ยาน EMIT ถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศเมื่อช่วงเดือนมิถุนายน ปี 2022 ปัจจุบันถูกติดตั้งอยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติ มีเป้าหมายหลักในการสำรวจหาแร่ธาตุ 10 ประเภทบนพื้นผิวของโลกเพื่อช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ศึกษาการแพร่กระจายของฝุ่นและผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ
อย่างไรก็ตาม EMIT ยังถูกใช้ในการตรวจจับการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกบนพื้นผิวของโลกได้อย่างแม่นยำอีกด้วย ปัจจุบัน EMIT สามารถระบุแหล่งกำเนิดก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่า 750 แหล่ง ตั้งแต่เริ่มปฏิบัติงานเมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2022 ที่ผ่านมา
EMIT Visualization
ในภาพนี้คือภาพจำลองของ EMIT ซึ่งถูกติดตั้งเป็นอุปกรณ์วิทยาศาสตร์อยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) โดย EMIT นั้นใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า “Spectrophotometer” ในการเก็บข้อมูลและการตรวจจับฝุ่นและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกบนพื้นผิวของโลก
Mineral Dust Sources
ในภาพนี้คือภาพแสดงแหล่งที่มาของฝุ่นในชั้นบรรยากาศที่ตรวจจับได้จากพื้นผิวโลก จะเห็นได้ว่าแหล่งที่มาของฝุ่นส่วนใหญ่นั้นมาจากทวีปแอฟริกาซึ่งประกอบไปด้วยทะเลทรายที่กว้างขวาง โดยฝุ่นเหล่านี้อาจถูกลมพัดขึ้นมาปนเปื้อนในชั้นบรรยากาศ และหากเกิดพายุก็กลายเป็นพายุฝุ่นได้นั่นเอง หลักการคล้ายกับการเกิดพายุฝุ่นบนดาวอังคารซึ่งเต็มไปด้วยทรายปกคลุมทั้งดาว การศึกษาพฤติกรรมของฝุ่นบนโลกจึงมีประโยชน์ต่อนักวิทยาศาสตร์ในการศึกษาภูมิอากาศของดาวนั่นเอง
Mineral Sources
ในภาพนี้คือภาพแสดงตำแหน่งของแร่ธาตุบนโลกซึ่งตรวจจับได้จาก EMIT บน ISS สีเหลืองในภาพคือแร่ “Goethite” ซึ่งเป็นแร่ธาตุเหล็กชนิดหนึ่ง สีแดงคือ “Hematite” ที่เป็นแร่ธาตุเหล็กหนักเช่นกัน ส่วนสีน้ำเงินในขึ้นแร่ธาตุ “Kaolinite” ซึ่งเป็นแร่ดินซิลิเกต
Greenhouse Detection
ในภาพนี้คือภาพการตรวจจับการปล่อยก๊าซมีเทนในพื้นที่ห่างไกลของประเทศลิเบีย เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2022 โดยในภาพนั้นคือการปล่อยก๊าซมีเทนปริมาณกว่า 444 กิโลกรัม/ชั่วโมง อย่างไรก็ตามการปลดปล่อยเท่านี้ถือว่าเล็กมากเมื่อเทียบกับการปลดปล่อยจากแหล่งที่เรียกว่า “Super-emitter”
ถึงกระนั้น การที่ EMIT สามารถตรวจจับการปลดปล่อยขนาดเล็กได้หมายความว่ามันมีความแม่นยำในการตรวจจับสูงมากนั่นเอง
ที่มาภาพ: NASA
ที่มาข้อมูล: NASA
“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech