ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ผลสำรวจชี้ "เน็ตช้าลง" หลังทรูควบรวมดีแทค

สังคม
15 ธ.ค. 66
12:59
8,529
Logo Thai PBS
ผลสำรวจชี้ "เน็ตช้าลง" หลังทรูควบรวมดีแทค
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน หลังทรูควบรวมดีแทค พบว่า ผลกระทบที่ผู้บริโภคสะท้อนเป็นอันดับ 1 คือ อินเทอร์เน็ตลดสปีด ผิดเงื่อนไข ร้อยละ 81 ทางมูลนิธิฯ เตรียมนำผลสำรวจนี้เสนอให้ กสทช. เร่งดำเนินการตรวจสอบผู้ประกอบการเพื่อแก้ไขปัญหา

วันนี้ (15 ธ.ค.2566) นางนฤมล เมฆบริสุทธิ์ รองผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ระบุว่า ผลการสำรวจความคิดเห็นผลกระทบของผู้บริโภค หลังการควบรวมธุรกิจโทรคมนาคมระหว่าง ทรูกับดีแทค (TRUE-DTAC) โดยสำรวจตั้งแต่วันที่ 9-23 พ.ย.2566 มีผู้ตอบแบบสำรวจเกือบ 3,000 คน

พบว่า ปัญหาใหญ่ที่สุดถึงร้อยละ 81 คือ สัญญาณอินเตอร์เน็ตช้า, สัญญาณหลุดบ่อย, โปรโมชันเดิมหมดต้องใช้โปรโมชันที่แพงขึ้น, ค่าแพ็คเกจ ราคาเท่ากันหมดทำให้ไม่มีทางเลือก, และ คอลเซ็นเตอร์ โทรติดยาก

ผู้บริโภคที่ตอบแบบสำรวจกลุ่มนี้ มีข้อเสนอแนะไปยังผู้ให้บริหารโทรศัพท์มือถือทุกเครือข่าย ต้องปรับปรุงคุณภาพสัญญาณอินเตอร์เน็ตให้ดีกว่าเดิม หรือ ดีเท่ากับช่วงก่อนควบรวมกิจการ และสัญญาณความเร็วต้องใช้ได้จริงตามแพคเกจที่ลูกค้าซื้อ ส่วนเพดานค่าบริการต้องลดเฉลี่ยลงร้อยละ 12 ทันที รวมทั้งเสาสัญญาณควรนำไปติดตั้งในพื้นที่ห่างไกลเพื่อขยายจุดรับสัญญาณ

จากผลสำรวจนี้ ทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจะนำไปเสนอต่อผู้ให้บริการและ กสทช. ให้ดำเนินการตรวจสอบและแก้ไขปัญหา

นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา อดีตกรรมการ กสทช. ระบุว่า ผลสำรวจนี้สะท้อนปัญหาจากผู้ใช้บริการจริง ทาง กสทช.ควรเร่งตรวจสอบศึกษาผลกระทบ การควบรวมเครือข่ายมือถือ กำหนดบทลงโทษจริงจังกับผู้ประกอบการ รวมทั้งต้องให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการเอาผิดผู้ประกอบการ

อดีตกรรมการ กสทช. ระบุว่า กรณีมีผู้ร้องเรียนเรื่องการลดจำนวนเสาสัญญาณที่อยู่ใกล้กันเพื่อบริหารต้นทุน ไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน ของเสาสัญญาณทรูและดีแทค แต่จำนวนผู้ใช้สัญญาณมาจาก 2 โครงข่ายจึงแย่งกันใช้มากขึ้น ทำให้ความเร็วสัญญาณลดลง ซึ่ง กสทช. ควรเข้าไปตรวจสอบ เพราะการลดจำนวนเสาสัญญาณ ต้องขออนุญาต กสทช. หากไม่ขออนุญาตถือว่าผิดกฎหมาย เพราะกฎหมายระบุว่า การพักหรือหยุดให้บริการ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนจะต้องขอความเห็นชอบก่อน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง