ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"มะเร็งปอด" สัมพันธ์ชัด Pm 2.5 ดันพ.ร.บ.อากาศสะอาด ทางรอด

สังคม
26 ธ.ค. 66
14:32
740
Logo Thai PBS
"มะเร็งปอด" สัมพันธ์ชัด Pm 2.5 ดันพ.ร.บ.อากาศสะอาด ทางรอด
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

แม้ผลสำรวจผลขององค์การอนามัยโลกจะระบุว่า 99 % ของประชากรทั่วโลกอยู่ในพื้นที่มีมลพิษทางอากาศสูง และ 7 ล้านคน เสียชีวิตก่อนเวลาอันควร จากปัญหามลพิษอากาศ และ 1 ใน 10 คน เป็น เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยสาเหตุการเสียชีวิตมาจากป่วยติดเชื้อนิวโมเนีย หรือติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง จำนวน 360,000 คน

แต่สำหรับประเทศไทย หากนับย้อนกลับไป 5 ปี คนไทยเพิ่งเริ่มจะรู้จักฝุ่นละอองเล็กจิ๋ว หรือ Pm2.5 โดยพบในภาคเหนือก่อน และตามมาด้วย ในพื้นที่เขตเมือง เช่น กรุงเทพมหานคร ท่ามกลางสภาพอากาศที่ขมุกขมัว คล้ายครึ้มฟ้าครึ้มฝน ไม่มีแสงแดด หากข้อเท็จจริง คือ สภาพอากาศอับ ลมไม่พัดผ่าน แดดส่องไม่ถึง ส่งผลให้ผู้ป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ และภูมิแพ้ ร่างกายจะมีความอ่อนไหวอย่างชัดเจน เช่น น้ำตาไหล ไอจาม หอบ และหายใจไม่ออก 

นพ.อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ปัจจัยการเกิดฝุ่น Pm2.5 ของไทย ในแต่ละสภาพพื้นที่แตกต่างกัน แหล่งกำเนิดของฝุ่นเล็กจิ๋วทางภาคเหนือ เกิดจาก ไฟป่า การเผาเศษวัสดุการเกษตร และหมอกควันข้ามแดน , ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การเผาเศษวัสดุการเกษตร ,หมอกควันข้ามแดน และการเผาริมทาง

ส่วนภาคกลาง การเผาเศษวัสดุการเกษตร ,ไฟป่า และหมอกควันข้ามแดน กทม.ปละปริมณฑล มาจาก ยานพาหนะ ,การเผาในที่โล่ง และ โรงงานอุตสาหกรรม ส่วนภาคใต้ หมอกควันข้ามแดน ตามฤดูกาล

ในปี 2566 พบว่า ปัญหาฝุ่นควันข้ามแดนในพื้นที่ภาคใต้ลดลง เชื่อว่า มาจากการเจรจาเพื่อแก้ปัญหาระหว่างไทย-มาเลเซีย เรื่องการหยุดเผา ขณะที่ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ พบว่า ในปี 2565 ปัญหาฝุ่น Pm2.5 ลดลง เนื่องจากสาเหคุการระบาดของโควิด-19 แต่เมื่อกลับสู่ภาวะปกติ ในปี 2566 กลับพบปัญหาฝุ่น Pm2.5 เกิดเร็วขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเดือนกันยายน-เมษายน

ฝุ่นพิษ Pm2.5 สัมพันธ์มะเร็งปอด

นพ.อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย

นพ.อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย

นพ.อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย

นพ.อรรถพล กล่าวว่า สำหรับอัตราผู้ป่วยตั้งแต่ปี 2563 -2566 พบกลุ่มโรคกลุ่มระบบทางเดินหายใจเพิ่มสูงขึ้น 33.9% โรคหัวใจขาดเลือด 46% โรคตา 20 % โรคผิวหนัง 9.1% และมะเร็งปอดเพิ่มสูงขึ้น ปัจจุบันมะเร็งปอด ถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร และติด 1 ใน 5 ของมะเร็งที่คร่าชีวิตคนไทย และแม้ไม่สูบบุหรี่ก็พบคนเสียชีวิตจากมะเร็งปอด 1.6 ล้านคน และคาดว่าในปี 2030 จะพบคนเสียชีวิตจากมะเร็งปอดถึง 2.89 ล้านคน

สัญญาณร่างกายเผชิญกับฝุ่น Pm2.5 คือ หายใจลำบาก จมูกบวม เหนื่อยง่าย เนื่องจากฝุ่น Pm2.5 มีขนาดเล็กมากก็จะเข้าสู่กระแสเลือด ส่งผลต่อหัวใจและหลอดเลือด

ข้อมูลจากการศึกษาของเทศมณฑล สาธารณรัฐประชาชนจีน ระบุว่า การสัมผัสกับ Pm2.5 เพิ่มขึ้น 10 ไมโครกรัม จะส่งผลให้เกิดอุบัติการณ์ของมะเร็งปอดสูงขึ้น ในผู้ชาย 4.20% และ ในผู้หญิง 2.48 % สอดคล้องกับข้อมูลการศึกษาในประเทศยุโรป ที่พบว่า การสัมผัสกับ Pm2.5ที่เพิ่มขึ้น 5 ไมโครกรัม มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของมะเร็งปอด 1.18 เท่า และข้อมูลของสหรัฐอเมริกา ที่หากสัมผัสกับ Pm2.5ที่เพิ่มขึ้น 10 ไมโครกรัม มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของมะเร็งปอด 1.19 เท่า

ขณะที่ข้อมูลจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ( สสส.) พบว่า วงรอบการเกิดฝุ่นจิ๋ว Pm2.5 พบได้เร็วมากขึ้น จากเดิม พบต้นฤดูหนาวในปลายธันวาคม เป็น ต้นเดือนพฤศจิกายน ซึ่งข้อมูลตัวเลขผู้ป่วยโรคเกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ ของกระทรวงสาธารณสุข ระหว่าง 1 ม.ค.-9 มี.ค. 2566 พบมากถึง 1,730,976 คน

รศ.พญ.บุษยามาส ชีวสกุลยง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระบุว่า ขนาดโมเลกุลของฝุ่น Pm 2.5 เล็กมากจนไม่สามารถมองได้ด้วยตาเปล่า เพราะมีขนาดแค่ 2.5 ไมครอน เมื่อฝุ่น Pm2.5 เข้าสู่ปอดจะก่อให้เกิดอาการอับเสบ และกลายพันธุ์ของดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอ หากได้รับในปริมาณมากและเวลานานจะทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด ชนิดที่สัมพันธ์กับ Pm2.5 อะดิโนคาร์ซิโนมา ( Adenocarcinoma)

ผู้หญิงมีโอกาสเป็นมะเร็งชนิดนี้มากกว่าผู้ชาย ส่วนผู้ที่สูบบุหรี่อยู่แล้วมีโอกาสเป็นมะเร็งเพิ่มถึง 2 เท่า และในผู้สูงอายุ พบโรคสัมพันธ์กับมลพิษทางอากาศ เพิ่มมากขึ้นในปี 2560-2563 รวม 4 โรค ได้แก่ โรคหัวใจหลอดเลือด ,โรคหลอดเลือดสมอง,โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคมะเร็งปอด

 หนุนแก้ปัญหาฝุ่นพิษสร้าง "สภาลมหายใจ"

ปฎิเสธไม่ได้ว่าพื้นที่ภาคเหนือ โดยเฉพาะจ.เชียงใหม่ ซึ่งต้องเผชิญปัญหาฝุ่นจิ๋วอย่างหนัก และเคยติดอันดับ 1 คุณภาพอากาศแย่ที่สุดในโลก จากการประเมินของ เว็บไซต์ iqair.com เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2566 วลา 09.00 น. วัด Pm 2.5 วัดได้ 162 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

นายชัชวาลย์ ทองดีเลิศ ประธานคณะกรรมการอำนวยการสภาลมหายใจเชียงใหม่ กล่าวว่า สถานการณ์ฝุ่นPm 2.5 หนักขึ้นทุกปี และแถบทุกภาคของประเทศไทย ทั้ง ภาคเหนือ อิสาน ใต้ และกรุงเทพมหานคร แต่กลไกการแก้ปัญหาฝุ่นที่ผ่านมา ยังนิยมทำกันเป็นอีเว้นท์ มีการจัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะหน้า เพื่อแก้ไขปัญหาแบบชั่วคราว และไม่ได้มีการวิเคราะห์ถึงปัญหาอย่างจริงจัง แม้แนวโน้มล่าสุดในการแก้ปัญหาเริ่มส่อเค้าดีขึ้น จากการมี พ.ร.บ.อากาศสะอาด และประกอบกับแต่ละพื้นที่ เริ่มมีการจัดตั้งสภาพลมหายใจ จึงเชื่อว่า เสียงสะท้อนของคนในพื้นที่ จะมีส่วนเข้ามาแก้ไขปัญหาได้ โดยเฉพาะในพื้นที่กทม.

ปรากฎการณ์ยืนงงในดงฝุ่น ใช้วิธีแก้ปัญหาที่ผิดพลาดมีมาแล้ว ตั้งแต่ วิเคราะห์ปัญหาผิด อคติโทษชาวบ้านเผาป่า แท้จริงปัญหาการคมนาคม และการเผาของประเทศเพื่อนบ้านก็มีส่วน เน้นใครเผาจับ แต่ไม่ดูบริบทพื้นที่และสภาพผืนป่า ที่ จ. เชียงใหม่ มีผืนป่า 9 ล้านไร่ จำนวนนี้เป็นป่าผลัดใบ 7 ล้านไร่ การผลัดใบของต้นไม้ มีมากถึง 1-2 ตันต่อปี จะต้องทำอย่างไรในส่วนนี้

ดันพ.ร.บ.อากาศสะอาด แก้ปัญหา Pm2.5

นายชัชวาล กล่าวว่า ตามประกาศจังหวัดเชียงใหม่ เรื่องห้ามการเผาทุกชนิด ยกเว้นพื้นที่ตามแผนการบริหารจัดการเชื้อเพลิง ผู้ฝ่าฝืนมีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 25,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ และยังมีการให้รางวัลแก่ผู้แจ้งเบาะแสการเผาอีก 10,000 บาท ฝ่าฝืนจำคุก 3 เดือน หรือปรับ 25,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับไปแล้ว และมีผู้ถูกดำเนินคดีร่วม 1,000 คดี ซึ่งหากมีเฉพาะเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย ไม่เพียงพอ

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง:รู้จักร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาด "สู้ฝุ่น PM2.5" เร่งออก กม.รอง 22 ฉบับ

จึงต้องมีการให้ความรู้กับประชาชนด้วย เพื่อลดต้นกำเนิดของฝุ่น มีการวางแผนบริหารจัดการเชื้อเพลิงแบบควบคุม สำรวจข้อมูลระดับพื้นที่ ผ่านแอพพลิเคชั่น FireD ดูจุดเกิดฮอตสปอร์ตที่มีค่ามาตรฐานในพื้นที่ เพื่อวางแผนบริหารจัดการ และเชื่อว่า พ.ร.บ.อากาศสะอาดจะเข้ามาแก้ไขปัญหาแบบองค์รวมหากได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

การมีห้องปลอดฝุ่นในโรงเรียน และคาเฟ่ แต่การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ต้องมีกฎหมายที่เน้นป้องกัน ดูแลทั้งระบบ และตลอดเวลา มีงบประมาณสนับสนุนทั้งปี เชื่อว่าจะแก้ไขปัญหาได้

การขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาฝุ่นขนาดเล็ก Pm2.5 จะสำเร็จได้ต้องอาศัยทุกฝ่ายร่วมตระหนัก และใช้กลไกทั้งของภาครัฐและประชาชนร่วมแก้ไข เพื่อช่วยคืนอากาศสะอาดให้กับทุกชีวิต

ข่าวที่เกี่ยวข้อง