วันนี้(22 ธ.ค.2566) นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร ผู้ช่วยผู้จัดการอาวุโสสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์การเรียนรู้สุขภาวะ สสส. แถลง จับตาทิศทางสุขภาพของคนไทย 2567 (ThaiHealth Watch 2024) : Next Gen Living คุณภาพชีวิตในอนาคต จากราย งานสุขภาพของคนไทยปี 2566 และกระแสความสนใจในสื่อโลกออนไลน์
พบมี 7 ประเด็นสำคัญ คือ การปรับมุมมองเปลี่ยนความคิด ไทยต้องเผชิญปัญหาครอบครัวข้ามรุ่น ขณะนี้พบว่าประชากรในแถบเอเชียแปซิฟิคครองตัวเป็นโสดถึง 41% ส่งผลให้อัตราวัยแรงงานลดลง
ขณะเดียวกันไทย เข้าสู่ภาวะผู้สูงอายุเต็มตัว ไม่ต่างกับหลายประเทศทั่วโลก ทุกฝ่ายจึงเร่งรณรงค์เพิ่มอัตราประชากรแรกเกิดให้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีปัญหาทางด้านการเงิน โดยหนุ่มสาวต้องดูแลผู้สูงอายุเผชิญภาวะความเครียดทางเศรษฐกิจการเงินและสภาวะจิตใจ
นางเบญจมาภรณ์ กล่าวอีกว่า ประเด็นที่ 2 พบปัญหาภาวะติดหวาน พบว่าเด็กหนึ่งในสามรับประทานน้ำตาลทุกวัน อัตราเฉลี่ยของการบริโภคน้ำตาลของคนไทยเพิ่มสูงขึ้นถึงวันละ 25 ช้อนชา คิดเป็น 4 เท่า ของการบริโภคน้ำตาลที่องค์การอนามัยโลกกำหนดที่วันละ6 ช้อนชา
ขณะนี้ภาวะป่วยด้วยโรคอ้วน เบาหวานในผู้ที่มีอายุน้อยลง ทำให้ต้นทุนทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคอ้วนหรือโรคเรื้อรังเพิ่มมากขึ้นเป็น 12,100 ล้านบาท
รักษาการผ.อ.ศูนย์การเรียนรู้สุขภาวะสสส. กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังพบปัญหาเยาวชนอายุ 15 ปี เล่นพนันทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ โดยพฤติกรรม การแชร์หรือรีวิวการใช้สินค้าแบรนด์เนม จูงใจให้เยาวชนต้องหาเงิน ซึ่งการหารายได้ของเยาวชนในปัจจุบันต่างจากอดีตเพียงแค่ขายของออนไลน์ ก็ได้เงินโดยง่าย
ประเด็นที่ 4 คือ การจำหน่ายสุราท้องถิ่นนอกระบบและคุณค่าความหลากหลายบนความเสี่ยงทางการควบคุม
นางเบญจมาภรณ์ กล่าวอีกว่า ปัญหาสำคัญไม่ควรมองข้ามคือ เยาวชนเข้าถึงยาเสพติดได้ง่ายขึ้น ผ่านเข้ามาช่องทางออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นกระท่อมหรือกัญชาเพียงแค่สอบถามในโลกออนไลน์ข้อมูลทั้งหมดจะปรากฏทันที และเป็นต้นตอที่นำไปสู่ความรุนแรงในครอบครัวเกิดปัญหาการเงินและปัญหาปัญหาสิ่งแวดล้อม
ส่วนประเด็นที่ 6 คือ ปัญหาฝุ่นละออง Pm 2.5 ซึ่งปัจจุบันไม่จำกัดแค่การเผาในที่โล่ง แต่ยังเกิดจากอุตสาหกรรม การจราจรและสภาวะโลกร้อน จึงเป็นปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข
นางเบญจมาภรณ์ กล่าวอีกว่า สำหรับประเด็นสุดท้าย คือ ปัญหาโลกเดือด ซึ่งส่งผลสะเทือนไทยว่าจะหาทางออกในวิกฤตความมั่นคงของอาหารอย่างไร
ปัจจุบันพบว่ากลไกการบริหารจัดการอาหารและการจัด การพื้นที่สาธารณะในชุมชนในการผลิตอาหารต้องมีความปลอดภัยสร้างรายได้และความมั่นคงอย่างยั่งยืนให้กับประชาชน แต่ที่ผ่านมาไม่มีคนสนใจเรื่องการใช้สารเคมี ปกป้องระบบนิเวศ