เมื่อวันที่ 31 ต.ค.2566 นายภิญโญ ตรีเพชราภรณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ภายในเดือน พ.ย.2566 ธปท.จะมีการออกแก้ไขประกาศเรื่องหลักเกณฑ์การกำกับดูแลความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของสถาบันการเงินและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยได้ระบุถึงบทลงโทษ หากระบบโมบายแบงก์กิ้งของสถาบันการเงินขัดข้องนานเกินที่กำหนด
ทั้งนี้ได้กำหนดว่า ระบบโมบายแบงก์กิ้งของธนาคารจะขัดข้องหรือล่มได้ไม่เกิน 8 ชั่วโมงภายใน 1 ปี คือ การล่มต้องหยุดชะงัก แต่หากล่มนานเกิน 8 ชั่วโมงต่อปี จะมีบทลงโทษตามระดับความรุนแรงเริ่มจากตักเตือน สั่งให้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไข จนถึงโทษสูงสุดคือปรับสูงสุด 500,000 บาทต่อครั้ง และหากไม่ดำเนินการแก้ไขจะปรับเพิ่ม 5,000 บาทต่อวัน
บทลงโทษ แอปฯ ธนาคารล่ม โทษสูงสุดคือปรับสูงสุด 500,000 บาทต่อครั้ง
นายภิญโญ ระบุว่า จากการตรวจดูจากสถิติระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของธนาคารพาณิชย์ขัดข้อง พบว่าธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งมีอัตราการขัดข้อง หรือระบบโมบายแบงก์ล่มลดน้อยลงมาก ซึ่งเชื่อว่าการปรับปรุงประกาศการกำกับความเสี่ยงด้านไอที จะช่วยให้ธนาคารเร่งพัฒนาระบบและการขัดข้องของโมบายแบงก์กิ้งลดน้อยลงกว่าเดิม
ข้อมูลไตรมาส 3/2566 เกี่ยวกับการขัดข้องของระบบธนาคารพาณิชย์ พบว่า ธนาคารไทยพาณิชย์ 2 ครั้งนาน 1 ชั่วโมง, ธนาคารทหารไทยธนชาต 1 ครั้งนาน 1 ชั่วโมง และธนาคารกรุงเทพ 1 ครั้งนานน้อยกว่า 1 ชั่วโมง
ระบบโมบายแบงก์กิ้งของธนาคารจะขัดข้องหรือล่มได้ไม่เกิน 8 ชั่วโมงภายใน 1 ปี
เมื่อเทียบไตรมาส 2/2566 มีระบบโมบายแบงก์กิ้งธนาคารพาณิชย์ขัดข้องรวมกัน 5 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ขัดข้อง 2 ครั้ง ล่มนาน 5 ชั่วโมง, ธนาคารกรุงไทย 1 ครั้ง ล่มนาน 1 ชั่วโมง, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา 1 ครั้ง ล่มนาน 2 ชั่วโมง, ธนาคารกสิกรไทย 1 ครั้ง ล่มนาน 2 ชั่วโมง และธนาคารทหารไทยธนชาต ขัดข้อง 1 ครั้ง ล่มนานน้อยกว่า 1 ชั่วโมง
ส่วนระบบธนาคารพาณิชย์อื่น ๆ ในไตรมาส 3/2566 มีเพียงสาขาของธนาคารเกียรตินาคินภัทรเท่านั้นที่ขัดข้อง 1 ครั้งนาน 2 ชั่วโมง นอกจากนั้นทั้งอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้งและตู้เอทีเอ็มไม่มีการขัดข้องแม้แต่ครั้งเดียว
อ่านข่าวอื่นๆ
ศาลปกครองสูงสุด รับคำฟ้องถอนมติควบรวมทรู-ดีแทค
ราชกิจจาฯ ประกาศ "น้ำตาลทราย" เป็นสินค้าควบคุม 1 ปี
ฟรีวีซา "อินเดีย-ไต้หวัน" เที่ยวไทย 30 วันนาน 6 เดือน