วันนี้ (21 ธ.ค.2566) รศ.พ.ต.ท.กฤษณพงค์ พูตระกูล รองอธิการบดีและประธานกรรมการคณะอาชญาวิทยาฯ ม.รังสิต เปิดเผยถึงกรณี ศาลมุกดาหารมีคำพิพากษาสั่งจำคุก 20 ปี นายไชย์พล วิภา หรือ ลุงพล ใน 2 ข้อหา คือ กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย จำคุก 10 ปี ฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปีไปเสียจากบิดามารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควร จำคุก 10 ปี และยกฟ้อง น.ส.สมพร หรือ ป้าแต๋น หลาบโพธิ์ จำเลยที่ 2
- ศาลสั่งจำคุก "ลุงพล" 20 ปี คดี "น้องชมพู่" ยกฟ้อง "ป้าแต๋น"
- คำพิพากษาฉบับเต็ม เส้นผม-มือถือ มัดคุก 20 ปี "ลุงพล" คดี "ชมพู่"
โดยมองว่าคดีนี้มีพยานหลักฐานค่อนข้างจำกัด ไม่ว่าจะพยานบุคคล พยานแวดล้อม เพราะเนื่องจากบ้านน้องชมพู่ไปจุดเกิดเหตุไม่มีกล้องวงจรปิดใดๆ ต้องอาศัยพยานบุคคล พยานแวดล้อมที่เห็นในขณะนั้น ประกอบกับผู้ก่อเหตุมีความใกล้ชิดเป็นเครือญาติ การจะพิสูจน์ถึงสาเหตุ และเจตนา แรงจูงใจต่างๆ ในการก่อเหตุคดีนี้ เป็นเรื่องท้าทายของเจ้าหน้าที่ อย่างไรก็ตามเส้นผมเป็นหนึ่งในหลักฐานสำคัญจนนำไปสู่คำพิพากษาในคดีนี้ สอดรับกับพยานหลักฐานที่ตำรวจมีด้วย
ในการต่อสู้คดีทางทนายจำเลยจะยกประเด็นใดขึ้นมาต่อสู้ เพื่อหักล้างพยานหลักฐานของฝ่ายโจทก์ ซึ่งทางตำรวจ พนักงานอัยการ ก็จะปิดช่องในประเด็นเหล่านี้พอสมควร แต่ต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาล
รศ.พ.ต.ท.กฤษณพงค์ ระบุว่า เส้นผมที่พบที่จุดเกิดเหตุมีร่องรอยการถูกตัดโดยของแข็งที่มีคม ซึ่งสอดรับกับเส้นผมที่พบของรถจำเลย ผมที่พบในจำนวน 16 เส้น มี 1 เส้น รอยตัดองศาการตัดเข้ากันได้ ส่วนกรณียังหาวัตถุที่ใช้ในการตัดผมไม่เจอซึ่งเป็นการเห็นพ้องต้องกันแล้วว่าระหว่างสองสถานที่ แต่เส้นผมเข้ากันได้ จึงเป็นจุดที่เชื่อมโยงได้ถึงแม้จะไม่เจอวัตถุที่ใช้ในการตัดก็ตาม
ทั้งนี้การปิดกั้นสถานที่เกิดเหตุมีความสำคัญมาก ในการรวบรวมพยานหลักฐานและร่องรอยต่างๆ ซึ่งถ้าประชาชน หรือผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานถึงที่เกิดเหตุก่อน หน้าที่หลักคือไม่แตะต้อง และปิดสถานที่ ก่อนแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจมาทำการตรวจสอบ
เนื่องจากคดีนี้มีความแตกต่างจากคดีอื่นๆ ในส่วนที่ผู้พบศพเป็นจำเลย และยังมีประชาชนในพื้นที่ที่ออกกันช่วยตามหา และมีการสัมผัสเนื้อตัวต่างๆ ของผู้เสียชีวิต รวมทั้งยังมีประชาชนในพื้นที่ที่ออกกันช่วยตามหา อาจจะเป็นเหตุให้พยานหลักฐานเลือนลาง จึงจำเป็นต้องอาศัยพยานหลักฐานอื่นๆ เพื่อพิสูจน์ให้ศาลเหตุถึงความเชื่อมโยง ถ้าพยานหลักฐานในที่เกิดเหตุมีความสมบูรณ์ที่สุด ก็จะทำให้การดำเนินคดีกับผู้ต้องสงสัย หรือผู้กระทำความผิดเป็นไปง่ายขึ้น ในทางกลับวัตถุเจือจางและวัตถุปนเปื้อนโอกาสที่จะนำผู้ต้องหามาลงโทษลดน้อยลง
โจทก์ต้องมีหน้าที่นำสืบให้ศาลเห็นว่าจำเลยมีเจตนาฆ่า มีเจตนาอย่างไร เช่นอาจจะโกรธเคืองกันมาก่อน หรือมีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกันมาก่อน แต่ในกรณีนี้มีความแตกต่างตรงที่เป็นเด็ก 3 ขวบ โอกาสที่จะนำสืบให้ศาลเห็นและเชื่อว่ามีเจตนา ส่วนตัวมองว่าค่อนข้างที่จะท้าทายและทำได้ยากประกอบกับพยานหลักฐานที่มีอยู่ก็ค่อนข้างจำกัด ในเมื่อลงโทษในข้อหาเจตนาฆ่าไม่ได้ แต่ลงโทษประมาทให้ถึงแก่ความตายได้แสดงว่าศาลเชื่อว่ามีการพาไปจริง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ศาลให้ประกัน "ลุงพล" 780,000 บาท-อุทธรณ์ภายใน 30 วัน
หน้าตัดเส้นผม "น้องชมพู่" กุญแจไขคดีฆาตกรรม มัด "ลุงพล"
ปรากฏการณ์ "ลุงพล" จากผู้ต้องหาสู่ "เซเลบโลกออนไลน์"
จัดพิธีบายศรีสู่ขวัญ "ลุงพล-ป้าแต๋น" หลังศาลตัดสินจำคุก 20 ปี