ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ตัวแรก! อพวช.ขึ้นทะเบียน "ออร์ฟิช" ศึกษาอนุกรมวิธาน

Logo Thai PBS
ตัวแรก! อพวช.ขึ้นทะเบียน "ออร์ฟิช" ศึกษาอนุกรมวิธาน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
อพวช.ขึ้นทะเบียน "ออร์ฟิช" รายงานทางการครั้งแรกจากทะเลสตูล เตรียมส่งเข้ามาเก็บรักษาเป็นสมบัติชาติในพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา ใช้เทคนิคการดองพร้อมเตรียมศึกษาอนุกรมวิธาน ด้านนักวิชาการทางทะเล ชี้ปรากฎการณ์ IOD มวลน้ำเย็นทำปลาพลัดหลงเข้าน้ำตื้น

กรณีโลกออนไลน์พบออร์ฟิช (oarfish) ปลาทะเลน้ำลึกที่ระบุว่าจับได้แถวทะเล จ.สตูล สร้างความฮือฮาในวงการผู้เชี่ยวชาญด้านปลา และถือเป็นรายงานอย่างเป็นทางการแรกในประเทศไทย

แม้จะยังเป็นปริศนาว่า ออร์ฟิช ความยาว 2.7 เมตรพลัดหลงเข้ามาในทะเลอันดามันของไทย ด้วยเหตุผลทางธรรมชาติหรือเป็นการเตือนภัยเหตุแผ่นดินไหวหรือไม่ แต่ในมุมของนักวิชาการทางทะเล และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ให้ข้อมูลตรงกันว่าอาจมาจากอิทธิพลของปรากฏการณ์ IOD  

คาดออร์ฟิช มาถึงทะเลอันดามันของประเทศไทยได้ เพราะผลกระทบของกระแสน้ำจากปรากฏการณ์ IOD  

คำยืนยันนี้ ผศ.ดร.สุภฎา คีรีรัฐนิคม อาจารย์ประจำสาขาวิทยาศาสตร์การประมงและทรัพยากรทางน้ำ คณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล ม.ทักษิณ เผยแพร่ผ่านเพจวิทยาศาสตร์การประมงและทรัพยากรทางน้ำ บอกถึงปัจจัยที่ทำให้ออร์ฟิช พลัดหลงเข้าอันดามัน

นักวิชาการ บอกว่า ออร์ฟิช ปลาริบบิ้น หรือปลาพญานาค เป็นปลาทะเลลึก อา ศัยในทะเลในชั้น Mesopelagic Zone ความลึกตั้งแต่ 201-1,000 เมตรกินแพลงก์ตอน กุ้ง หมึก ขนาดเล็ก เป็นอาหาร

ศ.ดร.สุภฎา คีรีรัฐนิคม อาจารย์ประจำสาขาวิทยาศาสตร์การประมงและทรัพยากรทางน้ำ คณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล ม.ทักษิณ

ศ.ดร.สุภฎา คีรีรัฐนิคม อาจารย์ประจำสาขาวิทยาศาสตร์การประมงและทรัพยากรทางน้ำ คณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล ม.ทักษิณ

ศ.ดร.สุภฎา คีรีรัฐนิคม อาจารย์ประจำสาขาวิทยาศาสตร์การประมงและทรัพยากรทางน้ำ คณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล ม.ทักษิณ

การพบในไทยทะเลลึกแค่ 100 เมตร ค่อนข้างตื่นเต้น ถือเป็นรายงานอย่างเป็นทางการแรกในไทย การอพยพหรือเคลื่อนย้ายจากทะเลลึกเข้าในเขตน้ำตื้น อาจจะด้วยเหตุผลหลายประการ ที่มีการเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนตัวของกระแสน้ำเย็นเข้าใกล้ฝั่ง และการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ทำให้กระแสน้ำมีการเปลี่ยนแปลง 

ปลาตัวนี้ อาจจะไม่สบายทรงตัวไม่ได้ จึงต้องอพยพ และโดนกระแสน้ำพัดพาเข้ามาในเขตน้ำตื้น และถูกจับในพื้นที่ทะเลไทย ตามธรรมชาติออร์ฟิช อยู่ในชั้นนำลึกชั้น Mesopelagic Zone ซึ่งกระแสน้ำค่อนข้างอ่อน และออร์ฟิชจะลอยตัวนิ่งๆ 
<"">

"ออร์ฟิช" ปลาริบบิ้น ปลาพญานาค ตัวแรกที่มีรายงานเป็นทางการของไทย ( Kamonwan Kinlong นักวิชาการประมง จ.สตูล)

ออร์ฟิช ความเชื่ออสุรกายใต้ทะเล-แผ่นดินไหว

กระนั้นก็ตาม ผศ.ดร.สุภฎา ระบุว่า ในญี่ปุ่น และแถบยุโรปมีการพูดเรื่องปลาตัวนี้ว่าเป็นอสุรกายในทะเล เป็นเรื่องที่ในญี่ปุ่นเองมีความเชื่อ เพราะมีหลายครั้งที่การปรากฏตัวของปลาตัวนี้ จะก่อให้เกิดแผ่นดินไหวได้ แม้ว่าอาจจเป็นไปได้ที่ปลาเข้ามาตามกระแสน้ำพัดเข้ามาเอง

การที่ออร์ฟิช เข้ามาใกล้ฝั่งเกิดขึ้น ด้วยสาเหตุจากกระแสน้ำในชั้นลึกไหลรุนแรง เพราะการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก แต่ไม่ได้ยืนยันว่า อาจจะมีความสัมพันธ์กับแผ่นดินไหว แต่ในญี่ปุ่นเอง การค้นพบปลาตัวนี้ไม่ได้หมายความว่าจะเกิดแผ่นดินไหวทุกครั้งเพียงแค่บางครั้งเท่านั้น ที่มีการพบปรากฏการณ์เช่นนี้ 

ขึ้นทะเบียน "ออร์ฟืช" เป็นสมบัติชาติตัวแรก

ขณะที่ขั้นตอนการรับส่ง "ออร์ฟืช" ปลาทะเลลึกตัวแรกที่จับได้ในทะเลสตูล ซึ่งถือเป็นรายงานแรกในทะเลไทย มีการประสานจากผู้เชี่ยวชาญกรมประมง เพื่อนำมาเก็บรักษาเป็นสมบัติชาติภายใต้พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) 

วัชระ สงวนสมบัติ นักวิชาการประจำพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) บอกกับไทยพีบีเอสออนไลน์ว่า ในมุมนักอนุกรมวิธาน ถือว่าการเจอ "ออร์ฟิช" ครั้งแรกในทะเลสตูล ค่อนข้างน่าตื่นเต้น และออร์ฟิช ก็เป็นปลาที่น่าสนใจมันน่าตื่นเต้นมาก ไม่ว่าจะเจอที่ไหนยิ่งมาเจอในเมืองไทยก็ยิ่งน่าตื่นเต้น

อ่านข่าว "ออร์ฟิช" ปลาลึกลับใต้ทะเลลึก 1,000 ม.เตรียมส่ง อพวช.สตัฟฟ์

ถือเป็นโอกาสดีที่มีการสื่อสารให้คนรับทราบถึงการค้นพบออร์ฟิชในไทย หลายคนที่เกี่ยวข้องทั้งผู้เชี่ยวชาญ และนักอนุกรมวิธานก็พยายามจะช่วยกันเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาไม่ให้เกิดความเสียหาย  

วัชระ สงวนสมบัติ นักอนุกรมวิธาน อพวช.

วัชระ สงวนสมบัติ นักอนุกรมวิธาน อพวช.

วัชระ สงวนสมบัติ นักอนุกรมวิธาน อพวช.

หลักฐานการค้นพบ "ออร์ฟิช" จากทะเลไทย

วัชระ บอกว่า แม้จะมีคนเจอและโพสต์ในโซเชียล แต่หากไม่มีคนสนใจกับออร์ฟิช ก็คงเป็นเพียงข่าวในเฟซบุ๊กแล้วก็หายไป ไม่มีข้อเท็จจริงไม่มีหลักฐาน

ถ้าออร์ฟิช ได้มาอยู่ในพิพิธภัณฑ์จะกลายเป็นหลักฐาน ยืนยันว่ามันเคยมีจริง และนำไปใช้ประโยชน์ในอนาคตได้ แม้จะเป็นซาก แต่ตัวปลา จะใช้ในการตรวจ และศึกษาองค์ความรู้ใหม่ของออร์ฟิชก็ได้ และสำคัญคือถูกเก็บในไทย ใช้ประโยชน์ในอนาคต

นายวัชระ กล่าวอีกว่า ก่อนหน้านี้ เคยมีการพบออร์ฟิชส่วนหัว แต่เป็นของต่างประเทศสั่งเข้ามาและตัดหัวเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ แต่สำหรับตัวอย่างจากสตูลเป็นออร์ฟิชที่ตายในธรรมชาติความสำคัญจึงต่างกัน และถือเป็นรายงานแรกของไทย

อ่านข่าว อย่าตื่น "ปลาออร์ฟิช" โผล่ไทยคาด IOD มวลน้ำเย็นพาเข้าทะเลสตูล

เหตุผลใช้ "การดอง"ไม่สตัฟฟ์ 

สำหรับกระบวนการเก็บรักษาออร์ฟิช นายวัชระ กล่าวว่า จะเลือกใช้การดองออร์ฟืช มากกว่าการสตัฟฟ์ เหตุผลเพราะถ้าสตัฟฟ์ ซากตัวอย่าง จะเป็นชิ้นส่วนแห้ง ซึ่งการเก็บรักษาและใช้ประโยชน์อื่นได้ยาก นอกจากการโชว์อย่างเดียว

ส่วนการดอง สามารถนำมาจัดแสดงโชว์ได้ แต่อาจจะยุ่งยากเล็กน้อย เพราะต้องใส่ตู้ แต่การดองโอกาสที่ตัวอย่างจะเสียหายมีน้อยกว่า และยังใช้ประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ได้อีกเช่น งานอนุกรมวิธาน ดูรายละเอียดต่างๆได้ ส่วนการสตัฟฟ์ต้องแร่ออกมา และอาจทำลายชิ้นส่วนสำคัญไป

ตัวยาว 2.7 เมตรการที่หักมาจะเก็บมาเป็นชิ้น 2-3 ท่อน เพื่อความง่ายในการเก็บขึ้นเรือประมงมา ส่วนการนำมาเข้าตู้ดองทางอพวช.เตรียมพร้อมเก็บชิ้นส่วนปลาขนาดใหญ่ที่มีความยาว 2 เมตรอยู่แล้ว  

จัดท่าให้เหมือน "ออร์ฟิช" มีชีวิต

นายวัชระ บอกว่า หากออร์ฟิช ส่งมาถึง อพวช.แล้ว จะถูกบันทึก และขึ้นทะเบียนหมายเลขนำเข้าพิพิธภัณฑ์ ซึ่งแน่นอนว่าออร์ฟิช คือรายงานแรกของพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาของไทย

ขั้นตอนการดองปลาหายาก กระบวนการดอง ถ้าจะให้สมบูรณ์เหมือนปลายังมีชีวิต ก็ต้องมีการเซ็ตท่าให้เหมือนกับมันยังมีชีวิตมากที่สุด โดยเฉพาะออร์ฟิช จุดเด่นคือตัวครีบหงอนสีแดงของออร์ฟิช ต้องเก็บรายละเอียดให้เห็นมากที่สุด

จากนั้นต้องฟิกด้วยฟอร์มาลีน ทาบริเวณผิวภายนอก เพราะสรรพคุณทำให้เนื้อเยื่อภายนอกแข็งตัว และครีบหงอนสีแดงแถวหัว หรือครีบฝอยที่มีรายละเอียดต้องคลี่ออกและทาฟอร์มาลีน 10-20 นาทีครีบจะไม่แข็งตัว

ภาพ เฟซบุ๊ก Kamonwan Kinlong นักวิชาการประมง จ.สตูล

ภาพ เฟซบุ๊ก Kamonwan Kinlong นักวิชาการประมง จ.สตูล

ภาพ เฟซบุ๊ก Kamonwan Kinlong นักวิชาการประมง จ.สตูล

ส่วนตัวเนื้อที่อาจจะเน่า ก็จะฉีดฟอร์มาลีนเข้าไปที่กล้ามเนื้อด้วย โดยขั้นตอนนี้จะใช้เวลานานนับ 1-2 สัปดาห์เพราะออร์ฟิชมีความยาว และขนาดใหญ่ ถ้าผ่านขั้นตอนนี้ไป แล้วก็ต้องนำออร์ฟิช แช่น้ำ เพื่อให้ฟอร์มาลีนระเหยออกจากตัวปลาให้มากที่สุด โดยกลิ่นในน้ำ และในตัวปลาจะเริ่มเจือจางลง จึงเปลี่ยนใส่ในเอธิลแอลกอฮอล์ 75% และใส่แท็งก์ดอง

ออร์ฟิชตัวแรก จะได้รับเลขหมาย ยืนยันการขึ้นทะเบียนเก็บรักษาในพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา โดยสมบูรณ์ เป็นฐานข้อมูลที่เผยแพร่ในระดบโลกให้เข้ามาค้นหาหมายเลข และพิพิธภัณฑ์ที่เก็บรักษาชิ้นส่วนสำคัญของไทยรอการศึกษาวิจัย

นักอนุกรมวิธาน บอกว่าสำหรับปลาทะเลขนาดใหญ่ ที่เคยเก็บเข้าพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาแล้วคือ โมลาโมล่า หรือปลาพระอาทิตย์ ซึ่งมีการสตัฟฟ์ และเป็นการเรคคอร์ดแรกที่เจอในทะเลไทย

ตื่นเต้นมาก ถือเป็นกำไรชีวิตที่ได้จเห็นออร์ฟิชปลาทะเลลึก 1,000 เมตรจากทะเลไทย เคยเห็นแต่ในภาพทหารอเมริกัน ยืนถ่ายออร์ฟิชเมือราว 40 ปีและทุกคนคิดว่าเป็นพญานาค แต่แท้จริงแล้วมันคือออร์ฟิช
กรมประมง ประสานนำมาเก็บรักษาในพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ อพวช.เพื่อดอง ศึกษาอนุกรมวิธาน ( Kamonwan Kinlong นักวิชาการประมง จ.สตูล)

กรมประมง ประสานนำมาเก็บรักษาในพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ อพวช.เพื่อดอง ศึกษาอนุกรมวิธาน ( Kamonwan Kinlong นักวิชาการประมง จ.สตูล)

กรมประมง ประสานนำมาเก็บรักษาในพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ อพวช.เพื่อดอง ศึกษาอนุกรมวิธาน ( Kamonwan Kinlong นักวิชาการประมง จ.สตูล)

IOD พา "ออร์ฟิช" พลัดหลงเข้าอันดามัน

เพจวิทยาศาสตร์การประมงและทรัพยากรทางน้ำ TSU ระบุว่ารายงานการพบออร์ฟิซ (Oarfish ) ขนาดความยาว 2.4 เมตร ปลาทะเลที่สามารถพบได้ในระดับน้ำที่ลึกมากจากเรือประมง ก.เทพเจริญพร 15 บริเวณเกาะอาดัง อ.ละงู จ.สตูล เมื่อวันที่ 3 ม.ค.2567 (เครดิตคุณ Wannarrong Sa-ard ผู้รายงานคนแรก)

ปลาออร์ หรือ ปลาริบบิ้น เป็นปลากระดูกแข็งชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Regalecus glesne อยู่ในวงศ์ Regalecidae มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับพญา นาคตามความเชื่อของไทย หรือมังกรทะเลในความเชื่อในยุคกลางของชาวตะวันตก

โดยมีความยาวได้สูงสุดยาวถึง 9 เมตร และหนัก 300 กิโลกรัม แต่ก็มีบันทึกไว้ในบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ด้วยว่า ปลาชนิดนี้เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่ยาวที่สุดในโลก โดยอาจยาวได้ถึง 11 เมตร

ในขณะที่รายงานไม่ยืนยันอีกบางกระแส ระบุว่าอาจยาวถึง 15 เมตร หรือกว่านั้น มีส่วนหัวที่ใหญ่ ลำตัวแบนสีเงิน มีจุดสีฟ้าและดำประปราย มีครีบหลังสีชมพูแดง บนหัวที่อวัยวะแลดูคล้ายหงอนเป็นจุดเด่น

หลังจากนี้ทางสำนักงานประมงจังหวัดสตูลได้เก็บตัวอย่างและจะนำไปเก็บรักษาไว้ที่องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติเพื่อไว้ศึกษาในโอกาสต่อไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง