วันนี้ (9 พ.ย.2566) นายยรรยง พวงราช ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะทำงานบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล เปิดเผยว่าหลังจากได้นัดประชุมคณะทำงานไปครั้งแรกเมื่อต้นสัปดาห์เพื่อพิจารณาแนวทางการบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายทั้งระบบ
ชาวไร่อ้อย
ทั้งความสมดุลด้านการบริโภคในประเทศ การส่งออก และด้านราคา โดยตั้งเป้าให้ได้ข้อสรุปภายใน 1 สัปดาห์ จากเดิมกำหนดไว้ 1 เดือน โดยจะนัดประชุมคณะทำงานอีกครั้งในวันที่ 10 พ.ย.2566 เพื่อพิจารณาให้จบ ก่อนที่จะเริ่มฤดูการหีบอ้อย แต่ถ้าประชุมไม่ทัน ก็จะเลื่อนเป็นวันที่ 15 พ.ย.2566
สำหรับแนวทางการสร้างความสมดุล ในด้านการบริโภค เห็นตรงกันปัจจุบันมีการบริโภคในประเทศประมาณ 2.5 ล้านตัน และส่งออกประมาณ 7.5 ล้านตัน ซึ่งส่วนนี้ไม่มีปัญหา เพราะระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย มีการบริหารจัดการได้ดีอยู่แล้ว ไม่มีปัญหาขาดแคลน
น้ำตาลทรายถุง
ส่วนด้านราคา คณะทำงานบริหารความสมดุลฯที่กระทรวงพาณิชย์ตั้งขึ้น ได้พิจารณาต้นทุนของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งชาวไร่อ้อย และโรงงานน้ำตาลทราย ในระบบแบ่งปันผลประโยชน์ 70 : 30 ว่าใครมีต้นทุนตรงไหนอย่างไร เพิ่มขึ้นหรือลดลง โดยกระทรวงพาณิชย์ จะทำงานร่วมกับชาวไร่อ้อย กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อหาข้อสรุปออกมาทั้งหมด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
หักดิบคุมราคา “น้ำตาลทราย” ใคร? ได้-เสีย ประโยชน์
เส้นทางค้า “ตลาดน้ำตาล” ราคาไทย-ไปต่างประเทศ
น้ำตาลทรายขาว
"ต้นทุนของชาวไร่อ้อย ที่ได้นำเสนอ เช่น ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง พลังงานต่าง ๆ และค่าขนส่งอ้อยไปโรงงาน ส่วนโรงงาน มีต้นทุนการผลิตอ้อยเป็นน้ำตาลทราย มีต้นทุนค่าขนส่งได้ให้ไปดูรายละเอียดให้ได้ข้อสรุปและนำเสนอคณะทำงานในวันที่ 10 พ.ย.2566"
ไร่อ้อย
ด้านนายกำธร กิตติโชติทรัพย์ นายกสมาคมกลุ่มชาวไร่อ้อยเขต 7 กาญจนบุรี กล่าวว่า ผลการหารือครั้งแรกถือว่ามีทิศทางที่ดี ชาวไร่อ้อยได้ให้รายละเอียดเรื่องต้นทุนการปลูกอ้อยและน้ำตาล และเห็นว่าจำเป็นจะต้องสรุปผลเรื่องของต้นทุนให้ชัดเจนและเรียบร้อย ก่อนที่จะมีการเปิดหีบในกลางเดือน พ.ย.นี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
ราชกิจจาฯ ประกาศ "น้ำตาลทราย" เป็นสินค้าควบคุม 1 ปี
กกร.ขึ้นบัญชีควบคุม "น้ำตาลทราย" ห้ามขายเกิน กก.ละ 25 บาท
น้ำตาลขึ้น 4บาท/กก. "ภูมิธรรม" สั่งตรึงราคาเฉพาะ "สต๊อกเก่า"