ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

นักวิจัยพัฒนา "เจลแม่เหล็ก" ช่วยรักษาแผลเบาหวานให้หายเร็วขึ้น 3 เท่า

Logo Thai PBS
นักวิจัยพัฒนา "เจลแม่เหล็ก" ช่วยรักษาแผลเบาหวานให้หายเร็วขึ้น 3 เท่า
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University oF Singapore: NUS) พัฒนานวัตกรรม "เจลแม่เหล็ก" ที่สมานแผลเบาหวานได้เร็วขึ้นถึง 3 เท่า พร้อมลดความเสี่ยงการเป็นซ้ำ

"หวานตัดขา" เกิดจากแผลเรื้อรังที่ผิวหนังที่เกิดขึ้นบริเวณเท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวานมักรักษาได้ช้า บางครั้งอาจถึงขั้นติดเชื้อร้ายแรงจนต้องตัดเข้าออก นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ จึงได้พัฒนาเจลแม่เหล็กชนิดใหม่ที่ช่วยให้ไม่ต้องตัดชิ้นเนื้อบางส่วนของร่างกายทิ้ง เนื่องจากเจลแม่เหล็กรักษาแผลชนิดนี้สามารถเพิ่มความเร็วในการสมานแผลได้เร็วขึ้น 3 เท่า

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ สร้างไฮโดรเจลชนิดพิเศษขึ้นมา วัสดุนี้ถูกนำไปใช้กับบาดแผลบนผ้าพันแผลโดยตรง ซึ่งมีอนุภาคแม่เหล็กขนาดเล็กพร้อมกับเซลล์ผิวหนังที่ได้รับการรับรองจาก FDA 2 ประเภท ได้แก่ เคราติโนไซต์ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการซ่อมแซมผิวหนัง และไฟโบรบลาสต์ที่สร้างเนื้อเยื่อเกี่ยวพันในผิวหนัง

ผู้ป่วยที่เป็นแผลที่เท้าจากเบาหวานมักถูกห้ามไม่ให้ลงน้ำหนักใด ๆ เนื่องจากการลงน้ำหนักที่เท้ามาก ๆ จะฆ่าเซลล์ผิวใหม่ที่เปราะบาง แต่การไม่ลงน้ำหนักที่เท้าเลยก็เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการบำบัด เพราะการกระตุ้นเชิงกลของผิวหนังจะกระตุ้นให้เกิดการเติบโตของเซลล์ผิวใหม่ ซึ่งจะช่วยให้บาดแผลหายได้ เจลแม่เหล็กที่นักวิจัยคิดค้นจึงจะเข้าไปช่วยคลี่คลายความย้อนแย้งกันนี้ โดยเมื่อบริเวณแผลสัมผัสกับสนามแม่เหล็กแบบไดนามิกที่เกิดจากอุปกรณ์ภายนอก อนุภาคแม่เหล็กจะตอบสนองโดยการเคลื่อนที่ไปรอบ ๆ แต่ไม่แรงจนเกินไปโดยจะเคลื่อนเซลล์ไปด้วย เซลล์เหล่านั้นมีปฏิกิริยากับเซลล์ผิวของผู้ป่วย ทำให้เป็นการออกกำลังกายที่อ่อนโยนแต่มีประสิทธิภาพ

ในการทดสอบกับหนู การรักษาด้วยเจลช่วยเพิ่มอัตราการเติบโตของไฟโบรบลาสต์ในผิวหนัง หรือเซลล์ผิวหนังประเภทหลักประมาณ 240% และยังเพิ่มอัตราการผลิตคอลลาเจนมากกว่า 2 เท่าอีกด้วย การรักษายังช่วยปรับปรุงการสื่อสารระหว่างเคราติโนไซต์และเซลล์อื่น ๆ โดยส่งเสริมการเติบโตของหลอดเลือดใหม่ที่บริเวณแผล

ทั้งนี้ หลักการที่ใช้งาน และการปรับตัวของเทคโนโลยี รวมถึงความสะดวกต่อการใช้งานโดยทั่วไปของผู้ป่วย ยังแสดงให้เห็นว่าสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสมานแผลอื่น ๆ ได้อีกนอกเหนือจากแผลเบาหวาน เช่น แผลไฟไหม้ และแผลเรื้อรังอื่น ๆ

ที่มาข้อมูล: newatlas, nus
ที่มาภาพ: nus
“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech

ข่าวที่เกี่ยวข้อง