในอิสราเอลว่าจะจบลงเมื่อไหร่ หากการสู้รบยุติเร็ว ก็ยังอยากกลับไปทำงานที่เดิมอีก เนื่องจากนายจ้างดูแลดีมาก
แรงงานไทยกลับจากอิสราเอล

แรงงานไทยกลับจากอิสราเอล

แรงงานไทยกลับจากอิสราเอล

นางธิติกาญจน์ วิมลธรรมวัชร์ ภรรยา กล่าวว่า ดีใจที่เห็นสามีกลับมาอย่างปลอดภัย เหตุที่สามีตัดสินใจทำงานต่างประเทศ เพราะช่วง 2 ปีที่แล้วเกิดปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ไม่มีงานทำ ขาดรายได้จุนเจือครอบครัว เดิมทำงานอู่รถบัส เคยมีเงินใช้หมุนเวียนในครัวเรือน เดือนละ 12,000 บาท กินอยู่รวมกัน 4 ชีวิต แต่การไปทำงานที่อิสราเอลทำให้ครอบครัวมีสถานะการเงินที่ดีขึ้น

เห็นด้วยกับสามี ว่าหากสถานการณ์ดีขึ้นก็อาจกลับไปทำงานที่ต่างประเทศอีก เพียงแต่ตอนนี้ของพักรอดูสถานการณ์ก่อน
อ้อมกอดครอบครัว

อ้อมกอดครอบครัว

อ้อมกอดครอบครัว

เช่นเดียวกับน.ส.สุภาพร ภูสำเภา เล่าว่า ตัดสินใจให้สามี นายนครินทร์ ข้ามประเทศ ไปทำงานที่อิสราเอล เพราะปัญหาหลักๆ คือ เรื่องรายได้ ที่ผ่านมาครอบครัวก็ทราบดีถึงสถานการณ์ความไม่สงบ แต่ไม่คิดว่าจะรุนแรงเช่นนี้  สามีไปทำงานที่อิสราเอลมา 5 ปีแล้ว ทำด้านการเกษตรเพาะปลูกดอกไม้ มีรายได้เดือนละ 50,000 บาท

ศาสตราภิชานแล ดิลกวิทยรัตน์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศาสตราภิชานแล ดิลกวิทยรัตน์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศาสตราภิชานแล ดิลกวิทยรัตน์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ขณะที่ศาสตราภิชานแล ดิลกวิทยรัตน์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญด้านแรงงาน กล่าวว่า การดิ้นรนไปทำงานเสี่ยงตายต่างประเทศ มีทั้งความเสี่ยง 2 ทาง คือ ความเสี่ยงทางตรง การกู้ยืมเงินไปทำงาน มีดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย เสี่ยงกับความไม่รู้ว่า งานที่ทำจะเป็นอย่างไร นายหน้าจะโกงหรือเปล่า ไปทำงานจะเหมือนที่โฆษณาไว้ไหม และความเสี่ยงทางอ้อม เป็นเรื่องของต้นทุน ความรู้สึก-จิตใจ ที่ต้องพลัดพรากจากครอบครัว คนใกล้ชิด 

ความแตกต่างทางเรื่องรายได้ ที่รัฐไม่ให้ความมั่นใจ ทำให้คนต้องดิ้นรนเสี่ยงตาย ทิ้งบ้าน ทิ้งครอบครัว ไม่มีคนปกติ ที่ไหน อยากไปทำงานต่างประเทศ หากไม่จน

ศาสตราภิชานแล ยังกล่าวว่า หนี้คือพันธนาการสำคัญที่ทำให้แรงงานต้องดิ้นรน เมื่อรัฐไม่สามารถรับประกัน และช่วยเหลือพวกเขาได้ แรงงานก็ต้องช่วยเหลือตัวเอง

ความจริงแล้วการเคลื่อนย้ายแรงงาน คือการเคลื่อนย้ายความสิ้นหวัง สะท้อนว่า การอยู่ในบ้านเมืองของตนเองไม่มีอนาคต จำต้องเสี่ยงภัย

ประเทศไทยต่างจากญี่ปุ่น เกษตรกรได้รับการดูแลคุ้มครองอย่างดีจากรัฐ ทั้งมาตรการกีดกันสินค้าเกษตรจากต่างประเทศ สนับสนุนการพัฒนาดิน และพันธุ์พืช เพราะชาวนามีอิทธิพลสามารถชี้เป็นชี้ตายทางการเมือง ผิดกับไทย ที่ปากเสียงเป็นของนายทุน ทั้งที่กระบวน การทางเศรษฐกิจไทย มีข้าวเป็นเรื่องหลัก แต่ชาวนาที่เป็นต้นทางกลับยากจน คนรวยเป็นนายทุน สำหรับทางออกของปัญหานี้ ถือเป็นโจทย์และความท้าทายที่ภาครัฐต้องเข้ามาแก้ไข ทำอย่างไรให้คนมีความรู้สึกว่าอยากทำงานในประเทศ

ปลูกพืชผลทางการเกษตรไม่ได้สำคัญที่ภูมิภาค แต่เป็นเรื่องการลงทุนเทคโนโลยี พัฒนาดิน พัฒนาพันธุ์พืช ไม่ว่าจะญี่ปุ่น หรือ อิสราเอล ดินไม่ได้ดีกว่าบ้านเรา ประเทศไทยมีแค่แรงงาน

พลังงานจน ทั้งความเหลื่อมล้ำรายได้ ภาระหนี้สิน เป็นแรงขับเคลื่อน ให้คนต้องไปทำงานในต่างประเทศ หากภาครัฐใส่ใจรับฟังตั้งใจแก้ปัญหาอย่างแท้จริง มีส่วนลงทุนพัฒนาด้านการเกษตรจริงๆจังๆ และให้สิทธิ์ ให้อำนาจต่อรองของเกษตรเป็นจริง เชื่อว่า ไม่มีใครที่ไหนอยากทำงานต่างประเทศ

 อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 นายกฯเตรียมถกจีนช่วยอพยพคนไทยในอิสราเอล

เครื่องบิน ทอ. อพยพ 130 คนไทยจากอิสราเอล ถึงไทยแล้ว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง