องค์การอวกาศญี่ปุ่น หรือ JAXA เตรียมศึกษาการพัฒนาและสร้างจรวดที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้เป็นของตัวเอง โดยการเปลี่ยนแปลงนี้มีขึ้นหลังจากการเปลี่ยนนโยบายด้านการสำรวจอวกาศโดยรัฐบาลญี่ปุ่น
JAXA นั้นใช้จรวดตระกูล H มาอย่างยาวนานโดยเฉพาะการทำภารกิจการสำรวจดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ หรือการนำเอาตัวอย่างหินดาวเคราะห์น้อยกลับโลกในโครงการฮายาบูสะ (Hayabusa) อย่างไรก็ตาม ช่วงหลังนี้ญี่ปุ่นได้ให้ความสำคัญกับการสำรวจอวกาศที่แตกต่างออกไปโดยเฉพาะการประหยัดต้นทุน เห็นได้อย่างชัดเจนจากภารกิจสลิม (SLIM) ที่ทดสอบเทคโนโลยีการส่งยานอวกาศขนาดเล็กไปลงจอดบนดวงจันทร์
ปรับปรุงนโยบายในครั้งนี้ JAXA จะหันไปทำวิจัยด้านการพัฒนาและสร้างจรวดที่สามารถนำท่อนแรกกลับมาใช้ใหม่ได้กับบริษัท Mitsubishi Heavy Industries เพื่อแทนที่จรวด H3 รุ่นใหม่ของ JAXA โดย H3 เป็นจรวดแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง แทนที่จรวด H-2A เดิมของ JAXA
จรวดรุ่นใหม่นี้ JAXA ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะลดค่าใช้จ่ายต่อกิโลกรัมของสัมภาระบนจรวดครึ่งหนึ่งของจรวด H3 นอกจากนี้จะต้องสามารถส่งสัมภาระไปยังวงโคจรดวงจันทร์หรือส่งยานลงจอดบนดวงจันทร์ได้ โดยจรวดจะต้องพัฒนาและผลิตเสร็จในช่วงปี 2030
ที่มาภาพ: JAXA
ที่มาข้อมูล: spacenews
“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech