ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

รูดม่าน "Zipmex " บันทึกผู้เสียหาย ในวันไร้หวังได้เงินคืน

เศรษฐกิจ
2 ธ.ค. 66
12:19
8,371
Logo Thai PBS
รูดม่าน "Zipmex " บันทึกผู้เสียหาย ในวันไร้หวังได้เงินคืน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

เกือบ 2 ปีที่ผู้เสียหายมากกว่า 70,000 คน มูลค่าความเสียหาย 3,000 ล้านบาท หลังจาก “Zipmex Thailand” ประกาศระงับการเพิกถอนเงินบาท และเหรียญคริปโตเคอร์เรนซี  โดยผู้บริหาร Zipmex Thailand ให้เหตุผลว่า ความผันผวนของตลาดและปัญหาทางการเงินที่เกิดจากคู่ค้าทางธุรกิจหลักที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของบริษัท

และเพื่อรักษาเสถียรภาพของแพลตฟอร์ม บริษัทฯจึงระงับการถอนทุกกรณีชั่วคราวเมื่อวันที่ 20 ก.ค.2565 จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีความคืบหน้าว่า สุดท้ายแล้วผู้เสียหายที่ลงทะเบียนกว่า 400 คนจะได้เงินคืนหรือไม่ นอกจากนี้ยังมีผู้เสียหายอีกจำนวนมากที่ยังไม่ออกมาแสดงตัว

ทั้งนี้ “Zipmex” เป็นแพลตฟอร์มซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่เดียวในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานภาครัฐถึง 4 ประเทศ คือ ไทย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และออสเตรเลีย ถือเป็นอีกหนึ่ง Exchange ที่มีเหตุการณ์ที่น่าสนใจเกิดขึ้นในปี 2565 ไม่น้อยหน้า Bitkub

หลังเกิดเหตุดังกล่าว ตัวแทนกลุ่มผู้เสียหาย Zipmex Thailand เคยเข้ายื่นหนังสือร้องทุกข์กล่าวโทษกับทีมผู้บริหาร Zipmex ไทยแลนด์กับตำรวจกองบัญชาการสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 1(สอท.1) และกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ)เพื่อขอให้เข้าไปตรวจสอบและรับเป็นคดีพิเศษ เนื่องจากคดีดังกล่าวมีผู้เสียหายจำนวนมาก มูลค่าความเสียหายสูงถึง 3,000 ล้านบาท แต่คดีไม่คืบหน้า

เปิดใจผู้เสียหายZipmex Thailand

หนึ่งในผู้เสียหายในกลุ่มVIP เปิดใจกับ "ไทยพีเอสออนไลน์"ลงทุนซื้อเหรียญลูน่าและคริปโตเคอเรนซึ่กับบริษัทดังกล่าวจำนวน 500,000 บาท แม้ว่าตัวเลขจะไม่สูงแต่ก็เป็นเงินที่เก็บหอมรอมริบมาเพื่อหวังว่าจะให้เงินทำงานในยามเกษียณ

ขณะที่ผู้เสียหายบางรายมีมูลค่าความเสียหายตั้งแต่หลักหมื่นไปจนถึงหลักหลายล้านบาท บางรายมากถึง22ล้านบาทไม่รวมดอกเบี้ย ทำให้ผู้เสียหายบางคนอถึงขั้นถอดใจไม่หวังจะได้เงินคืนแต่จะฟ้องคดีอาญากับบริษัทและผู้บริหาร Zipmex Thailand แทน

"กล้วยหอมทองเสิงสาง" รุกตลาดเอเซีย ญี่ปุ่นสั่งซื้อ 5,000 ตัน

ตระกูลดังนั่งเป็นที่ปรึกษา-กรรมการเพียบ

สำหรับบริษัท Zipmex Thailand ในช่วงก่อตั้งมีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท หลังจากนั้นก็เพิ่มทุนเป็น 120 ล้านบาท โดยวิธีการบริหารจะแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน โดยขั้นแรก จะมีการเปิดระดมทุนจากกลุ่มธุรกิจรายใหญ่มัการลงทุนมูลค่า 2,200 ล้านบาท ผู้ร่วมทุนประกอบด้วย บมจ.แพลน บี มีเดีย (PLANB), บมจ.มาสเตอร์ แอด (MACO) และบจ.กรุงศรี ฟินโนเวต บริษัทในเครือธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) โดยมีกลุ่มที่มาจากตระกูลดังเข้ามาเป็นฝ่ายบริหารและมีชื่อเป็นกรรมการ เช่น ยิ้มวิไล-ลิ่มพงศ์พันธุ์-มหากิจศิริ ขณะที่การออกเหรียญ ZMT มี จะมีบุคคลใกล้ชิดซึ่งเป็นทีมที่ปรึกษาในหลายรัฐบาลร่วมด้วย

ผู้เสียหายรายหนึ่ง ระบุว่า หลังจากมีการระดมทุนสำเร็จ ได้มีการตั้งบริษัทลูก คือ  Zipmex เทคโนโลยี พบว่ามีการนำเอกสารไปใช้ลงทุน เช่น กู้ยืมเงินกันแล้วไม่ยอมคืน และมีการเปลี่ยนแปลงผู้สอบบัญชี ผู้ทำบัญชี ทุกปี สาเหตุที่ผู้เสียหายสามารถเข้าไปตรวจสอบเอกสารได้ เนื่องจากทางบริษัทฯได้ยื่นงบการเงินต่อกระทรวงพาณิชย์ จึงพบว่า มีการทำสัญญากู้ยืมระหว่างกันแล้วไม่ยอมคืนกัน มูลค่า 1,000 ล้านบาทไม่รวมดอกเบี้ย

แอบนำเงินผู้เสียหายค้ากำไร "สิงคโปร์"

จังหวะที่บริษัทเปิดระดมทุนเมื่อปี 2565 ทาง Zipmex Thailand ได้ประกาศว่ากำลังเจรจาระดมทุนกับบริษัท คอยเบสน์(Coinbase) ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลยักษ์ใหญ่ในสหรัฐฯเพื่อที่บริษัทจะอัพเกรดไปในระดับSeries B หากได้เงินทุนจากคอยเบสน์ มูลค่า 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ตัวแทนผู้เสียหาย กล่าวว่า ข้อสังเกตว่า ในช่วงที่บริษัทกำลังมีปัญหา แต่พบผู้บริหาร Zipmex ได้ใช้วิธีการชักชวนโดยโฆษณากับลูกค้าว่า ถ้าได้เงินจากคอยเบสน์มาทำให้มีเงินทุนหมุนเวียนมากขึ้น ซึ่งระหว่างการเจรจาเข้าใจว่าคอยเบสน์ก็ตรวจสอบบริษัทที่เขาจะเข้ามาลงทุนด้วยเช่นกัน สุดท้ายแล้วคอยเบสน์ก็ออกมาปฎิเสธไม่ร่วมทุนกับ Zipmex Thailand ในวันที่ 20 ก.ค.2565

ในระหว่างนั้น เกิดเหตุการณ์สำคัญ คือวันที่ 27 พ.ย. 2565 ทาง Zipmex ให้ลูกค้ากดปุ่มยอมรับ คนไทยเรียกว่า “ปุ่มนรก”โดยบริษัทอ้างกับศาลสิงคโปร์ว่าสินทรัพย์ของ Zipmex Thailand ถูกโอนด้วยความยินยอมของผู้เสียหายไทยเอง

ทั้งๆที่กลุ่มผู้เสียหายไทย Zipmex Thailand ไม่ทราบว่า ปุ่มที่กดยอมรับ คือ การยอมให้โยนทรัพย์สินของผู้ลุงทุนไปสิงคโปร์บริหารจัดการ และหากไม่กดปุ่มยอมรับก็จะเข้าสู่หน้าเว็บของบริษัทไม่ได้

ในฐานะผู้ลงทุน เรามองว่าไม่แฟร์ เพราะบริษัทปิดบังข้อมูล ซึ่งตามกฎหมายไทยสินทรัพย์บริษัทกับสินทรัพย์ของลูกค้าต้องแยกออกจากกัน และจะเอาไปหาผลประโยชน์ไม่ได้ ซึ่งทางซีอีโอ ซิมเม็กซ์ ทราบอยู่แล้ว เพราะเป็นนักกฎหมาย จึงไม่มีทางที่จะมาอ้างไม่รู้

ขายฝันให้เงินคืนผสห. 100 เปอร์เซ็นต์

อย่างไรก็ตาม แม้ผู้เสียหายได้ติดตามทวงสินทรัพย์คืนจากผู้บริหาร หรือซีอีโอ ซิมเม็กซ์ มาตลอดเกือบ 2 ปี คำตอบที่ได้รับ คือ การขายฝันให้ลูกค้าว่า ทุกคนจะได้คืน100 เปอร์เซ็นต์ เพราะขณะนี้ได้ยื่นแผนขอฟื้นฟูกิจ การไปที่ศาลสิงคโปร์แล้ว ซึ่งทุกคนก็รอคอยอย่างมีความหวังแม้ว่าจะนาน

แต่ผ่านไปปีครึ่งก็ไม่ได้เงินอย่างที่แจ้งไว้กับลูกค้าแต่อย่างใด เนื่องจากเขาหาผู้ลงทุนไม่ได้ เพราะการขอฟื้นฟูมีระยะเวลาของแผน แต่พอแผนไม่สำเร็จภายในที่ศาลกำหนดก็หมดอายุต้องทำแผนขึ้นมาใหม่

ยื่นฟื้นฟูรอบ2 ตัด Zipmexไทยและอินโดฯออก

วันที่ 20-21 ส.ค.2565 บริษัทฯได้ยื่นแผนฟื้นฟูฉบับที่ 2  เพื่อขอยืนฟื้นฟูกิจการ Zipmex Asia Pte Ltd กับ Zipmex Pte Ltd ซึ่งเป็นบริษัทที่อยู่ในสิงคโปร์ทั้ง 2 แห่ง และ Zipmex Australia Pty Ltd (จดทะเบียนในออสเตรเลีย)

ในขณะที่ Zipmex Thailand และ PT Zipmex Exchange Indonesia (จดทะเบียนในอินโดนีเซีย) ไม่ได้อยู่ในแผนสอง โดยอ้างว่า ไม่สามารถทำตามแผนเดิมได้สมบูรณ์ เพราะว่าผู้ลงทุนเก่ายกเลิก จึงทำให้ต้องยกเลิกแผนเก่าทั้งหมด

อึ้ง “ก.ล.ต.” แจงรู้พร้อมผู้เสียหาย

ผู้เสียหายจาก Zipmex กล่าวว่า ที่ทำให้ผู้เสียหายเจ็บปวด สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)ก็ไม่ทราบ แจ้งกับพวกเราว่าทราบพร้อมคนไทยตอนที่เกิดปัญหา ทำให้ผู้เสียหายไม่เข้าใจว่า ตอนเหตุการณ์เหรียญลูน่าล่มสลาย คนไทยถูกล็อกบัญชี ไม่ให้มีการถอนเงินออกจากบัญชี ในฐานะที่ก.ล.ต.ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูเรื่องนี้กลับไม่รู้ว่ามีการเอาทรัพย์สินของคนไทยไปสิงคโปร์

ล่าสุดเมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2566 ศาลสิงคโปร์เปิดให้ เจ้าหนี้ ขออนุมัติในการโหวต ลูกหนี้ คือ Zipmex สิงคโปร์ เปิดประชุมออนไลน์และให้เวลาสองสัปดาห์ ว่า ผู้เสียหายจะเห็นด้วย /ไม่เห็นด้วย/งดออกเสียง กับแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่ 2 สิ่งที่ผู้เสียหายมองว่า “ไม่แฟร์” คือ ตลอดระยะเวลาที่มีคดีที่ศาลสิงคโปร์

ทางผู้เสียหายคนไทยไม่ได้เดินทางไปขึ้นศาลเพื่อชี้แจงว่าคนไทยไม่ได้ยินยอมให้ Zipmex นำทรัพย์สินของคนไทยมาเทรดที่สิงคโปร์ มีแต่ทางผู้บริหาร Zipmex อ้างว่าผู้เสียหายทางไทยยินยอมให้นำสินทรัพย์มาเทรดที่สิงคโปร์ด้วยความสมัครใจ

ก.ล.ต.สั่งปรับ Zipmex ไป11 ล้านบาท สำหรับบริษัทและกรรมการ ซึ่งมูลค่ามันน้อยมากถ้าเทียบกับสินทรัพย์ของผู้เสียหาย และในส่วนของผู้บริหารมีเพียง ซีอีโอ ซิมเม็กซ์เพียงคนเดียวที่ถูกปรับ ในขณะที่กรรมการคนอื่นไม่โดนและไม่มีใครออกมาชี้แจง ซึ่งพอโดนปรับก็จ่ายเงินจบคดีไป แล้วก็ไม่เอคชั่นอะไรที่ศาลสิงคโปร์

ผู้เสียหายคนเดิมกล่าวอีกว่า มีการแอบไปขายสัญญาจองซื้อหายหุ้น Zipmex Thailand ซึ่งก็คือบริษัท วี เวนเจอร์ส เทคโนโลจีส์ จำกัด ที่มีนายเฉลิมชัย มหากิจศิริเป็นผู้ถือหุ้นและการขอฟื้นฟูกิจการรอบที่ 2 บริษัท วี เวนเจอร์ส เทคโนโลจีส์ จำกัดก็แอบทำสัญญาจองซื้อขายหุ้นอีก

โดยทางซีอีโอ ซิมเม็กซ์ ชี้แจงเพียงว่า คนไทยอย่าไปกลัว ตัวเขาจะหาผู้ลงทุนเพิ่มเพราะถ้าหาผู้ลงทุนเพิ่มปัญหาอยู่ที่เงินทุนก็จะต้องแก้ด้วยเงิน 

ผู้เสียหายกล่าวว่า วี เวนเจอร์ส เทคโนโลจีส์ มีส่วนครั้งแรก ตั้งแต่ช่วงเข้าไปยืนแผนฟื้นฟูกิจการครั้งแรก โดยไปทำสัญญาจองซื้อหุ้นก่อนศาลสิงคโปร์จะอนุมัติ และเมื่อขอแผนฟื้นฟูครั้งที่2 เขาก็ทำลักษณะนี้อีก

โดยเขียนระบุว่า การโอนขายหุ้นคราวนี้เขาไม่ได้เขียนจองซื้อหุ้นแต่เป็นการซื้อหุ้น และนำหุ้นของ Zipmex คนไทยไปโอนให้วี เวนเจอร์ส โดยจ่ายเงินเบื้องต้นไปแล้ว และโอนเงินส่งใบทรานสคริปใหผู้เสียหายดูการโอนเงินจองแล้ว

ถามว่า วี เวนเจอร์ส รู้เห็นหรือไม่ ไม่รู้ แต่พฤติกรรมซ้ำซากมาก ตั้งแต่ครั้งแรกที่ยื่นแผนแรกและแผนที่สองก็ทำเหมือนเดิม อย่างน้อยเรามองในสายผู้เสียหาย คุณเป็นตัวการร่วมเป็นผู้สนับสนุน ก็เป็นผู้ใช้หรือไม่

ก.ล.ต.ทำได้แค่จี้ Zipmex เร่งแก้ไข

โดยความเคลื่อนไหวล่าสุดของกลุ่มบริษัทZipmex ได้มีคำสั่งประกาศ ระงับซื้อขายและฝากสินทรัพย์ชั่ว คราวโดยให้มีผลทันทีเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2566 ที่ผ่านมา 

ขณะที่สิ่งที่ "ก.ล.ต."ทำได้ คือ สั่งการตามข้อ 16/ 1(3) ของประกาศดังกล่าว ให้ Zipmex ดำเนินการเพื่อให้สามารถดำรงสถานะเงินกองทุนได้ตามที่กำหนด และคำนึงถึงประโยชน์ของลูกค้าเป็นสำคัญ 

โดยขอให้ยื่นแผนการแก้ไขปัญหาการดำรงเงินกองทุนต่อ ก.ล.ต. ดำเนินการตามแผนการแก้ไขปัญหาการดำรงเงินกองทุนที่ได้ยื่นต่อ ก.ล.ต. ตามข้อ (1) เพื่อให้สามารถกลับมาดำรงเงินกองทุนภายในระยะเวลาแผนดังกล่าว

ดำเนินการให้ลูกค้าสามารถถอน หรือโอนย้ายทรัพย์สินเงินบาท และสินทรัพย์ดิจิทัล โดยไม่ได้รับข้อติดขัดในการดำเนินการดังกล่าว

ให้ Zipmex เตรียมความพร้อมของระบบงาน และบุคลากรในจำนวนที่เพียงพอต่อการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าและดำเนินการตามความประสงค์ของลูกค้าตามข้อ (3)

ในการนี้ลูกค้าทุกท่านยังสามารถถอนเงินบาทและสิน ทรัพย์ดิจิทัลที่อยู่ใน Trade Wallet ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ Zipmex และแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือได้ตามปกติจนถึงวันที่ 31 มกราคม 2567

อย่างไรก็ตามกรณีของสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทซื้อขายได้อย่างเดียว (Trade Only) ให้ติดต่อผ่านเจ้าหน้าที่ Customer Support เพื่อดำเนินการถอนเท่านั้น

และหลังจากวันที่ 31 มกราคม 2567 เมื่อบริษัท Zipmex ระงับการถอนสินทรัพย์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ ลูกค้าต้องติดต่อผ่านเจ้าหน้าที่ Customer Support เท่านั้น โดยสินทรัพย์ดิจิทัลอาจต้องใช้ระยะเวลา 7-14 วัน ขั้นตอนการถอนจึงจะแล้วเสร็จ

ทั้งนี้ กรณีที่ลูกค้าทำรายการถอนสินทรัพย์ผ่านเจ้าหน้าที่ Customer Support ลูกค้าต้องจัดเตรียมเอกสารประกอบเพื่อยืนยันตัวตนและพิสูจน์ความเป็นเจ้าของบัญชีที่แท้จริงด้วย

จึงเป็นมหากาพย์เรื่องยาวที่น่าติดตามว่า ผู้เสียหายทั้งหมดจะได้เงินคืนได้หรือไม่ หรือสุดท้ายเรื่องจะเงียบหายไปเหมือนเคยเป็นมา

สัญญาณเตือน ? นทท.จีนเมินเที่ยวไทย "ฟรีวีซา" สิ้นมนต์ขลัง

"Future Food" เทรนด์อาหารโลก อนาคตคนรุ่นใหม่ บนวิถียั่งยืน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง